สิ่งที่มากกว่าการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.

ผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เป็นที่รับรู้กันแล้ว ตั้งแต่ช่วงที่มีการหาเสียงมาจนถึงหลังจากที่ได้รู้ผลมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมายที่มีค่าควรแก่การวิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจการเมืองของประเทศไทย

คนที่เป็นนักการเมืองก็จะได้บทเรียนว่าจะต้องทำงานการเมืองอย่างไรจึงจะเป็นผู้ชนะ ประชาชนที่มีสิทธิ์ในการลงคะแนนก็มีทั้งผู้ที่สมหวังและผิดหวัง การวิเคราะห์ก็น่าจะเป็นประโยชน์ที่จะใช้ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงในครั้งต่อๆ ไปในวันข้างหน้า

ในช่วงหาเสียง หลายคนที่ไม่แน่ใจว่าชัชชาติอิสระจริงหรือเปล่า ก็จะพยายามที่จะเอาบทบาทการทำงานการเมืองของชัชชาติแต่ครั้งเมื่อเป็นรัฐมนตรีสังกัดพรรคเพื่อไทย ด้วยความเชื่อว่าคนกรุงเทพฯ ไม่เอาพรรคเพื่อไทย ดูได้จากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมา รวมทั้งจำนวน ส.ส.ในกรุงเทพฯ ที่สังกัดพรรคเพื่อไทยก็มีจำนวนไม่มาก แต่เมื่อมีผลออกมาแล้ว ก็น่าจะเชื่อได้ว่าความพยายามดังกล่าวนี้ไม่ได้ผล คนจำนวนมากน่าจะเชื่อว่าชัชชาติอิสระจริง เพราะในช่วงหาเสียงนั้น คนแดนไกลและสมาชิกพรรคเพื่อไทยไม่ได้มีการกระทำการอันใดที่แสดงว่าพวกเขาสนับสนุนชัชชาติ แต่น่าจะเชื่อได้ว่าคนที่ลงคะแนนให้ชัชชาตินั้น นอกจากจะเชื่อว่าชัชชาติอิสระจริง น่าจะชอบการหาเสียงของชัชชาติที่ไม่มีการกล่าวหาว่าร้ายใคร นำเสนอนโยบายมากถึง 214 ข้อ และในจำนวนนโยบายเหล่านี้ หลายคนคงจะชื่นชอบบางนโยบาย เมื่อมีนโยบายถูกใจก็อยากจะเลือก ประกอบกับการประกาศตัวลงสมัครเป็นผู้ว่าฯ ก่อนคนอื่นนั้น ก็เป็นความได้เปรียบทั้งในด้านของการแสดงความมุ่งมั่นให้ประชาชนเห็นว่ามีความตั้งใจจริงที่จะเป็นผู้ว่าฯ กทม.

นอกจากนั้นแล้ว มีสื่อหลายสำนัก รวมทั้งคนที่พอใจชัชชาติ ต่างก็พากันนำเสนอเรื่องราวความเก่งของชัชชาติที่เป็นคนเรียนเก่งมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ เรื่อยมาจนจบปริญญาสูงสุด ทั้งมหาวิทยาลัยที่ได้เข้าเรียน ทั้งการเป็นนักเรียนทุนอานันทมหิดล การทำงานหลังจากที่จบการศึกษา ทั้งหมดเหล่านี้ทำให้หลายคนเชื่อมั่นในความสามารถ ดังนั้นความพยายามของคนที่ไม่เชื่อว่าชัชชาติอิสระจริง ด้วยการนำเอาเรื่องราวการทำงานในสมัยที่เป็นรัฐมนตรีสังกัดพรรคเพื่อไทยจึงไม่สามารถที่ดึงคะแนนชัชชาติลงได้

ในขณะที่สลิ่มเห็นคะแนนของชัชชาติในการสำรวจของสำนักต่างๆ นำลิ่ว ก็ทำให้เกิดความพยายามที่จะเชิญชวนให้สลิ่มทั้งหลายช่วยกันเทคะแนนให้ผู้สมัครคนใดคนหนึ่งที่มองกันว่าเป็นฝ่ายสลิ่ม ได้แก่ ดร.เอ้ อัศวิน สกลธี และรสนา โดยให้ติดตามดูคะแนนเสียงที่แต่ละคนได้รับที่ปรากฏในการสำรวจของสำนักต่างๆ ปรากฏว่า ปรากฏการณ์ครั้งนี้ทำให้สลิ่มมีความขัดแย้งกัน เพราะมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ต้องการให้มีการเทคะแนนให้ผู้สมัครต่างคนกัน ความขัดแย้งดังกล่าวนี้มีทั้งที่เห็นไม่ตรงกันแต่ไม่ต่อว่าต่อขานกัน และมีทั้งที่เห็นไม่ตรงกันแล้วมีการตำหนิกัน มีทั้งตำหนิอย่างสุภาพ และมีทั้งตำหนิอย่างรุนแรง หลังจากการเลือกตั้งครั้งนี้ สลิ่มที่มีความขัดแย้งกันบางรายก็อาจจะกลับมาทำงานร่วมอุดมการณ์กันต่อไป แต่ก็มีสลิ่มบางคนเสียความรู้สึกในเรื่องของความขัดแย้ง และอาจจะทำงานการเมืองภาคประชาชนแบบต่างคนต่างทำ ไม่ยุ่งไม่เกี่ยวกัน และอาจจะมีคนบางคนขอยุติบทบาทของการทำงานการเมืองภาคประชาชนไปเลยด้วยความผิดหวังกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงของการหาเสียง

แต่เมื่อรู้ผลของการเลือกตั้งแล้ว เรื่องของความขัดแย้งก็ยังไม่จบสำหรับคนบางคน สำหรับบางคนเข้าใจการสนับสนุนต่างคนกัน ก็ไม่ต่อว่าต่อขานกัน แต่ก็มีคนบางคนต่อว่าคนที่สนับสนุนคนที่ได้คะแนนน้อยกว่า ต่อว่าเบาๆ ก็มี ต่อว่าแรงๆ ก็มี คนบางคนก็ยอมรับการต่อว่าได้ ไม่ว่ากระไร คนบางคนก็เฉยๆ ไม่ทำอะไร เพราะเข้าใจคนที่เขาไม่พอใจมาตั้งแต่ช่วงหาเสียงแล้ว แต่บางคนก็ไม่พอใจที่มาต่อว่าต่อขานกัน เพราะการสนับสนุนผู้สมัครต่างคนกันนั้น แต่ละฝ่ายก็มีเหตุผลของตนเอง มองปัจจัยที่ต่างกัน ดังนั้นพวกเขาจึงคิดว่าไม่น่าจะต่อว่ากัน ก็มีวิวาทะกันบ้าง ก็ไม่รู้ว่ารอยร้าวนี้จะสามารถประสานกลับคืนมาร่วมกันต่อสู้เพื่อประเทศชาติอีกหรือไม่ วิเคราะห์ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้แล้ว รู้ว่าเป็นห่วงว่าในการเลือกตั้ง ส.ส.ที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ ถ้าหากฝ่ายสลิ่มมีตัวเลือกแบบการเลือกผู้ว่าฯ กทม. จะมีเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างสลิ่มอีกหรือไม่ ผลของการเลือกตั้งจะก่อให้เกิดชัยชนะแบบ Landslide ที่เป็นเป้าหมายของนายใหญ่หรือไม่

เวลานี้ชัชชาติได้เป็นผู้ว่าฯ กทม.แล้ว สลิ่มหลายคนทำใจและยอมรับชัยชนะของชัชชาติ พร้อมที่จะให้โอกาสชัชชาติทำงานให้เป็นไปตามนโยบายที่นำเสนอเอาไว้มากกว่า 200 ข้อ แต่สลิ่มบางคนก็ใจร้อน เริ่มแขวะชัชชาติตั้งแต่วันแรกที่เขาได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. ตั้งคำถามที่ไม่น่าถาม “ไหนว่ารถจะไม่ติด ทำไมยังติด” นี่ถ้าหากฝนตกหนัก มีน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ ก็คงตั้งคำถามกันอีกว่า “ไหนว่าน้ำจะไม่ท่วม ทำไมยังท่วม” เราอย่าเพิ่งเป็นแบบนี้กันดีไหม ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบชัชชาติ ไม่ว่าเราจะพอใจหรือไม่พอใจผลของการเลือกตั้ง แต่ผลมันเกิดมาเป็นเช่นนี้แล้ว ก็ลองให้โอกาสเขาทำงาน ให้เวลาเขาทำงาน ตรวจสอบด้วยใจเป็นธรรม อย่าใช้อคติในการตรวจสอบ ระวังจะถูกสื่อมวลชนบางรายเอาไปประณามด้วยประโยค “ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง” คือ ติทุกเรื่องด้วยอคติ เหมือนที่พวกเขาตินายกรัฐมนตรีทุกเรื่องอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

อีกเรื่องที่น่าวิเคราะห์ก็คือ การที่มีคนโยงผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.และ ส.ก.ครั้งนี้กับความนิยมของรัฐบาล หรือตัวนายกรัฐมนตรีโดยตรง เพราะมีการพูดกันแล้วว่าชัยชนะของชัชชาติ และการที่เพื่อไทยได้ ส.ก.ไปถึง 20 เขตจาก 50 เขตนี้ แสดงว่าประชาชนไม่พอใจรัฐบาล พวกเขายังพูดอีกว่าคนที่แพ้นั้นอยู่ในซีกรัฐบาลทั้งนั้นเลย รัฐบาลไม่ควรจะมองข้ามข้อกล่าวหานี้และไม่ทำอะไรเลยนะ ควรมีการศึกษาวิเคราะห์ว่าการโยงแบบนี้มีมูลแค่ไหน และรัฐบาลจะต้องทำอะไรที่จะไม่ต้องพบกับความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง ส.ส.ที่กำลังจะมีขึ้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลัคนาธนูกับเค้าโครงชีวิตปี 2568

ยังอยู่ในช่วงเจ็ดปีของการเปลี่ยนแปลงใหญ่สุขภาพอนามัย-หนี้สิน-ลูกน้องบริวาร และเกือบตลอดปีผู้หลักผู้ใหญ่อวยสถานะ-ยศ-เงินทองให้ แต่มีช่วงซ้อมรับทุกข์และการได้ความผิดที่ไม่ได้ก่อ

เด็กฝึกงาน...ไม่ผ่านโปร

ฉากทัศน์ทางการเมืองของประเทศไทยหลังจากรู้ผลของการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เป็นภาพที่สร้างความกังวลให้กับคนไทยจำนวนมากที่ไม่ได้เลือกพรรคส้มหรือพรรคแดง

'ความเป็นไทย' กับกรณีน้ำท่วมภาคเหนือ-ภาคใต้

ถึงแม้จะก่อเกิด ถือกำเนิด ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี...แต่ด้วยเหตุเพราะไปเติบโตที่ภาคใต้ ไม่ว่าเริ่มตั้งแต่อำเภอทุ่งสง จังหวัดหน่ะคอนซี้ทำหมะร่าด ไปจนอำเภอกันตัง

ได้ฤกษ์ 'นายพล' ล็อต 2

ผ่านเดดไลน์ตามคำสั่ง ผบ.ต่าย-พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้ทุกหน่วยส่งบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น

'ดร.เสรี' กรีดเหวอะ! ใครมีลูกสาวเก่งพอที่จะเป็นนายกฯ ต้องบอกลูกให้มีผัว 9 คนอยู่ใน 9 ภาค

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสารโพสต์เฟซบุ๊กว่า ใครมีลูกสาวที่เก่งพอที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ต้องบอกลูกนะคะ