ผมเห็นประธานาธิบดี Joko Widodo ของอินโดนีเซีย แวะไปพูดคุยกับ Elon Musk ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Tesla Inc ( ) ที่เท็กซัสหลังการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนแล้วก็ทึ่งพอสมควร
เพราะเห็นแกแต่งตัวเหมือนแบบกันเอง...เจอกับ อีลอน มัสก์ ที่ใส่เสื้อคอกลมตัวเดียว
คุยกันเรื่องที่ผู้นำอินโดฯ ชวนให้มหาเศรษฐีสหรัฐฯ คนนี้ไปลงทุนที่ประเทศเขา
หลังจากที่มีการพูดคุยกันระดับผู้ปฏิบัติงานว่าด้วยการลงทุนที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมแร่นิกเกิลของอินโดนีเซีย และการจัดหาแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
ความจริง ก่อนหน้านั้น 1 สัปดาห์ ตัวแทนจากเทสลาบินไปอินโดนีเซียเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการลงทุนในการผลิตแบตเตอรี่
ข่าวก่อนหน้านี้บอกว่า อินโดนีเซียได้พยายามชักชวน อีลอน มัสก์ นำทีมเทสลาไปทำการลงทุนผลิตแบตเตอรี่ที่นั่นมาหลายปีแล้ว
และยังเสนอเกาะแห่งหนึ่งของอินโดฯ ที่จะให้บริษัทอวกาศ SpaceX ของมัสก์เพื่อการยิงยานอวกาศด้วย
โจโกวีมีภารกิจบินไปวอชิงตันเพื่อร่วมการประชุมผู้นำจากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และพอเสร็จงานหลักก็บินไปพบกับ อีลอน มัสก์ ที่ไซต์เปิดตัว SpaceX ในเมืองโบคา ชิกา รัฐเท็กซัส
ว่าแล้วก็ออกปากเชิญนักธุรกิจโด่งดังคนนี้ไปที่อินโดนีเซียในเดือนพฤศจิกายนด้วย
เพราะโจโกวีจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดกลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่ G-20 ที่บาหลีในเดือนพฤศจิกายนปีนี้
อีลอน มัสก์ ตอบสนองไปในทางบวกพอสมควร
เขาบอกว่าเขามองเห็น "การเป็นหุ้นส่วนในหลายๆ ด้าน เพราะอินโดนีเซียมีศักยภาพมากมาย"
อินโดนีเซียมีนิกเกิลสำรองที่ใหญ่ที่สุดในโลก
และประธานาธิบดีอินโดฯ ก็ได้แสดงความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้า หรือ EV ที่ใช้นิกเกิลในประเทศ มีแผนสร้างอุตสาหกรรมที่รวมการผลิตโลหะนิกเกิล ไปจนถึงการผลิตส่วนประกอบแบตเตอรี่ และการประกอบรถยนต์ไฟฟ้า
2 ปีก่อน โจโกวีเสนอให้อีลอนลองพิจารณาใช้เกาะ Biak ของอินโดฯ เป็นจุดปล่อยจรวดในอินโดนีเซียด้วย
จังหวะนี้เหมาะ เพราะผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกกำลังดิ้นรนเพื่อจัดหาวัสดุผลิตแบตเตอรี่และลดการพึ่งพาจีน
ก่อนหน้านี้ กลุ่มธุรกิจที่นำโดย LG Energy Solution Ltd ของเกาหลีใต้ ผู้ผลิตแบตเตอรี่ EV อันดับ 2 ของโลก ประกาศแผนการเมื่อเดือนที่แล้วที่จะลงทุน 9,000 ล้านดอลลาร์ในอินโดนีเซีย
เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงที่จะลงทุนในหลายๆ อุตสาหกรรมหลายแขนง
ตั้งแต่ทำเหมืองแร่นิกเกิลจนถึงการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ในอินโดนีเซีย
คู่แข่งรายใหญ่ของ LG คือ Contemporary Amperex Technology ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ของ Tesla ก็ประกาศลงทุน 9,000 ล้านดอลลาร์ ในอินโดนีเซีย เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้เอง
ก่อนหน้านี้อินโดนีเซียได้เสนอเกาะแห่งหนึ่งในปาปัวตะวันตกให้เป็นสถานที่เปิดตัวโครงการ Space X ที่ประกาศจะส่งมนุษย์ขึ้นดวงจันทร์
อีลอน มัสก์ ยังไม่ได้รับข้อเสนอนี้ แต่โจโกวีก็ไม่ลดละ
พอมีข่าวรัฐบาลอินโดฯ จะให้เกาะ Biak เป็นสถานีปล่อยยานอวกาศ ชาวบ้านบางส่วนก็หวั่นไหว
เพราะกลัวว่าลูกหลานไม่สามารถพึ่งพาที่ดินเพื่อทำมาหากินได้อีกต่อไป
จะมีการทำลายทะเลและป่าไม้"
เพราะเกาะแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์
Biak มีพื้นที่เพียง 1,746 ตารางกิโลเมตร และตั้งอยู่ในนิวกินีที่รู้จักกันในชื่อ West Papua และประชากรประมาณ 100,000 คน
เป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าพื้นเมืองหลายสิบกลุ่ม และถึงแม้ว่าจะมีเมืองหลายแห่ง แต่เกาะส่วนใหญ่ก็ยังค่อนข้างเป็นชนบท
ชาวปาปัวส่วนใหญ่ในพื้นที่ยังคงดำรงชีวิตจากพื้นที่รอบๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นการตกปลา
ยังคงต้องพึ่งพาสภาพแวดล้อมจากธรรมชาติเป็นอย่างมาก
แต่สำหรับคนที่มองถึงอนาคตของอุตสาหกรรมอวกาศ เกาะ Biak มีความน่าสนใจหลายด้าน
เพราะมีเหมืองแร่นิกเกิลและทองแดง ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้ผลิตจรวด
และมีที่ตั้งอยู่ต่ำกว่าเส้นศูนย์สูตร 1 องศา เหมาะสำหรับการส่งยานอวกาศ เนื่องจากต้องใช้เชื้อเพลิงน้อยลงในการไปถึงวงโคจร
สำนักงานการบินและอวกาศ (Lapan) สนใจเกาะนี้มานานหลายทศวรรษแล้ว
ชาวปาปัวตะวันตกส่วนใหญ่มักอ้างสิทธิ์ตามธรรมเนียมในที่ดินผืนหนึ่ง ซึ่งสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น
ความสัมพันธ์ระหว่างปาปัวตะวันตกกับอินโดนีเซียมีปัญหาเป็นระยะๆ เพราะเกาะแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์
แต่เดิมไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย จนกระทั่งปี 2506 และหลายคนยังคงเรียกร้องเอกราชด้วยความรู้สึกไม่พอใจต่อรัฐบาล
แต่หน่วยงานอวกาศ Lapan เชื่อว่าโครงการนี้จะนำความทันสมัยและชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับชาวบ้านบนเกาะแห่งนี้
รัฐบาลกลางเชื่อว่าหากมีการสร้างแท่นปล่อยจรวดที่มีศักยภาพระดับสากลก็จะกระตุ้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
และจะเปลี่ยนเกาะ Biak เป็น "สังคมสมัยใหม่" ภายในทศวรรษหน้า...ซึ่งอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ชาวเกาะดั้งเดิมแสวงหาแต่อย่างใด
จากการศึกษาเบื้องต้น เกาะแห่งนี้สามารถส่งดาวเทียมที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 100 กิโลกรัมสู่อวกาศ
ตรงกับบทสรุปของสิ่งที่โครงการอย่าง SpaceX อาจต้องการ และต้องการพื้นที่เพียง 100 เฮกตาร์ที่ทุกวันนี้หน่วยงานอวกาศของรัฐบาลได้จับจองเอาไว้แล้ว
ไม่ว่าในท้ายที่สุด อีลอน มัสก์ จะสนใจมาตั้งแท่นปล่อยจรวดบนเกาะแห่งนี้หรือไม่ก็ตาม แต่เหมืองนิกเกิลและทองแดงของอินโดฯ ก็น่าจะเป็นที่สนใจของหลายๆ ประเทศในโลกนี้ทีเดียว
และโจโกวีก็ตื่นเต้นพอที่จะเดินทางไปหาผู้สนใจระดับโลกด้วยตัวเอง
นี่คือความเป็นผู้นำในยุคดิจิตอลและอุตสาหกรรมอวกาศ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ