สิงคโปร์วางตัวนายกรัฐมนตรีคนต่อไปแล้ว
เขาชื่อ Lawrence Wong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนปัจจุบัน
ต่อไปนี้จะเรียกเขาว่า “หว่อง” เพื่อจะได้ติดตามบทบาทของเขาอย่างใกล้ชิดต่อไป
เพราะถ้าหากเป็นไปตาม “แผนสืบทอดอำนาจ” ของพรรค People’s Action Party (PAP) ภายใต้การนำของนายกฯ หลี่ เสียนหลง เขาจะเป็นผู้นำสิงคโปร์คนแรกที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงใกล้ชิดกับคน “ตระกูลลี”
เป็นการทดสอบครั้งสำคัญสำหรับเกาะแห่งนี้ที่กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายอันใหญ่หลวงที่เจอปัญหาโควิด และผลกระทบจากสงครามยูเครน
พร้อมกับจุดยืนกร้าวต่อรัฐบาลทหารพม่าและรัสเซียในกรณีสงครามยูเครน
เป็นท่าทีที่แปลกแตกต่างไปจากสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ที่น่าติดตามเพื่อทำความเข้าใจกับ “จุดแดงเล็กๆ ในแผนที่โลก” (Little Red Dot...ที่อดีตประธานาธิบดีอินโดนีเซียท่านหนึ่งเคยกล่าวเอาไว้แบบเอ็นดูแกมหมั่นไส้)
หว่องเคยเป็นข้าราชการพลเรือนที่ผันตัวมาเป็นนักการเมือง
ก่อนหน้านั้น เขาเป็นนักบริหารธุรกิจในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายและคุณแม่เป็นครู
การแสวงหาผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากนายกฯ หลี่มาหลายปีสิ้นสุดลงเมื่อสัปดาห์ก่อน เมื่อเขาประกาศว่า “หว่อง” จะเป็นผู้นำทีม "รุ่นที่ 4" หรือ "4G" ของพรรค PAP
คำว่า 4G ในที่นี้ไม่ใช่รุ่นของอินเทอร์เน็ต หรือ wifi หากแต่ย่อมาจาก Fourth Generation หรือ “ผู้นำรุ่นที่ 4”
ต่อจาก ลี กวนยู ผู้ก่อตั้งสิงคโปร์, ก๊ก จ๊กตง, และหลี่ เสียนหลง ในวันนี้
“หว่อง” ในตำแหน่งรัฐมนตรีคลังได้แสดงฝีมือการประสานงานในฐานะประธานร่วมของคณะทำงานด้านโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
พร้อมภาพลักษณ์ที่เป็นผู้พิสูจน์ผลงานอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยที่ทำให้เขาแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นๆ
“หว่อง” ต่างจากนายกฯ หลี่ ตรงที่ไม่ได้มีสายเลือดทางการเมืองมาก่อน
เขาเคยบอกกับหนังสือพิมพ์สเตรทส์ไทมส์ว่า "ผมมาจากครอบครัวธรรมดาๆ ไม่มีอะไรพิเศษเลยจริงๆ"
หว่องได้ทุนการศึกษาของรัฐบาล เรียนหนังสือต่อที่อเมริกา และเริ่มอาชีพเป็นข้าราชการในปี 1997
ปี 2011 เขาได้รับเลือกเข้าสภาเป็นครั้งแรก และอีกเพียง 2 สัปดาห์ต่อมาก็ได้ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาและการป้องกันประเทศ
นายกฯหลี่เสียนหลงแถลงข่าวเปิดตัว Lawrence Wong เป็นทายาททางการเมืองคนต่อไป...จับมือกับ Khaw Boon Wan อดีตรัฐมนตรีที่เป็นหัวหน้าคณะทำงานสรรหาผู้นำรุ่น 4G
ต่อมาหว่องลงสนามการเมือง ชนะเลือกตั้งในปี 2015 และ 2020
พร้อมๆ กับไต่อันดับอย่างต่อเนื่องด้วยตำแหน่งรัฐมนตรีอีกหลายกระทรวง
เขาเริ่มมีความโดดเด่นจริงๆ ก็เมื่อในปี 2020 หลังโควิดอาละวาดนั่นเอง
เพราะได้รับตำแหน่งประธานร่วมของคณะทำงานเฉพาะกิจหลายกระทรวงของรัฐบาลเพื่อต่อต้านโควิด-19
ลีลาท่าทีในการแถลงข่าวต่อสาธารณะทำให้เขาเป็นที่รู้จักของคนสิงคโปร์
หว่องมีภาพของการเป็นนักการเมืองที่ติดดินกับชาวบ้านพอสมควร
ในการแถลงต่อรัฐสภาเมื่อเดือนมีนาคม 2020 หว่องกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ ขณะที่เขาเล่ากิจกรรมที่ไปจ่ายเงินช่วยเหลือให้คนงานแนวหน้าในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด
ประโยคที่สร้างความประทับใจให้กับผู้รับฟัง (แน่นอนต้องรวมถึงนายกฯ หลี่ด้วย) บางตอนคือ
“ผมไม่อาจจะสรรหาคำพูดที่เพียงพอที่จะแสดงความขอบคุณของเราต่อชาวสิงคโปร์จำนวนมากที่พยายามอย่างเต็มที่เพื่อต่อสู้กับไวรัส” และ
“เราทุกคนร่วมมือกัน เราจะเดินหน้าฝ่าฟันความท้าทายไปด้วยกันในทุกย่างก้าว”
เป็นที่มาของภาพลักษณ์ว่าหว่องไม่ใช่แค่ทำงานเก่งเท่านั้น แต่ยังมีจิตใจที่เข้าถึงชาวบ้าน
นายกฯ หลี่ได้ประกาศเอาไว้ว่า ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากเขาจะต้องถูกกำหนดไว้ก่อนที่เขาจะอายุ 70
นายกฯ หลี่อยู่ในตำแหน่งมากว่า 17 ปี และพรรค PAP ซึ่งปกครองสิงคโปร์ตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี 1965
ความจริงหว่องไม่ใช่ “ตัวเลือก” คนแรกสำหรับตำแหน่งนี้
ก่อนหน้านี้รองนายกรัฐมนตรีเฮง สวี คีต คือตัวเต็งเบอร์ 1
เฮงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจนกระทั่ง 1 ปีที่แล้ว และทำให้ผู้คนแปลกใจพอสมควรเมื่อเขาประกาศขอถอนตัวออกจากตำแหน่งผู้นำ 4G
โดยอ้างว่าเขาอายุมากขึ้น (อายุ 60 ปีในปีที่แล้ว)
และความหนักหนาสาหัสของปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำที่ยืดเยื้ออันเนื่องมาจากการระบาดใหญ่
จากนั้นเมื่อมีการปรับคณะรัฐมนตรี หว่องเข้ามาเป็นรัฐมนตรีคลังแทน ก็ได้จังหวะที่เขาแสดงฝีมือได้เต็มที่
พอหว่องได้รับการคัดเลือกมานำทีมรัฐบาลใหม่ก็ตรงกับที่พรรค PAP มีกำหนดจะจัดให้มีการลงมติภายในเพื่อเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่
ก็จะเป็นเวลาที่นายกฯ หลี่ส่งไม้ต่อให้กับหว่องอย่างเป็นทางการ
จากนั้นจะมีการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี 2023
จะต้องเรียกการเลือกตั้งทั่วไปภายในปี 2025 หรืออีก 3 ปีจากนี้ หากไม่มีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งทั่วไปเสียก่อน
เศรษฐกิจของสิงคโปร์เริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบของโคโรนาไวรัส ประมาณการทางการบอกว่าปีนี้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอาจจะอยู่ในระดับ 3.4%
เป็นการค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างเป็นระบบที่ “หว่อง” มีบทบาทร่วมในการวางแผนและนำไปปฏิบัติมาตลอด
ปีนี้หว่องอายุ 49 ปี เป็น ส.ส.ของเขตเลือกตั้ง Limbang
ก่อนเข้าสู่การเมือง หว่องเคยเป็นข้าราชการในกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม การเงินและสาธารณสุข
ที่สำคัญคือเขายังดำรงตำแหน่งเลขาฯ ส่วนตัวของนายกฯ หลี่ ระหว่าง 2005-2008
ต่อมาได้เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Energy Market Authority ระหว่างปี 2008 ถึง 2001
หว่องเปิดตัวทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2011 เมื่อเขาเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีม PAP ที่มีสมาชิก 5 คนใน West Coast GRC
ทีมของเขาชนะด้วยคะแนนเสียงประมาณ 67%
นับตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปปี 2015 หว่องลงแข่งในเขตเลือกตั้ง Marsiling–Yew Tee GRC ที่ตีเส้นเขตเลือกตั้งขึ้นใหม่ และชนะเลือกตั้งในปี 2015 และ 2020 ต่อมา
วันนี้เขาเข้าสู่เก้าอี้ “ว่าที่นายกรัฐมนตรี” ที่ต้องรับความท้าทายมากมายหลายด้าน
โดยที่มีโค้ชใกล้ชิดคือ นายกฯ หลี่ เสียนหลง
จะรอดหรือไม่...ยังรอการพิสูจน์.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ