ไทยต้องมุ่งหน้าสู่เศรษฐกิจใหม่

เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยของเราติดกับดักรายได้ปานกลาง และยังไม่สามารถจะยกระดับของตัวเองให้หลุดพ้นจากวงจรนี้ไปได้   

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งในเรื่องความเหลื่อมล้ำ การเข้าถึงโอกาสต่างๆ การศึกษา รวมถึงการผลักดันนโยบายทางเศรษฐกิจรัฐบาลที่ปรับตัวค่อนข้างช้า ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยค่อนข้างต่ำ และในช่วงของโควิดมีช่วงเวลาติดลบด้วยซ้ำ

ปัญหาของไทยในตอนนี้ที่มีปัญหาก็คือ ไทยไม่มีอุตสาหกรรมที่จะสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเหมือนอย่างในอดีต จะเห็นได้ชัดว่า ธุรกิจที่ทำรายได้เข้าประเทศยังเป็นรูปแบบ Old Economy ซึ่งเป็นอุตสาหกรรม s-curve ที่ตกรุ่น อย่างพวกรับจ้างผลิต, อุตสาหกรรมท่องเที่ยว หรืออุตสาหกรรมยานยนต์  เครื่องยนต์สันดาป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถจะไปแข่งขัน และสร้างกำไรมหาศาล หรือดึงดูดการลงทุนได้เหมือนอย่างในอดีตอีกแล้ว

ดังนั้นไทยเราจำเป็นอย่างมากที่จะต้องปรับตัวเอง และสร้างอุตสาหกรรม s-curve ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว และมีการพัฒนามากกว่าคู่แข่ง

 ที่ผ่านมาดูเหมือนว่ารัฐบาลกำลังพยายามสร้าง 10 อุตสาหกรรม S-Curve ใหม่ ซึ่งประกอบไปด้วย 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive), อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics), อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism), อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology), อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)

และ 5 อุตสาหกรรมอนาคต ได้แก่ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics), อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics), อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals), อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital), อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) แต่ดูเหมือนว่า การขับเคลื่อนยังเต็มไปด้วยความล่าช้า ยังไม่เห็นผลความสำเร็จในเชิงประจักษ์

ดังนั้นสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนในตอนนี้คือ การพาเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ยุคใหม่ที่จะต้องเป็นโลกธุรกิจของอนาคต ซึ่งจะเห็นได้จากหลายประเทศที่สามารถนำตัวเข้าสู่ s-curve ใหม่ได้ ที่สำเร็จมากที่สุด คือจีน ที่สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมไอที อินเทอร์เน็ต เอไอ และ IOT จนก้าวหน้าระดับโลก

ทั้งนี้ ในมุมมองของซีอีโอระดับประเทศอย่าง ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้สรุป 8 ก้าวสำคัญนำไทยสู่ยุคเศรษฐกิจ 5.0 ได้อย่างสำคัญ

Big Move แรกคือ การวางตำแหน่งประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแห่งเทคโนโลยี หรือ Tech Hub ในระดับภูมิภาค Big Move ที่ 2 คือการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งและการเงินของภูมิภาค หรือ Logistic & Financial Hubs กุญแจสำคัญคือ รถไฟไทย-จีน Big Move ที่ 3 คือการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความมั่นคงทางอาหาร Big Move ที่ 4 คือ การเตรียมพร้อมเรื่องคน หรือ People Readiness ในการก้าวสู่ยุค 5.0 ที่เป็นยุคแห่งเทคโนโลยี และการสนับสนุนและส่งเสริมสตาร์ทอัปไทย

 Big Move ที่ 5 คือ การพัฒนา Smart City, Smart Town และ Smart Village เป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ที่สร้างให้เกิด “เศรษฐกิจใหม่”       Big Move ที่ 6 คือ World Political Neutrality ภาวะการเมืองที่เศรษฐกิจพยายามแบ่งเป็น 2 ขั้ว ไทยต้องยืนอยู่ตรงกลาง Big Move ที่ 7 คือ เรื่องของ State Transformation ข้าราชการระดับบริหารต้องมีรายได้สูงกว่าเอกชน เพื่อดึงดูดคนเก่งเข้าสู่ระบบราชการ        

และ Big Move ที่ 8 คือ Thailand Sustainable Dream หรือความยั่งยืน ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยสู่ยุค 5.0 โดยเฉพาะการทำ Net-Zero, Zero-Waste, Zero-poverty, Zero-Crime และ Zero Unemployment พูดง่ายๆ คือ 100% Security

ชัดเจนแล้วว่าประเทศจำเป็นต้องมี Big Move ไปในเส้นทางนี้ ที่จะช่วยทำให้เศรษฐกิจไทยจะกลับมาเติบโตเข้มแข็งในอนาคตได้.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผ่าแผนรับมือรถติดสร้างสายสีส้ม

จากการที่รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เตรียมจัดการจราจรเพื่อดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม

เปิดขุมทรัพย์จากพฤติกรรมสุดขี้เกียจ

เชื่อหรือไม่ว่า มีคนจำนวนไม่น้อยที่กดสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันเดลิเวอรี ทั้งที่ร้านอยู่ใกล้แค่ใต้คอนโดฯ สั่งซื้อของจากร้านสะดวกซื้อทั้งที่ร้านอยู่แค่ฝั่งตรงข้าม หรือยอมจ่ายเงินจ้างคนไปต่อคิวเพื่อซื้อของ ทำธุระ

สงครามการค้าเวอร์ชัน 2.0

อย่างที่ทราบกันดีว่า ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐล่าสุด ผู้ชนะก็คือ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งคว้าชัยแบบทิ้งห่างคู่แข่งอย่างนางกมลา แฮร์ริส ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต

แห่ส่งเสริมนวัตกรรมพลิกโลก

เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ออฟ ติงส์ หรือ IoT(ไอโอที) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญในยุคสมัยนี้ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นนวัตกรรมที่ทำให้การสื่อสารระหว่างมนุษย์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไร้รอยต่อยิ่งขึ้น

OCAแก้วิกฤตพลังงานไทย

ปัจจุบันปริมาณสำรองก๊าซของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องจนเข้าขั้นวิกฤต ส่งผลให้ต้องนำเข้าก๊าซ LNG ในราคาที่ผันผวนเพิ่มมากขึ้น มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นของประชาชนและรายได้งบประมาณของรัฐลดลง

แอ่วเหนือ...คนละครึ่งบูมเศรษฐกิจ

จากสถานการณ์อุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ทั้งในแง่ของการคมนาคม เดินทางเข้าสู่พื้นที่และความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยว