สงครามยูเครนกับ ระเบียบโลกใหม่ (5)

พิจารณาจากปัจจัยหลายๆ มิติ พอจะสรุปได้ว่าสงครามยูเครนน่าจะกลายเป็นการสู้รบที่ยืดเยื้อ ไม่ใช่เรื่องใครชนะใครแพ้เท่านั้น

รัสเซียก็สู้ไม่ถอย ยุโรปก็เทน้ำมันใส่กองเพลิง

พอฟินแลนด์กับสวีเดนสมัครเข้าเป็นสมาชิก NATO ก็ยิ่งทำให้รัสเซียถอยหลังไม่ได้

ตอกย้ำความกังวลของรัสเซียว่า โลกตะวันตกต้องการทำทุกอย่างเพื่อจะทำให้รัสเซียอ่อนแอ หมดสภาพ เพื่อให้สหรัฐฯ และยุโรปตะวันตกครองโลกแต่เพียงชาติเดียว

ผมตั้งวงคุยกับ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ และปัจจุบันเป็นประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและการปรองดองแห่งเอเชีย (Asian Peace and Reconciliation Council – APRC) แล้วก็ได้แนวคิดว่า สถานการณ์จากนี้ไปจะลากยาวไปอย่างไร

ในยุโรปเองก็ไม่ได้มีจุดยืนไปทางเดียวกันทั้งหมด

ฮังการีและสโลวาเกียบอกว่าจะไม่ร่วมแซงก์ชันเรื่องพลังงาน

ประธานสหภาพยุโรปก็ออกตระเวนหาแหล่ง LNG และก๊าซจากอเมริกามาชดเชยส่วนที่หายไปจากรัสเซีย

แต่ราคาก็ไม่ถูก

ในที่สุดยุโรปจะเจอกับราคาพลังงานที่แพง เพราะไม่ได้ก๊าซจากรัสเซีย

และแม้จะมีการชดเชยจากแหล่งอื่น แต่ก็ต้องจ่ายราคาแพง และต้องใช้เวลาอีก 3 ปีกว่าจะสร้างระบบสำหรับ LNG

ในความเห็นของ ดร.สุรเกียรติ์ สถานการณ์จะคลายลงไปก็ต้องอย่างน้อยอีก 6 เดือน ซึ่งจะเป็น “ช่วงเวลาอันตราย”

ประเทศไทยเคยคิดว่าเราไม่ได้รับผลกระทบทางตรง เป็นผลกระทบทุติยภูมิ (secondary effect)

แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะราคาน้ำมันแพงขึ้นตั้งแต่ 2 อาทิตย์แรกของสงคราม

เศรษฐกิจไทยเปราะบาง เราเจอกับเงินเฟ้อที่มาจากปัจจัยต้นทุน (cost-pushed inflation)

ดังนั้นเป็นที่ชัดเจนว่าระเบียบโลกด้านความมั่นคงเปลี่ยนแน่ และระเบียบโลกระรบพหุภาคีก็กำลังจะเปลี่ยน

บทบาทของมหาอำนาจในคณะมนตรีความมั่นคงในสหประชาชาติก็จะเปลี่ยน

การปฏิรูปองค์กรพหุภาคีก็กำลังเกิดขึ้น

ดร.สุรเกียรติ์บอกว่าได้เจอกับ Klaus Schwab กรรมการผู้จัดการของ World Economic Forum พูดคุยถึงเรื่องความเปลี่ยนแปลงที่กำลังกระทบทั้งโลก

 “แกถามว่าทุกวันนี้เราประชุมออนไลน์กันสองมิติ ทำไมไม่ประชุมกันสามมิติเลย...ปลายปีนี้เขาจะจัดประชุม WEF ผ่าน Metaverse”

นั่นแปลว่าระเบียบโลกใหม่ทางด้านธุรกิจก็กำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน

WEF กำลังจับบริษัทใหญ่ๆ มาคู่กับบริษัทที่ทำ due diligence หรือบริษัทที่ทำบัญชีทั้งหลาย เปลี่ยนจากคำว่า shareholders เป็น stakeholders

จาก “ผู้ถือหุ้นที่เป็นเงิน” เป็น “ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด”

ในภาคเอกชนนั้นนอกจากเรื่อง ESG (Environment, Social, Governance) แล้ว ก็มีเรื่องของ social enterprise (ธุรกิจเพื่อสังคม) ที่เปลี่ยนไป

มีการทับซ้อนของการเมืองระหว่างประเทศ, เศรษฐกิจระหว่างประเทศ,  ธุรกิจระหว่างประเทศ

 “และอย่าลืมว่ามีสงครามอย่างหนึ่งที่ไม่เคยสร่างซามาตลอดก็คือการเงิน...”

ถ้า Digital Yuan สามารถแข่งกับ Dollar ได้ จะทำให้ความต้องการดอลลาร์ลดลงในอนาคต

เดิมมีความพยายามในเรื่องนี้ แต่ไปได้ช้า พอเกิดสงครามยูเครนก็เกิดการเร่งรัด

ทำให้คำว่า “พรุ่งนี้” กลายเป็น “วันนี้” ขึ้นมาทันที

แน่นอนว่าจีนก็คงไม่อยากให้สงครามลากไปนาน เพราะจะมีผลกระทบต่อปักกิ่งเหมือนกัน

แต่ถ้าถอดรหัสที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง พูดกับ โจ ไบเดน ก็จะรู้ว่าจีนต้องการจะบอกอะไรกับสหรัฐฯ

สี จิ้นผิง บอกว่า “ใครเอากระดิ่งไปผูกที่คอเสือก็ไปเอาออกเองก็แล้วกัน”

ใครทำให้รัสเซียบุกยูเครนล่ะ? ก็ไปแก้ตรงนั้น

ชัดเจนว่าการที่รัสเซียบุกยูเครนนั้นเป็นเรื่องผิดกฎหมายระหว่างประเทศ ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ แต่ที่มาและเบื้องหลังของเรื่องนั้นสลับซับซ้อนกว่าที่เห็นจากข่าวที่ได้รับทุกวันนี้

ประเทศไทยควรจะทำอย่างไร?

 “ครั้งนี้มีความซับซ้อนกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาเยอะ นั่นคือ complexity กับ speed”

ความซับซ้อนมาพร้อมกับความเร็ว

“สิ่งที่เราต้องวางตัวก็คือ 1.ผมอยากให้ทำ Foresight คือกวาดสัญญาณอนาคตแบบลึก ไม่ใช่แบบผิวเผิน โดยมองไปว่าในปลายปีนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย ทางด้านเกษตรและพลังงาน เป็นต้น และต้องดูว่าเงินของเราทั้งเงินกู้และเงินที่เรามีซึ่งมีอยู่ไม่มาก เราจะยิงไปตรงไหนจึงจะแม่นที่สุด...ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องคอร์รัปชันในช่วงนี้

 “2.เราต้องศึกษายุทธศาสตร์ของอเมริกาและจีนให้ลึกซึ้งกว่านี้ เขาออกความคิดริเริ่มใหม่ๆ แทบจะทุก 2 อาทิตย์ บางยุทธศาสตร์มีเนื้อหา บางยุทธศาสตร์ยังไม่มี พบกันที่วอชิงตันก็มีการยกระดับเป็นความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ นั่นแปลว่าอะไร จะให้ทำอะไร...และอีกไม่กี่วัน จีนก็ต้องออกอะไรมาใหม่ เพราะเขาดึงกันไปดึงกันมา...”

ไทยต้องศึกษาให้ชัดเจนว่าสหรัฐฯ จะทำอะไรกับ QUAD และ Indo-Pacific Concept และจะดึงอะไรไปถึงไหน

รัฐมนตรีต่างประเทศจีน หวัง อี้ ได้ประกาศแล้วว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้คือความพยายามของสหรัฐฯ ที่จะดึงเอา NATO มาใส่เอเชีย

 “เขาเตือนว่าระวังนะ อเมริกากำลังจะเอาอาเซียนไปเป็นส่วนหนึ่งของนาโตเอเชีย...”

บทสนทนานี้ทำให้มองเห็นวิกฤตที่รออยู่ข้างหน้า...อันเกิดจากสงครามยูเครนที่มาทับซ้อนกับการระบาดของโควิด-19

และยังไม่มีใครบอกได้ว่า “วิกฤต” ครั้งต่อไปจะมาจากไหน

ที่เห็นชัดๆ ก็คือ วิกฤตปากท้องอันเกิดจากข้าวของแพงทั้งแผ่นดิน ขณะที่รายได้หดหาย และอนาคตของเศรษฐกิจโลกกำลังผันผวนหนัก

แนวทางวิเคราะห์และคำเสนอแนะจากบทสนทนานี้น่าจะช่วยกระตุกให้ผู้รับผิดชอบบ้านเมืองลุกขึ้นมายอมรับความจริงที่ว่า เรากำลังเข้าสู่ “ช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดของโลกยุคใหม่” นี้จริงๆ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ