ความก้าวหน้าและจุดยืนอาเซียน 2021

การประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อเดือนตุลาคม 2021 เป็นการประชุมครั้งที่ 38 กับ 39 แสดงความก้าวหน้าและจุดยืนอาเซียนสำคัญๆ หลายเรื่อง ดังนี้

อาเซียนหรือประชาคมอาเซียนยึดมั่นกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) พร้อมกับความสามารถในการรับมือความท้าทายใหม่ๆ ที่เข้ามา แถลงการณ์เอ่ยถึงความร่วมมือหลายอย่าง ความคืบหน้าของแต่ละงาน เช่น ข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI) การลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างสมาชิกและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ย้ำความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN centrality) ให้ทุกส่วนพัฒนา เดินหน้าตามแผนสร้างการเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (ASEAN Connectivity)

ประเด็นโควิด-19 :

อาเซียนยังคงกังวลอย่างยิ่งต่อโรคระบาดโควิด-19 อยู่ระหว่างการฟื้นฟูตามแผน ASEAN Comprehensive Recovery Framework (ACRF) ประสานความร่วมมือทุกด้านทุกมิติ

ตระหนักว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนคือหนทางสู่อนาคตที่ดีกว่า เร่งดำเนินตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ ส่งเสริม Care Economy (เศรษฐกิจใส่ใจ-งานบริการที่ต้องใช้ทักษะความรู้กับความใส่ใจดูแล เช่น กลุ่มงานรักษาพยาบาล การดูแลสุขภาพ สอดรับโลกอนาคตที่คนสูงวัยเพิ่มขึ้นและเป็นงานที่หุ่นยนต์ทำแทนไม่ได้) มีแผนจัดเตรียมเวชภัณฑ์จำเป็น พัฒนาระบบสาธารณสุข แผนรองรับการเดินทางภายในหมู่ประเทศสมาชิกท่ามกลางสถานการณ์ป้องกันโรคระบาด

ให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อการฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ส่งเสริมการซื้อขายสินค้าจำเป็น เช่น อาหาร ไม่ปล่อยให้ติดขัดท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาด

เรื่องสำคัญที่สุดคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังเผชิญโรคระบาดโควิด-19 ประเด็นทะเลจีนใต้ที่นับวันจะทวีความตึงเครียด ขอให้เมียนมาปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อของที่ประชุมผู้นำอาเซียน.

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) :

ย้ำว่าสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) เป็นหลักสำคัญที่สมาชิกอาเซียนยึดถือ อยากให้ประเทศนอกกลุ่มเข้าร่วมสนธิสัญญานี้ (สาระสำคัญของ TAC คือ เคารพความเป็นอิสระ อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดน อัตลักษณ์ของทุกชาติ สิทธิที่จะปลอดการแทรกแซงจากภายนอก การบั่นทอนทำลาย ไม่แทรกแซงกิจการของกันและกัน TAC เป็นเสาหลักความมั่นคงของอาเซียนที่มีมาตั้งแต่ต้น) เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone: SEANWFZ)

ยึดมั่นปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่จัดทำโดยคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Human Rights Declaration: AHRD) ต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ความรุนแรงจากลัทธิสุดโต่ง (Violent Extremism)

อาเซียนจะต้องแสดงบทบาทนำในเรื่องโครงข่ายความมั่นคงภูมิภาค ยึดหลักอาเซียนเป็นแกนกลาง (ASEAN Centrality) ยึดมั่น UNCLOS กิจกรรมทางทะเลทุกอย่างต้องเป็นประโยชน์ต่อประเทศต่างๆ ทั้งในและนอกภูมิภาค

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) :

อาเซียนกำลังทำตามยุทธศาสตร์ AEC Blueprint 2025 ที่ต้องเน้นย้ำคือขอให้ความสำคัญกับคุณภาพผลลัพธ์ ขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ใช้โรคระบาดขณะนี้ส่งเสริมระบบดิจิทัล ทำตามแผน ASEAN Agreement on Electronic Commerce ส่งเสริมพลังงานสะอาด ลดก๊าซเรือนกระจก ความร่วมมือด้านพลังงานระหว่าง สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์เป็นตัวอย่างที่ดี ปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การตลาดท่องเที่ยวอาเซียน 2021-25

อาเซียนยอมรับว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังไม่แน่นอนทั้งระดับภูมิภาคกับโลก ให้ความสำคัญกับการเปิดตลาด รักษา supply chain วางแผนยกระดับการค้าเสรีกับบางประเทศ ร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศนอกภูมิภาค

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) :

อาเซียนดำเนินตามแผน ASCC Blueprint 2025 ได้ครึ่งทางแล้ว ยังมีอีกมากที่ต้องทำ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมคนงานทำแบบยืนหยุ่น (Agility of Workers - ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เหมาะกับสถานการณ์โรคระบาด มีเวลาให้ครอบครัวมากขึ้น

อาเซียนให้ความสำคัญกับเยาวชน ส่งเสริมให้เยาวชนเป็นผู้สร้างประชาคมต่อไป

มีแผนช่วยเหลือเมียนมาด้านสิทธิมนุษยชน ให้คนเดินทางกลับรัฐยะไข่ด้วยความสมัครใจ บนพื้นฐานข้อตกลงระหว่างเมียนมากับบังกลาเทศ

ความสัมพันธ์นอกภูมิภาคและประเด็นต่างๆ :

อาเซียนมีกลไกความสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาคหลายตัว เจรจาทวิภาคีกับคู่เจรจาหลายองค์กรหลายประเทศ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน บนพื้นฐานเปิดกว้างโปร่งใส ยึดถือกฎระเบียบโดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลาง

ย้ำความสำคัญของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS) ที่อาเซียนเป็นผู้ริเริ่มหารือทุกมิติ ภายใต้มุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific: AOIP) อาเซียนต้องเป็นศูนย์กลางบริหารจัดการโครงสร้างเศรษฐกิจและความมั่นคง เพื่อความมั่นคง เสถียรภาพและความมั่งคั่งแก่อาเซียนและภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก สอดคล้องกับข้อตกลงต่างๆ ของอาเซียน เช่น TAC

ในประเด็นทะเลจีนใต้ ชาติสมาชิกอาเซียนบางประเทศกังวลต่อการแปรสภาพพื้นที่ กิจกรรมบางอย่างที่น่าสงสัย สร้างความตึงเครียดและอาจทำลายเสถียรภาพภูมิภาค จำต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ยับยั้งชั่งใจ หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ขัดแย้งมากขึ้น ปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) ทำตามแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้อย่างสมบูรณ์ (DOC) ให้ทะเลจีนใต้เป็นเขตเสรีด้านการเดินเรือกับการบินทางอากาศ ยินดีกับความก้าวหน้าของ Single Draft COC Negotiating Text

อาเซียนหวังว่าคาบสมุทรเกาหลีจะมีสันติภาพตลอดไป ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ หวังว่าทุกประเทศที่เกี่ยวข้องจะเดินหน้าเจรจา ปฏิบัติตาม Panmunjom Declaration สนับสนุนสิทธิอันชอบธรรมของชาวปาเลสไตน์ที่จะมีรัฐอิสระของตน (State of Palestine) ตามแนวทางทวิรัฐ ยึดพรมแดนปี 1967

อาเซียนเป็นห่วงสถานการณ์ภายในเมียนมา ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ขอให้เมียนมาทำตามฉันทามติ 5 ข้อของที่ประชุมผู้นำอาเซียน (Five-Point Consensus of the ASEAN Leaders’ Meeting) ที่ตกลงไว้เมื่อ 24 เมษายน 2021 ยุติความรุนแรงทันที ยินดีกับผู้แทนพิเศษของอาเซียน (ASEAN Special Envoy to Myanmar) ที่เดินหน้าหารือกับทุกฝ่ายในเมียนมา เข้าถึงและรับรู้ความต้องการทั้งหมด

ในกรณีเมียนมา อาเซียนเคารพหลักไม่แทรกแซงกิจการภายใน (principle of non-interference) และยึดมั่นหลักนิติธรรม ธรรมาภิบาล หลักประชาธิปไตยและรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยยึดถือเรื่องเหล่านี้อย่างสมดุลสอดคล้องกับหลักการอาเซียน ยืนยันยึดการตัดสินใจจากที่ประชุมฉุกเฉินของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (EAMM) เมื่อ 15 ตุลาคม 2021

และตระหนักว่าเมียนมาต้องการเวลา พื้นที่การเมืองเพื่อจัดการปัญหาภายในที่ซับซ้อน หวังว่าประเทศจะกลับสู่ปกติตามเจตจำนงของคนเมียนมา
โดยสรุปแล้ว อาเซียนให้ความสำคัญการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังเผชิญโรคระบาดโควิด-19 ยอมรับว่าการฟื้นตัวยังไม่แน่นอนทั้งระดับภูมิภาคกับโลก ประเด็นทะเลจีนใต้ที่นับวันจะทวีความตึงเครียด เรียกร้องให้อาเซียนเป็นแกนกลางจัดการโครงสร้างความมั่นคงภูมิภาค ขอให้เมียนมาปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อของที่ประชุมผู้นำอาเซียน เป็นอีกปีที่อาเซียนเผชิญความท้าทายทั้งระดับโลกกับภายในอาเซียนเอง.

บรรยากาศการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 38-39

เครดิตภาพ: https://asean.org/chairmans-statement-of-the-38th-and-39th-asean-summits/

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นโยบายต่างประเทศจีน2024จากมุมมองสหรัฐ

เป้าหมายนโยบายต่างประเทศคือการฟื้นฟูชาติจีนครั้งยิ่งใหญ่ ไม่ว่าจะใช้มุมมองจีนหรือสหรัฐ ทั้งคู่มองว่าต่างเป็นคู่แข่งเชิงยุทธศาสตร์และน่าจะเป็นปรปักษ์ในที่สุด

'มาดามแป้ง'ผนึกภาคเอกชน อัดฉีดแชมป์AFF รับขั้นต่ำรวม10ล้าน

“มาดามแป้ง” นางนวลพรรณ ล่ำซำ นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ และ ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) จับมือ ภาคเอกชน ร่วมด้วยช่วยกัน และ สนับสนุน ทีมชาติไทย เต็มที่ หลังอัดฉีด รวมขั้นต่ำ 10 ล้านบาท หากทัพช้างศึก คว้าแชมป์อาเซียน 2024 โดยในส่วนของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดย น้ำแร่ธรรมชาติตราช้าง ให้ประตูละ 1 ล้านบาท สำหรับเกมรอบชิงชนะเลิศ นัดสอง ที่เตรียมเปิดบ้านพบกับ เวียดนาม ภายใต้เงื่อนไขต้องชนะเท่านั้น

ยุทธศาสตร์แห่งชาติจีน2024จากมุมมองสหรัฐ

กำหนดเป้าหมาย ‘มีกองทัพเข้มแข็งระดับโลก เป็นผู้นำทบทวนระเบียบโลก’ ในการนี้จีนต้องเผชิญหน้าสหรัฐผู้นำระเบียบโลกปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

'อิชิอิ'เร่งแก้จุดบกพร่อง บู๊เวียดนามรอบชิงฯอาเซียนนัด2 'โจนาธาน'มั่นใจไทยมีดีจะคว้าแชมป์

วันที่ 4 มกราคม 2568 เวลา 11.30 น. ณ ห้องแถลงข่าว สนาม ราชมังคลากีฬาสถาน ฝ่ายจัดการแข่งขันสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน หรือ AFF จัดงานแถลงข่าวก่อนการแข่งขันฟุตบอล ASEAN Mitsubishi Electric Cup 2024 รอบชิงชนะเลิศ นัดที่สอง ระหว่าง ทีมชาติไทย กับ ทีมชาติเวียดนาม

'อิชิอิ'ยอมรับบุกเวียดนามงานยาก นักเตะเจ็บหลายคน แต่จะทำผลงานที่ดีกลับมา

วันที่ 1 มกราคม 2568 เวลา 11.00 น. ณ โรงแรม ไซง่อน พูโถ ฝ่ายจัดการแข่งขันสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน หรือ AFF จัดงานแถลงข่าวก่อนการแข่งขันฟุตบอล ASEAN Mitsubishi Electric Cup 2024 รอบชิงชนะเลิศ นัดแรก ระหว่าง ทีมชาติเวียดนาม กับ ทีมชาติไทย

'อิชิอิ'ชมทุกคนตั้งใจซ้อม สู้ตลอด120นาทีจึงชนะปินส์ ส่วนนัดชิงฯจะมองเกมต่อเกม

มาซาทาดะ อิชิอิ หัวหน้าผู้ฝึกสอน ฟุตบอลชายทีมชาติไทย ชุดใหญ่ ให้สัมภาษณ์หลังการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน 2024 รอบรองชนะเลิศ นัดที่สอง สำหรับเกมดังกล่าว ทีมชาติไทย ชนะ ฟิลิปปินส์ ไป 3-1 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ สกอร์รวม 4-3 พร้อมผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ได้สำเร็จ