"เงินเฟ้อ"แรงกดดันการใช้จ่าย-ต้นทุน

หลังจากผ่านช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาวกันไปแล้วก็ต้องกลับมาสู่โหมดการทำงานอีกครั้ง ซึ่งเรื่องของปากท้องและเศรษฐกิจก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่น่าเป็นห่วง โดยจะเห็นได้ว่าอัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี สร้างความกังวลต่อค่าครองชีพของครัวเรือน ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมีนาคมอยู่ที่ 5.73% เพิ่มขึ้นจาก 5.28% ในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากราคาพลังงานในตลาดโลกที่เร่งสูงขึ้นจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับสูงขึ้นมาก

นอกจากนี้ ราคาสินค้าในหมวดอาหารที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ไข่ไก่ ผักสด และเครื่องประกอบอาหาร ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปีที่ 2.0% จาก 1.80% ในเดือนกุมภาพันธ์ สำหรับในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 4.75% และ 1.43% ตามลำดับ

วิจัยกรุงศรีระบุว่า อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมากโดยแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 และอยู่เหนือกรอบของเงินเฟ้อเป้าหมายของทางการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยการปรับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อส่วนใหญ่มาจากราคาพลังงาน แม้ว่าราคาไม่ได้เพิ่มขึ้นในทุกชนิดสินค้า แต่กลับสร้างความกังวลให้สังคมเกี่ยวกับผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายและกำลังซื้อ จนทำให้ยอดค้นหาของคำว่า ‘เงินเฟ้อ’ ใน Google แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2551 และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมีนาคมร่วงลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนที่ 42.0 จาก 43.3 เดือนกุมภาพันธ์

ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 4.8% จากแรงหนุนของราคาอาหารเพื่อบริโภคที่บ้านและราคายานพาหนะ อีกทั้งราคาพลังงานที่พุ่งขึ้นตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของไทยยืนอยู่เหนือกรอบเป้าหมาย และอาจใช้เวลาถึงไตรมาสสุดท้ายของปีกว่าที่จะมีแนวโน้มปรับตัวลดลง นอกจากนี้ผลการศึกษาของวิจัยกรุงศรีพบว่าจากตะกร้าการบริโภคสินค้าที่มีความแตกต่างกัน โดยกลุ่มคนรายได้ต่ำจะมีสัดส่วนการใช้จ่ายในหมวดอาหารเพื่อบริโภคที่บ้านและการขนส่งรวมกันราวสองเท่าของกลุ่มคนรายได้สูง จึงมีโอกาสเผชิญเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นกว่า 6 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน สวนทางกับกลุ่มคนรายได้สูงที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับปี 2564

ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมมีสัญญาณฟื้น แต่ยังมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจกดดันการเติบโตในระยะข้างหน้า ล่าสุดดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 25 เดือนที่ 89.2 จาก 86.7 ปัจจัยหนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด รวมถึงการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติจากหลายๆ ประเทศทยอยผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ในเดือนมีนาคม ผู้ประกอบการมีการเร่งการผลิตสินค้าเพื่อส่งมอบก่อนวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์

วิจัยกรุงศรีประเมินว่า แม้การผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงต้นปีจะมีสัญญาณเชิงบวกจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ แต่ในระยะถัดไปปัจจัยกดดันจากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่มีความเสี่ยงอาจลากยาวมากขึ้นกระทบเศรษฐกิจโลกและการค้าชะลอลง ส่งผลต่อภาคการส่งออกและภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทย ขณะที่ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นมากจะส่งผลต้นทุนการผลิตและการขนส่งสินค้า นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงจากภาวะชะงักงันของอุปทานของโลก หากสถานการณ์การล็อกดาวน์ของจีนเพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 ระลอกล่าสุดมีแนวโน้มยืดเยื้อและเป็นวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากมีการประเมินว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยใช้ input จากจีนคิดเป็นสัดส่วนเมื่อเทียบกับมูลค่าผลผลิตรวมทั้งหมดสูงสุดเป็นอันดับ 3 รองจากเวียดนามและฮ่องกง

ส่วนดัชนีหุ้นไทย บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด ได้คาดการณ์ไว้ก่อนช่วงวันหยุดยาวว่า ระหว่างวันที่ 18-22 เมษายน ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,665 และ 1,650 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,685 และ 1,700 จุด ตามลำดับ มีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์โควิด-19 ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงผลประกอบการงวดไตรมาส 1/65 ของ บจ. โดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญได้แก่ ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน ยอดขายบ้านมือสองเดือนมีนาคม รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์.

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร