“โควิด-19” ถือเป็นหนึ่งในตัวเร่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเกือบทุกมิติ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตประจำวันที่ถูกปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้นมากขึ้น และกลายเป็นอีกความท้าทายให้เกือบทุกมิติในการก้าวข้ามผ่านอุปสรรคสำคัญนี้ไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นการเตรียมความพร้อม การปรับตัวเพื่อรองรับสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นหลังสถานการณ์โควิด-19 จึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะในมุมของภาคธุรกิจ ที่ต้องยอมรับว่าการดำเนินธุรกิจในยุคโรคระบาดนี้ เปลี่ยนไปค่อนข้างมาก เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างปฏิเสธไม่ได้
PwC ประเทศไทย ได้เผยรายงานผลสำรวจผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่ ประจำปี 2565 ฉบับประเทศไทย ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายงานผลสำรวจ “Global NextGen Survey 2022” โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลกจำนวนทั้งสิ้น 1,036 รายจาก 68 ประเทศและอาณาเขต รวมถึงประเทศไทย จำนวน 40 ราย
ว่า การบรรลุการเติบโตของธุรกิจ เป็นภารกิจเร่งด่วนสำหรับผู้นำรุ่นใหม่ (เน็กซ์เจน) ไทยหลังจากนี้ไป โดย 63% จัดให้การเติบโตของธุรกิจหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นภารกิจสำคัญอันดับแรกที่ให้ความสนใจ และอีก 50% จัดให้การขยายธุรกิจไปสู่ภาคส่วนหรือตลาดใหม่ เป็นภารกิจสำคัญอันดับที่สอง
โดย นิพันธ์ ศรีสุขุมบวรชัย หัวหน้ากลุ่มลูกค้าธุรกิจครอบครัว และหุ้นส่วนสายงานภาษีและกฎหมาย PwC ประเทศไทย ระบุว่า สถานการณ์โลกในปัจจุบัน ทำให้การประคับประคองธุรกิจครอบครัวให้อยู่รอดจากรุ่นสู่รุ่นเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก ผลจากการสำรวจพบว่า วันนี้ผู้นำเน็กซ์เจนรุ่นใหม่ไม่ได้มองเรื่องความอยู่รอดเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องการขับเคลื่อนกิจการด้วยพลังความคิด ความสามารถด้านดิจิทัล และทักษะใหม่ๆ ที่พวกเขามี โดยคำนึงถึงการสร้างสมดุลทั้งในมิติทางการเงิน สังคม และสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของพนักงาน และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ยังเป็นอีกภารกิจเร่งด่วนที่ผู้นำเน็กซ์เจนไทยจะเร่งดำเนินการทันทีเพื่อยกระดับความสามารถขององค์กร และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า รวมถึงเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับคู่แข่ง
โดยผลสำรวจของ PwC ระบุชัดเจนว่า 35% ของผู้นำรุ่นใหม่ไทย มีความมั่นใจในความสามารถด้านดิจิทัลของตัวเอง ซึ่งสูงกว่าผู้นำรุ่นปัจจุบันที่ 28% ขณะที่ 33% เชื่อว่า ผู้นำรุ่นปัจจุบันยังคงไม่เข้าใจโอกาสและความเสี่ยงทางดิจิทัลที่อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจครอบครัว
“การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดความร่วมมือกันมากขึ้นระหว่างผู้นำรุ่นใหม่และผู้นำรุ่นปัจจุบัน เพื่อแก้ไขปัญหาและรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ โดยกว่า 45% ของผู้นำเน็กซ์เจนไทย กล่าวว่า พวกเขารู้สึกมีความมุ่งมั่นในการทำธุรกิจมากขึ้นกว่าตอนก่อนเกิดการระบาด และปัจจุบันได้มีส่วนร่วมในกิจการของครอบครัวมากขึ้น ขณะที่การสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในครอบครัวเกี่ยวกับตัวธุรกิจก็มีมากขึ้นด้วยเช่นกัน ขณะที่การวางมือจากธุรกิจของผู้นำรุ่นปัจจุบันยังเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก โดย 57% ของผู้ถูกสำรวจกล่าวว่า ผู้นำรุ่นปัจจุบันยังไม่พร้อมที่จะเกษียณในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด ขณะที่ 18% ของผู้นำเน็กซ์เจนไทยกล่าวว่า โควิด-19 เป็นสาเหตุที่ทำให้แผนการสืบทอดตำแหน่ง (Succession planning) ของพวกเขาต้องชะลอหรือเลื่อนออกไป ซึ่งสูงกว่าผู้นำรุ่นใหม่ทั่วโลกที่ 12%”
ยิ่งไปกว่านั้น การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นยังกระตุ้นให้การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ได้รับความสนใจจากธุรกิจทั่วโลกอย่างกว้างขวาง รวมถึงธุรกิจครอบครัวด้วย โดยรายงานของ PwC พบว่า เกือบสองในสาม หรือ 68% ของผู้นำรุ่นใหม่ไทยเชื่อว่า ธุรกิจของตนต้องแสดงความรับผิดชอบในการรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งใกล้เคียงกับผู้นำรุ่นใหม่ทั่วโลกที่ 71% ขณะที่เกินกว่าครึ่งเชื่อว่า การสร้างความเชื่อมั่นด้านความยั่งยืน คือหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจในอนาคต
อย่างไรก็ดี ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่ได้เห็นผู้นำรุ่นใหม่ หันมาสนใจการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบด้าน ESG โดยไม่โฟกัสเฉพาะการสร้างกำไรและผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้ความคาดหวังของสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นเปลี่ยนไปมาก.
ครองขวัญ รอดหมวน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research