บิ๊กดาต้าระดับเอเปก

ความสำคัญของการพัฒนาธุรกิจสมัยนี้ จำเป็นอย่างยิ่งคือการมีข้อมูลของลูกค้า รวมถึงจำเป็นต้องมีการหยิบจับเทคโนโลยีมาใช้ให้เป็น เพื่อจะให้สามารถก้าวทันโลกและความต้องการของลูกค้า ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องสรรหาวิธีและเครื่องมือในการที่จะเข้าถึงบริการที่เหมาะสมด้วย

ที่ผ่านมาข้อมูลผู้บริโภค เอกชนจำเป็นที่ต้องจัดหาหรือจัดทำขึ้นมาเอง แต่ในปัจจุบันด้วยความร่วมมือของหลายๆ หน่วยงาน รวมถึงการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดฐานข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นด้วย และสามารถส่งต่อฐานข้อมูลนั้นจากการร่วมมือกันของหลายภาคส่วน จนเรียกว่าเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือบิ๊กดาต้า (Big Data)

แถมล่าสุดหน่วยงานของไทยอย่าง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ยังได้ไปประชุมและดำเนินกิจกรรมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในฐานะที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปก ปี 2565 ในห้วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปก ครั้งที่ 2 หรือ SOM2 เมื่อเดือน พ.ค.2565 ซึ่งจากการประชุมดังกล่าวส่งผลให้เกิดการร่วมมือด้านอุตสาหกรรม ภายใต้แนวคิด "เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล (OPEN. CONNECT. BALANCE.)"

ที่มุ่งสร้างความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างประเทศไทยและกลุ่มสมาชิคเอเปกเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัล เนื่องจากเห็นว่าการยกระดับทักษะและทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงการเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรมที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น Big Data เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจากการประชุมร่วมกันดังกล่าวได้ผลสรุปสำคัญ ดังนี้

1.ความร่วมมือด้านการแบ่งปันข้อมูลเศรษฐกิจผ่านฐานข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data โดย สศอ.ได้เป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนา Online Webinar “Pathway towards Economic Data Governance in APEC” เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และการระดมความคิดเห็น รวมทั้งข้อเสนอแนะในการจัดทำกรอบความร่วมมือและมาตรฐานด้านการจัดการข้อมูลเศรษฐกิจ เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data รวมถึงการพัฒนาความร่วมมือด้านการแบ่งปัน และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ต้องดำเนินการด้วยระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อสร้างเครือข่ายด้านข้อมูลเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปก

2.ความร่วมมือด้านการยกระดับทักษะภาคอุตสาหกรรม โดย สศอ.ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายด้านการเสริมสร้างสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์ (CBN) ภายใต้คณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRDWG) ครั้งที่ 47 เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนนโยบายในการสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยมุ่งยกระดับทักษะบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 รวมถึงการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และการเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรมและการจ้างงานที่คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม

3.ความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ โดย สศอ.และสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกลุ่มการหารือสาขายานยนต์ภายใต้การประชุมเอเปก ครั้งที่ 35 (APEC Automotive Dialogue) โดยในการประชุมวันแรกประกอบด้วย การนำเสนอเป้าหมายหลักของไทยในการเป็นเจ้าภาพเอเปก “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” ผ่านแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว และการนำเสนอสภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ของสมาชิกเอเปก

นายทองชัย ชวลิตพิเชษฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวยังเป็นการร่วมสร้างความเชื่อมั่นของไทยต่อสมาชิกเอเปก ในการส่งเสริมและฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวทาง OPEN. CONNECT. BALANCE. อีกด้วย โดยผลสรุปที่ได้จากการจัดประชุมและกิจกรรมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะนำเสนอกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อไปสู่การปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป

ซึ่งต้องยอมรับเลยว่า เมื่อการดำเนินงานที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ และพัฒนาธุรกิจหรือภาคอุตสาหกรรม แถมยังได้ความร่วมมือกับหน่วยงานสากล หรือกลุ่มประเทศอื่นๆ แล้วด้วยนั้น จะส่งผลดีอย่างยิ่งกับภาคเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่ทำให้สามารถดึงประสบการณ์และเครื่องมือจากหลายๆ ที่มาผสมผสานและบูรณาการร่วมกันจนทำให้เกิดสิ่งที่เหมาะสมที่สุดกับสังคมไทย.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า