แผนฟื้นฟูอย่างยั่งยืน

ประเทศไทยในปี 2565 นี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นฟื้นฟูอย่างจริงจังจากความบอบช้ำของพิษเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยสำคัญอย่างโควิด-19 ที่กดดันและฉุดรั้งไม่ให้เกิดการพัฒนามานานเกือบ 3 ปี แน่นอนว่าส่งผลไปยังทุกภาคส่วนในโลกที่จะต้องมีการปรับตัว โดยในปีนี้ถือว่าทุกอย่างเริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นแล้ว ก็ถือเป็นโอกาสที่สำคัญในการฟื้นฟูหลายๆ อย่างให้กลับคืนมา

เช่นเดียวกับที่คนในสังคมเองก็เริ่มมีหนทางที่จะฟื้นฟู ต่อยอด และพัฒนาทั้งอาชีพ ความเป็นอยู่ และการใช้ชีวิตให้มีคุณภาพกลับมาดีเทียบเท่าหรือมากกว่าช่วงเวลาก่อนเกิดโควิดได้ โดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ จากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีให้เลือกใช้เกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตที่ปัจจุบันแผนงานและบริการมากมายมาส่งเสริมให้มีทิศทางที่ดีขึ้น

ขณะที่ภาคอุตสาหกรรม กลุ่มผู้ประกอบการการค้า การบริการ หรือในหลายๆ อาชีพก็มีหลายเครื่องมือที่เข้ามาช่วยเหลือทำให้หลายๆ กิจกรรมฟื้นคืนมา ซึ่งหนึ่งในหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องและมีแผนดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยมาโดยตลอดอย่างกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ในปี 65 นี้ก็มีแผนงานที่ชัดเจน ภายใต้การนำของ "สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ขับเคลื่อนและพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม (Ecosystem) เพื่อเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ช่วยส่งเสริมการประกอบกิจการอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

บูรณาการการดำเนินงานหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวงเพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย เป็นแนวทางการทำงานและพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบทของสถานการณ์โลกในปัจจุบันเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ โดยมีกรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับแผนการพัฒนาประเทศและภาคอุตสาหกรรม

เป็นไปตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนความมั่นคงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) แห่งสหประชาชาติ และนโยบายระดับกระทรวง เพื่อก่อให้เกิดการเชื่อมโยงในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น

โดยได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ขึ้น ซึ่งจะผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิตมีความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ให้เติบโตอย่างยั่งยืน” ด้วยการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยที่การส่งเสริมและการพัฒนาต้องสอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของประเทศ ซึ่งการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้จะก่อให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพ มูลค่าและมาตรฐาน รวมถึงพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง แข่งขันได้ในเวทีโลก

และแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปีนี้ยังคงมุ่งเน้นไปที่การยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมสอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของประเทศ โดยเน้นไปที่งานวิจัย การต่อยอดงานวิจัย และการประยุกต์ใช้ทางวิทยาศาสตร์ การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมใหม่

ด้วยการสนับสนุนสร้างโอกาส และลดอุปสรรคในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย BCG Model เป็นการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับภาคอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นดำเนินกิจการที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาสู่องค์กรดิจิทัลเพื่อให้การบริการอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยแผนงานดังกล่าวที่จะมีการพัฒนาระบบและความสามารถของบุคลากรในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการและประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาล ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ รวมถึงตอบโจทย์สำคัญให้กับการฟื้นฟูกิจกรรมต่างๆ ของสังคมให้กลับมาสู่ภาวะปกติแบบยั่งยืนต่อไปในอนาคตหากแผนดังกล่าวสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างครบถ้วน.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร