ผันตัวสู่ออนไลน์สร้างโอกาส

จากสถานการณ์บ้านเมืองที่ค่อนข้างวุ่นวาย คนในประเทศต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดทั้งด้านเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ ที่ผ่านมามีหลายอุตสาหกรรมปรับตัวมากขึ้นแล้ว บ้างก็จากความสามารถของตัวเอง บ้างก็ใช้โอกาสและเครื่องมือจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งหยิบยื่นความช่วยเหลือในช่วงที่เกิดวิกฤต แต่หนึ่งสิ่งที่กำลังได้รับความนิยมและภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวเข้าหามากที่สุดคือการใช้เครื่องมือออนไลน์

จากหลายอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเข้าสู่ออนไลน์ทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่อันจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถก้าวข้ามอุปสรรคได้ อย่างเช่น กลุ่มอุตสาหกรรมประมง ที่ก่อนหน้านี้สถาบันอาหารได้ไปดำเนินโครงการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารมูลค่าสูงจากผลผลิตประมงเพาะเลี้ยงฯ ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคกลาง

เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการแปรรูปอาหาร เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ประมงตลอดห่วงโซ่อุปทาน พร้อมต่อยอดสู่สินค้าเกษตรที่มีมูลค่าสูง สร้างโอกาสในการแข่งขัน รุกตลาดออนไลน์และออฟไลน์ วรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรไปสู่การปฏิบัติ โดยกำหนดแนวทางการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตร

บนพื้นฐานความสมดุลเชิงพื้นที่ในการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตร ทั้งประเภทอาหาร ไม่ใช่อาหาร รวมถึงผลักดันให้อุตสาหกรรมมีความมั่นคงและเกิดความยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสากล ควบคู่ไปกับการพัฒนาช่องทางการตลาดในระดับต่างๆ โดยได้มอบหมายให้สถาบันอาหารดำเนินงานโครงการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารมูลค่าสูงจากผลผลิตประมงเพาะเลี้ยงด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความยั่งยืนในธุรกิจประมง

ในปีงบประมาณ 2565 วงเงิน 3,090,000 ล้านบาท กำหนดพื้นที่เป้าหมายดำเนินงานใน 10 จังหวัดภาคกลาง ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ นครปฐม พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี อ่างทอง ชัยนาท สิงห์บุรี และปทุมธานี ซึ่งเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่สำคัญของประเทศ โดยในปี 2564 พบว่า ผลผลิตประมงน้ำจืดในพื้นที่ภาคกลางสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ การดำเนินงานโครงการดังกล่าวในช่วงไตรมาสแรกมีความก้าวหน้าไปกว่า 36% มีผู้ประกอบการผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 14 กิจการ อาทิ ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลานิล ปลากะพง หอยเชลล์ ปลาดุก ปลาสลิด ปลาช่อน ปลากระดี่ เป็นต้น โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี แนะนำพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์จนได้สูตรและเข้าสู่กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์น้ำ

แปรรูปพร้อมทานออกสู่ตลาด อาทิ ผลิตภัณฑ์ปลาช่อน ปลาสลิดแดดเดียว พัฒนาไปเป็นปลาช่อนแม่ลาเค็มน้อย ผลิตภัณฑ์ปลานิลแดดเดียวพัฒนาไปเป็นน้ำพริกปลาย่างแห้ง ผลิตภัณฑ์ปลาเค็มรวนพร้อมทานพัฒนาไปเป็นซุปผักปลาก้อน ผลิตภัณฑ์ปลาหมึกกรอบปรุงรสพัฒนาไปเป็นสแน็กขอบหอยเชลล์ ผลิตภัณฑ์ปลาดุกเส้นทอดพัฒนาไปเป็นปลาดุกหยอง

ผลิตภัณฑ์ปลาช่อนแม่ลาแดดเดียวพัฒนาไปเป็นปลาช่อนแม่ลาแดดเดียวสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ปลาสลิดแดดเดียว ปลาสลิดทอดกรอบ น้ำพริกปลาสลิด พัฒนาไปเป็นสแน็กจากก้างปลาสลิด ข้าวเกรียบปลาสลิด และผลิตภัณฑ์ปลาร้า น้ำปลาร้า พัฒนาไปเป็นปลาร้าผงอัดก้อน เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการโดยตรงแล้ว ยังมีส่วนช่วยกระจายรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย

มั่นใจได้เลยว่าหากทุกอุตสาหกรรม หรือทุกกลุ่มผู้ประกอบการ สามารถนำเครื่องมือหรือช่องทางในการต่อยอดธุรกิจมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ จะส่งผลให้ธุรกิจนั้นๆ เพิ่มมูลค่าให้สูงมากขึ้น และสร้างความยั่งยืนของธุรกิจ รวมถึงสร้างโอกาสทางการตลาดโดยการเชื่อมโยงกับคู่ค้าและเพิ่มมูลค่าให้กับพื้นที่ในเขตจังหวัดนั้นๆ ได้แน่นอน.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า