การเติบโตของดิจิทัลทำให้การใช้บริการแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายสินค้า ด้านความบันเทิง ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. รายงานว่า ในปี 2564 ผู้ให้บริกา OTT หรือ Over-the-Top หรือบริการที่ให้เราสามารถรับชมภาพยนตร์, ซีรีส์, Content ต่างๆ ผ่านทางแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตมีทั้งรูปแบบที่จ่ายค่าบริการรายเดือน รายปี ทุกประเภทในไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น 8 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงแรกของการเข้ามาทำตลาดไทยปี 2557
โดยเฉพาะในกลุ่มบริการประเภท Subscription Video on Demand (SVoD) ที่เก็บค่าสมาชิก อย่างเช่น Netflix, Disney Plus, Amazon Prime Video มีสมาชิกมากถึง 13.29 ล้านบัญชี
สอดคล้องกับ Statista Advertising and Media Outlook ประเมินว่า มูลค่าตลาด OTT ของประเทศไทยจะยังเติบโตอย่างต่อเนื่องและจะเพิ่มถึงประมาณ 877 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 ขณะที่จำนวนผู้ใช้บริการ OTT ในไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.1 ล้านรายในปี 2566
นอกจากนี้ ผลสำรวจทิศทางอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงทั่วโลกระหว่างปี 2562-2566 หรือ Global Entertainment and Media Outlook 2019-2023 ของ บริษัท ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ หรือ พีดับบลิวซี หรือ PwC ยังพบว่า มูลค่าการใช้จ่ายผ่านสื่อและบันเทิงในประเทศไทยจะเติบโตเฉลี่ยต่อปีในอีก 5 ปีข้างหน้าอยู่ที่ 5.05% โดยเฉพาะความต้องการเสพสื่อและบันเทิงแบบส่วนบุคคลจะยิ่งมากขึ้น ทั้งการเข้ามาของ 5G จะยิ่งทำให้ผู้บริโภคหันไปสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น Pwc คาดว่าบริการวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตจะเติบโตเร็วที่สุด โดยจะโตกว่า 2 เท่าในปี 2566 เป็น 6.08 พันล้านบาท คิดเป็นการเติบโตต่อปีที่ 16.64% จากปี 2561 อยู่ที่ 2.81 พันล้านบาท
ดังนั้น ผู้ประกอบการโทรคมนาคมในปัจจุบันต้องประสบภาวะที่ยากต่อการแข่งขันกับผู้เล่นดิจิทัล ซึ่งมีด้วยกัน 9 ข้อ ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนต้องนำไปคิดทบทวนและหาทางออกประกอบ ด้วย 1.ค่าใบอนุญาตค่าคลื่นที่ผู้ให้บริการเดิมต้องจ่าย แต่ผู้ให้บริการในรูปแบบดิจิทัลจากต่างประเทศไม่ต้องจ่าย เช่น ไลน์ เฟซบุ๊ก Skype เป็นต้น 2.ผู้เล่นโทรคมนาคมในปัจจุบันต้องเสียภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย ในขณะที่ผู้ให้บริการดิจิทัลส่วนใหญ่มีสำนักงานอยู่ต่างประเทศ นอกจากไม่ต้องจ่ายภาษีแล้ว ยังไม่ต้องเคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของประเทศไทย
3.การใช้งานดาต้าที่เพิ่มมากขึ้น ลูกค้าจ่ายค่าโทรศัพท์ ค่าดาต้าเท่าเดิม และมี กสทช.ควบคุมราคา ในขณะที่บริษัทดิจิทัลไม่มีหน่วยงานรัฐควบคุม และไม่ต้องจ่ายค่าการใช้ดาต้าให้กับผู้ให้บริการโทรคมนาคมเดิม 4.อุปกรณ์มือถือรุ่นใหม่รวมถึงแอปพลิเคชันไลน์ เฟซบุ๊ก มีการปิดกั้นข้อมูลผู้ใช้งาน ทำให้บริษัทโทรคมนาคมเดิมรู้จักลูกค้าน้อยลง
5.ผู้เล่นดิจิทัลจากต่างประเทศเตรียมเปิดให้บริการโทรศัพท์ไร้ซิมในอีกไม่เกิน 3 ปีข้างหน้า ทำให้การโทร.ออกทั้งหมดผ่านดาต้า และทำให้เกิดการสูญเสียรายได้ ทำให้ทั้งเอไอเอส ทรู และดีแทคต้องหันมาให้บริการโทร.ผ่านดาต้าแข่งกับไลน์ มิเช่นนั้นรายได้ค่าโทร.จะลดลงอย่างมาก
6.การเข้ามาของโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมซึ่งไม่ได้ใช้เครือข่ายสัญญานมือถือเดิม ล่าสุด SpaceX ได้ทดลองให้บริการสื่อสารที่ฟิลิปปินส์ โดยฟิลิปปินส์มีอัตราผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต 74 ล้านคน และมีอัตราผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยจะมีการยิงดาวเทียมจากทั่วโลก ทำให้ผู้เล่นเดิมมีโอกาสหลุดออกจากธุรกิจจากการ Disruption ดังนั้นต้องสนับสนุนให้บริษัทโทรคมนาคมไทยปรับตัว ไม่ใช่ควบคุมให้ทำธุรกิจแบบเดิม
7.โทรคมนาคมไทยมีเพียงเอไอเอสที่ทำกำไรต่อปีสูงพอที่จะลงทุนเพิ่มเพื่อแข่งขันกับผู้เล่นดิจิทัล ในขณะที่ผู้เล่นที่เหลือในอุตสาหกรรมมีกำไรไม่เพียงพอที่จะลงทุนเพิ่ม ดังนั้นการควบรวมและปรับโครงสร้างจะเป็นการลดต้นทุนที่ซ้ำซ้อน เพิ่มจำนวนเครือข่ายให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดีขึ้น และมีความสามารถทัดเทียมในการแข่งขัน ซึ่งจะเกิดผลดีกับลูกค้ามากกว่าการมีผู้นำเดี่ยวเพียง 1 ราย
8.ผู้เล่นดิจิทัลมีลักษณะการดำเนินธุรกิจแบบ Start Up ปรับตัวง่ายและเร็วกว่า สามารถเพิ่มทุน ลงทุน ควบรวมได้โดยไม่มีการถูกบังคับ ในขณะที่ผู้เล่นในโทรคมนาคมเดิม กฎระเบียบภาครัฐที่ขาดความชัดเจน ในขณะที่กฎหมายเดียวกัน CAT และ TOT ควบรวมกิจการเกิดเป็นบริษัท NT ทำให้ในอนาคตจะยิ่งเหลือผู้เล่นน้อยราย โดยเฉพาะหากทรูและดีแทคไม่สามารถควบรวมสำเร็จ
9.รูปแบบการให้บริการสมัยใหม่ที่จ่ายค่าโทรศัพท์มือถือเป็นรายเดือน ทำให้แบรนด์โทรศัพท์มือถือจะเก็บเงินลูกค้าแบบ subscription และมีบทบาทในการดูแลลูกค้าแทนผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแบบเดิม ทั้งยังมีรูปแบบธุรกิจที่หลากหลายกว่าโดยไม่ถูกควบคุม
ทั้งหมดนี้คือ 9 เหตุผลที่หากธุรกิจในอุตสาหกรรมเดิมไม่ปรับตัวก็ยากที่จะแข่งขันกับผู้เล่นดิจิทัลจากบริษัทชั้นนำระดับโลก ประเทศไทยจะเป็นเมืองขึ้นทางเทคโนโลยี ซึ่งหน่วงยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาสนับสนุนอย่างจริงจัง หาใช่การกำกับเพื่อให้รายใดรายหนึ่งเป็นผู้นำเดี่ยวในตลาด.
บุญช่วย ค้ายาดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research