ฟินแลนด์เคยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ “เป็นกลาง”...เพราะไม่เป็นสมาชิก NATO และไม่ทำตัวเป็นศัตรูกับรัสเซีย
ประธานาธิบดีปูตินของรัสเซียเคยบอกว่ายูเครนควรจะปรับนโยบายของตนให้เหมือนฟินแลนด์และสวีเดนที่รักษา “ความเป็นกลาง” ได้อย่างดีเพราะไม่ยอมเป็น “เครื่องมือของตะวันตก”
แต่วันนี้หลังเกิดเหตุการณ์รัสเซียบุกยูเครน ฟินแลนด์ประกาศว่ารัสเซีย “ไม่ใช่เพื่อนบ้านที่เราเคยรู้จักอีกต่อไป”
และเรียกร้องให้นาโตเปิดทางให้สมัครเป็นสมาชิกแบบ “fast track” อีกด้วย
เพราะไม่แน่ใจว่าในวันข้างหน้าตัวเองจะตกอยู่ในสภาพแบบเดียวกับยูเครนหรือไม่
ซานนา มาริน นายกรัฐมนตรีของฟินแลนด์ บอกว่า จำเป็นต้องปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างชนิดที่คาดไม่ถึง
ฟินแลนด์เคยทำสงคราม 2 ครั้งกับสหภาพโซเวียต และมีความแตกต่างจากประเทศยุโรปตะวันออกส่วนใหญ่ เพราะสามารถรักษาเอกราชและประชาธิปไตยไว้ตลอดช่วงสงครามเย็น
“ราคาที่ต้องจ่าย” กับการอยู่รอดเช่นนั้นคือ “ความเป็นกลาง” นี่แหละ
ที่น่าสนใจคือฟินแลนด์ซื้ออาวุธทั้งจากทั้งตะวันออกและตะวันตก แต่ไม่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรตะวันตกอย่างโจ่งแจ้ง
เป็นที่มาของคำว่า Finlandisation
มีความหมายว่าไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดอย่างออกนอกหน้านัก แต่ก็ยังพยายามรักษาความเป็นตัวของตัวเองในระดับหนึ่ง
พอสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991 ฟินแลนด์กับสวีเดนก็ขยับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเกินกว่าที่เคยคาดเอาไว้
จึงเข้าร่วมสหภาพยุโรปและเข้าใกล้ชิดกับประเทศในยุโรปอื่นๆ มากขึ้น
และพอรัสเซียบุกยูเครนครั้งแรกในปี 2014 ทั้ง 2 ประเทศก็ขยับอีกครั้งหนึ่งด้วยการเพิ่มการซ้อมรบร่วมและความร่วมมือรูปแบบอื่นๆ กับ NATO
จากการสำรวจประชาชนในปี 2019 ชาวฟินแลนด์มากกว่าครึ่งไม่เห็นด้วยกับการเป็นสมาชิก NATO
แต่พอถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ หรือ 4 วันหลังจากการบุกรุก ความรู้สึกของคนฟินแลนด์ก็เปลี่ยนไป
เป็นครั้งแรกที่คนเกินครึ่งประเทศต้องการจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ NATO
โพลล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม มีคนเห็นชอบ 61% ต่อต้าน 16% และยังไม่ตัดสินใจ 23% ซึ่งรวมถึงผู้สนับสนุนส่วนใหญ่จากทุกฝ่าย
ยกเว้นกลุ่มการเมืองฝ่ายซ้ายที่เรียกว่า Left Alliance
อีกทั้งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าหาก Sauli Niinisto ประธานาธิบดีที่โด่งดังของฟินแลนด์แสดงจุดยืนเรื่องนี้อย่างแน่ชัด เสียงสนับสนุนก็จะเพิ่มมากขึ้นไปอีก
ทั้งนายกฯ และประธานาธิบดียังไม่ส่งเสียงออกมาอย่างเป็นทางการในเรื่องนี้ เพราะต้องการให้กระบวนการทางการเมืองดำเนินไป
รัฐสภาฟินแลนด์กำลังจะนำประเด็นนี้เป็นหัวข้ออภิปรายอย่างเร่งด่วน เพราะสงครามดังตูมตามอยู่ที่เพื่อนบ้านยูเครนนี้เอง
คาดว่าจะมีการตัดสินใจอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลและรัฐสภาฟินแลนด์ก่อนการประชุมสุดยอด NATO ในกรุงมาดริด ในวันที่ 29 มิถุนายนนี้
ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้อย่างเร็วที่สุดในต้นเดือนพฤษภาคมนี้
2 พรรคการเมืองหลักคือพรรค Social Democrats ของนางมาริน และพรรค Center เคยเห็นต่างกันในกรณีจะเข้าร่วม NATO หรือไม่มาก่อน
แต่พอเกิดสงครามยูเครนก็เกิดความเห็นพ้องได้อย่างรวดเร็ว
ถึงวันนี้จากจำนวนสมาชิกสภานิติบัญญัติ 200 คน มี 96 คนสนับสนุนการเข้า NATO คัดค้านเพียง 14 คน
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ Helsingin Sanomat Elina Valtonen สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานของพรรค Kokoomus ประกาศว่า
"ประชาชนชาวฟินแลนด์เป็นผู้กำหนดทิศทางของประเทศ”
จุดยืนเรื่องสนับสนุน NATO กลายเป็นกระแสการเมืองใหม่ของประเทศฟินแลนด์ทันที
และเกิดความเชื่อในแวดวงพรรคการเมืองว่ารัฐบาลฟินแลดน์อาจจะสามารถยื่นใบสมัครเข้า NATO ได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้
เป็นการปรับเปลี่ยนประชามติของคนฟินแลนด์ที่รวดเร็ว “ปานสายฟ้าแลบ” ก็ว่าได้
เพราะความหวาดหวั่นว่าฟินแลนด์อาจจะกำลังเผชิญกับภัยคุกคามจากรัสเซียเหมือนกับที่ยูเครนเจออยู่ขณะนี้
มีตัวอย่างให้เห็นกันโทนโท่เช่นเมื่อวันที่ 8 เมษายน มีรายงานว่าเครื่องบินรัสเซียละเมิดน่านฟ้าของฟินแลนด์ และเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมของประเทศถูกโจมตีโดยการโจมตีทางไซเบอร์อย่างฉับพลัน
เชื่อกันว่าอาจโยงกับคำปราศรัยของ Volodymyr Zelensky ประธานาธิบดีของยูเครนต่อรัฐสภาของฟินแลนด์ในเรื่องเดียวกัน
ทำให้ประธานาธิบดีฟินแลนด์บอกว่า เมื่อเห็นภัยขยับมาใกล้อย่างนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องทำประชามติระดับชาติเกี่ยวกับการจะเข้าหรือไม่เข้า NATO อีกต่อไป
ต่อมาเมื่อวันที่ 3 เมษายน Jens Stoltenberg เลขาธิการของ NATO แย้มว่ากระบวนการรับฟินแลนด์หรือสวีเดนเข้ามาร่วมพันธมิตรทางทหารนี้สามารถทำได้ "อย่างรวดเร็ว"
เขาบอกใบ้ด้วยว่าอาจจะมีวิธีการที่จะเสนอให้มี “มาตรการค้ำประกันความปลอดภัยชั่วคราว” ขณะที่รอขั้นตอนของการรับเข้าเป็นสมาชิกอย่างถาวรได้
เพราะตราบที่ยังไม่ได้รับเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ ฟินแลนด์ก็ยังไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้มาตรา 5 ของสนธิสัญญา NATO
ที่ต้องมีการพูดถึง “การเร่งรัด” ในเรื่องเวลาก็เพราะมีความพรั่นพรึงว่าเมื่อรัสเซียได้รับทราบถึงท่าทีใหม่ของฟินแลนด์ที่จะ “เอาใจออกห่าง” ไปคบหา NATO อย่างเปิดเผยแล้ว อาจจะมีความพยายามสกัดกั้นจากมอสโกก็เป็นได้
ตลกร้ายสำหรับรัสเซียก็คือ ตอนเปิดศึกกับยูเครนนั้น ปูตินต้องการจะสกัดการขยายตัวของ NATO
แต่เอาเข้าจริงๆ เมื่อรัสเซียเปิดศึกกับยูเครน สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือทำให้มีประเทศที่ต้องการจะเข้าร่วม NATO กลับเพิ่มขึ้นอีก!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ