รอลุ้นเงินสะพัดช่วงสงกรานต์

ในที่สุดคนไทยก็ได้โอกาสหยุดยาว และเตรียมตัวที่จะกลับภูมิลำเนาหรือออกไปท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนจิตใจและกายา หลังจากที่ต้องทำงานในช่วงแห่งความยากลำบากที่โรคโควิด-19 ยังคงเป็นไวรัสที่น่ากลัว และจัดการคร่าชีวิตคนทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง

โดยในปีนี้งานสงกรานต์ของไทยก็อาจจะไม่คึกคักเหมือนในอดีตที่ผ่านมา เพราะรัฐบาลขอความร่วมมืองดการสาดน้ำ ประแป้ง และปาร์ตี้โฟม เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ทำให้การจัดงานรื่นเริงที่เป็นมหกรรมใหญ่ๆ ในแต่ละจังหวัดคงจะไม่มี แต่อาจจะเป็นการสรงน้ำพระ หรือการฉลองกันเองในครอบครัว ซึ่งอย่างน้อยก็สร้างความสุขให้กับชีวิตได้

อย่างไรก็ดี ในแง่มุมทางเศรษฐกิจแล้วทุกวันหยุดยาวก็ต้องอยากเห็นประชาชนออกมาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ออกมาจับจ่ายใช้สอย ออกมาทานอาหาร หรือร่วมทำบุญ

ล่าสุด ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ปี 2565 นี้จะมีมูลค่ารวมประมาณ 2.23 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยบรรยากาศการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้น่าจะดีขึ้น เนื่องจากประชากรในประเทศส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็ม 1 และ 2 รวมถึงเข็มกระตุ้น ทำให้คนส่วนหนึ่งมีความเชื่อมั่นที่จะเดินทางท่องเที่ยว

นอกจากนี้ ในปีนี้ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้ผ่อนคลายให้สามารถจัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์ ขบวนแห่ การสาดน้ำ และการจัดกิจกรรมสันทนาการได้ (ภายใต้เงื่อนไขที่ยังต้องเฝ้าระวังการระบาดของโควิด เช่น การห้ามเล่นน้ำ ประแป้ง หรือปาร์ตี้โฟมในพื้นที่สาธารณะที่ไม่มีการควบคุม) ก็ทำให้หน่วยงานท้องถิ่นในหลายพื้นที่มีแผนที่จะจัดงานเทศกาลสงกรานต์

รวมถึงหน่วยงานท่องเที่ยว และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวกลับมาทำโปรโมชันกระตุ้นการท่องเที่ยว อย่างโปรโมชันซื้อ 1 แถม 1 สำหรับการเข้าไปชมสถานที่ท่องเที่ยว หรือแพ็กเกจห้องพักราคาพิเศษ เป็นต้น รวมถึงปัจจัยหนุนจากโครงการเราเที่ยวด้วยกันที่ยังคงมีจำนวนสิทธิเหลืออยู่ประมาณ 2.7 แสนสิทธิ (ณ วันที่ 7 เมษายน 2565) เป็นที่สังเกตว่าจำนวนสิทธิการจองห้องพักปรับลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงใกล้วันหยุดเทศกาลสงกรานต์

ด้านนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวถึงภาพรวมในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งมีวันหยุดต่อเนื่องติดต่อตั้งแต่วันที่ 13-17 เมษายนนี้ ก็ประเมินว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีประชาชนเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศประมาณ 3.34 ล้านคน-ครั้ง และเราหวังว่าจะมีการใช้จ่ายสร้างรายได้หมุนเวียนประมาณ 11,000 ล้านบาท โดยมีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 41% ขณะที่บรรยากาศสงกรานต์ปี 65 จะคึกคักกว่าปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี แม้ว่าภาพรวมของการใช้จ่ายในช่วงสงกรานต์ในปีนี้จะออกมาดูดีขึ้น แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า การท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ปีนี้การฟื้นตัวยังไม่ทั่วถึง โดยคนไทยยังเลือกเดินทางท่องเที่ยวระยะใกล้ และ/หรือที่เป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวหลัก ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลอย่างพัทยาและสัตหีบ (จังหวัดชลบุรี) เกาะกูดและเกาะช้าง (จังหวัดตราด) หัวหิน (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) จังหวัดภูเก็ต เกาะสมุย (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (ภูเขา/น้ำตก) เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดเชียงใหม่

สำหรับ ในด้านการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2565 โดยภาพรวมการใช้จ่ายต่อทริปเฉลี่ยลดลงเล็กน้อย ซึ่งหลักๆ แล้วเป็นผลมาจากการทำตลาดของผู้ประกอบการท่องเที่ยว และการปรับพฤติกรรมการเดินทางให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิดและกำลังซื้อ ขณะเดียวกันโครงการภาครัฐ ทั้งเราเที่ยวด้วยกันและคนละครึ่ง ประกอบกับนักท่องเที่ยวบางส่วนเดินทางแบบไปเช้า-เย็นกลับ จึงมีส่วนทำให้ค่าใช้จ่ายด้านที่พักและด้านอาหารของนักท่องเที่ยวไม่เร่งตัวขึ้นมากนัก แม้ราคาอาหารจะแพงขึ้น.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า