หลังจากที่ราคาน้ำมันในประเทศยังคงปรับตัวอยู่ในระดับสูง ได้สร้างความกังวลต่อเรื่องอัตราเงินเฟ้อ หลังจากราคาสินค้าส่งสัญญาณปรับขึ้น อันเนื่องมาจากต้นทุนค่าขนส่งต่างๆ ที่ขยับตัวสูงขึ้น จนตอนนี้เริ่มมีการพูดถึงภาวะ 'Stagflation' ที่อาจจะเกิดขึ้นจากเศรษฐกิจไทยในปีหน้า
ภาวะ 'Stagflation' น่ากลัวอย่างไร คำนี้ ศัพท์ที่รวมกันระหว่าง “Stagnation” ที่หมายถึง ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวหรือหดตัว และ “Inflation” หมายถึง เงินเฟ้อหรือภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นภาวะการเพิ่มขึ้นของระดับสินค้าและบริการ ดังนั้น Stagflation จึงเป็นการรวมสถานการณ์ทั้งสอง นั่นคือ การเกิดภาวะเงินเฟ้อในขณะที่เศรษฐกิจยังคงมีความชะลอตัว
แน่นอน ถ้าเกิดภาวะแบบนี้ย่อมส่งผลกระทบที่ค่อนข้างใหญ่ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการว่างงานที่จะเพิ่มสูงขึ้นเพราะเศรษฐกิจถดถอย และประชาชนยังถูกซ้ำเติมด้วยภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น เป็นปัญหา 2 เด้งที่กระทบต่อการดำรงชีพ
อย่างไรก็ดี ขอให้อย่าเพิ่งกังวลกับภาวะ 'Stagflation' มากนัก เพราะมีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนมองว่าไทยไม่น่าจะเจอปัญหาแบบนี้
อย่างความเห็นของนายคมศร ประกอบผล หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ มองว่า โอกาสที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะ Stagflation นั้นยังค่อนข้างน้อย ถึงแม้อัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของสหรัฐปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงต้นปี และทรงตัวในระดับสูงกว่า 5% ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แต่ TISCO ESU มองว่า เงินเฟ้อในปัจจุบันเกิดจากปัจจัยชั่วคราว และจะทยอยลดลงในช่วงปลายปีนี้ อีกทั้งเมื่อพิจารณาในรายละเอียดแต่ละสินค้า พบว่าในช่วงต้นปีอัตราเงินเฟ้อถูกผลักดันให้เพิ่มขึ้นจากราคาสินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการเปิดเศรษฐกิจเป็นหลัก ได้แก่ ราคารถมือสอง ค่าเช่ารถ ค่าโดยสารเครื่องบิน และค่าที่พักโรงแรม ซึ่งราคาในกลุ่มดังกล่าวเริ่มปรับลดลงในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี แม้ยังมองว่าโอกาสเกิด Stagflation จะมีจำกัด แต่พัฒนาการเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูงหากเงินเฟ้อยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเริ่มมีสัญญาณส่งผ่านของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ไปยังสินค้าอื่นๆ และราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นเริ่มกดดันการบริโภคจนทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Stagflation ก็อาจมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ต้องจับตาต่อไป
ด้านนายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่า 2% ในไตรมาสสามปี 2565 จากฐานที่ต่ำปี 2564 แต่อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นชั่วคราวตามราคาน้ำมันไม่น่าเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสี่ปี 2564 น่าจะฟื้นตัวจากไตรมาสสามได้ราว 1.4% ซึ่งภาวะเช่นนี้เศรษฐกิจไทยยังห่างไกลจากภาวะ stagflation โดยเรายังมองว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวได้ราว 3.2% ในปีหน้า ยกเว้นมีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมที่ทำเงินเฟ้อเร่งขึ้น เราจะมาประเมินว่าผลกระทบต่อภาคส่วนเศรษฐกิจต่างๆ จะมีมากน้อยเพียงไร และประเทศไทยจะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเช่นไรเทียบกับประเทศอื่น
พร้อมกันนี้ นายอมรเทพยังสรุปว่า แม้นักลงทุนกำลังกังวลปัญหาเงินเฟ้อ เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวแรงตามราคาน้ำมัน และอุปทานชะงักงันในหลายภาคการผลิต แต่เราเชื่อว่าปัญหาราคาน้ำมันและปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจอื่นๆ จะคลี่คลายในไตรมาสแรกปีหน้า เศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวช่วงสั้น และยังไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินเข้มงวดด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสกัดเงินเฟ้อ ดังนั้นเงินเฟ้อไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ให้ระวังมาตรการที่มารับมือกับเงินเฟ้อ เช่น การรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเศรษฐกิจชะลอ หรือการลังเลที่จะใช้นโยบายการคลังในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวในปีหน้าได้.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research