ยกระดับอุตสาหกรรมสู่ 4.0

การก้าวสู่ยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญกับการดำเนินธุรกิจ รัฐบาลจึงเดินหน้าขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้มีความพร้อมรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในศตวรรษที่ 21 ได้

ดังนั้นการก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ที่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม จะช่วยให้สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของเครื่องจักร ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตทำงานได้รวดเร็ว ยืดหยุ่น และสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นเดียวกับด้านการบริการที่มีการนำนวัตกรรมต่างๆ เข้ามาใช้เพื่อตอบรับผู้บริโภคในยุคดิจิทัล

ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบอร์ดบีโอไอ ในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริมการลงทุน ได้เดินหน้ายกระดับอุตสาหกรรมไทย ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนสนับสนุนผู้ประกอบการลงทุน ปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ตามเกณฑ์ที่กำหนดในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบอัตโนมัติและการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์, การวิเคราะห์ข้อมูลและการปฏิบัติการที่ชาญฉลาด หรือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการในกระบวนการผลิตและการบริหารองค์กร เป็นต้น

นอกจากนี้เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับภาคเอกชนก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ยังได้เพิ่มมาตรการย่อยโดยในกลุ่มของกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิม จะได้รับสิทธิประโยชน์ อาทิ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี สัดส่วน 100% ของเงินลงทุนในการปรับปรุง เพื่อยกระดับไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 และยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
ส่วนกลุ่มที่ลงทุนใหม่ มาตรการที่ให้จะได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับกิจการในกลุ่ม B (กลุ่มกิจการที่ไม่ได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล) โดยได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี เป็นสัดส่วน 100% ของเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 และสิทธิประโยชน์อื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 กรณี บีโอไอให้การส่งเสริมครอบคลุมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ โดยต้องมีเงินลงทุนมากกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) หากเป็น SMEs ผ่อนปรนการลงทุนไม่น้อยกว่า 500,000 บาท และต้องเสนอแผนการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยยื่นขอรับการส่งเสริมภายในวันทำการสุดท้ายของปี 2565 และต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม

อย่างไรก็ดี แม้ว่าผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทยจะมีจำนวนน้อย แต่ในช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมไทยมีแนวโน้มที่จะใช้ระบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยในช่วงปี 2562-กันยายน 2564 คำขอรับส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรมีจำนวน 130 โครงการ เงินลงทุนรวม 22,598 ล้านบาท

ล่าสุด บริษัท เวสเทิร์นดิจิตอล (Western Digital) ซึ่งได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอ ก็ได้รับคัดเลือกจากสภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum ให้เป็นโรงงานอัจฉริยะ ได้รับรางวัลระดับนานาชาติด้านการใช้เทคโนโลยีในกลุ่มของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4th Industrial Revolution)

ดังนั้น การที่ประเทศไทยได้วางเป้าหมายยกระดับโรงงานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี 10,000 แห่ง ให้สามารถยกระดับเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ในปี 2567 ได้นั้น มาตรการส่งเสริมการลงทุนจึงเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมและบริการของไทยก้าวเข้าสู่เป้าหมายได้เพิ่มมากขึ้น.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research