กระพือแผนเคลียร์ ‘ขยะติดเชื้อ’

ขยะ ปัญหาเรื้อรังที่นับวันก็เริ่มจะทวีคูณมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการขยายตัวของสังคมเมืองก่อให้เกิดขยะในหลายรูปแบบ ทั้งขยะจากอาหาร ขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงขยะมูลฝอย จนเกิดเป็นปัญหายิบย่อยทางสังคม ทั้งสถาพสิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ ขณะเดียวกันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อโควิด-19 เองก็เป็นหนึ่งในต้นตอของปัญหาที่ปัจจุบันในสังคมมีขยะติดเชื้อตกค้างสะสมรอรับไปทำลายเป็นจำนวนมาก เกินกว่ากำลังที่สาธารณสุขจะดำเนินการได้

แม้ว่าปัญหาเก่าของขยะยังไม่สามารถแก้ไขได้เต็มประสิทธิภาพจากข้อจำกัดต่างๆ แต่เรื่องที่สังคมไทยจำเป็นจะต้องทำก่อนคือ การลดปัญหาของขยะติดเชื้อ ที่หากไม่มีการจัดการที่ถูกวิธีอาจจะส่งผลกระทบที่รุนแรงให้กับสังคมอีกทางก็เป็นได้ ด้วยเหตุนี้การทำงานแบบบูรณาการของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องผลักดันให้เกิดขึ้น!

ทั้งนี้ได้มีการประสานหารือกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาวิธีการและแผนงานเพื่อมาแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน จนเป็นที่มาของมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการอย่างเร่งด่วน ซึ่งทางด้านกระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงานที่มีเตาเผาและมีความพร้อมเพื่อรับขยะติดเชื้อไปกำจัดให้หมด

และหลังจากที่มีมติ ครม.ออกมา กระทรวงอุตสาหกรรมก็ได้เร่งรัดการแก้ไขปัญหาขยะติดเชื้อ โดยออกประกาศ ณ วันที่ 8 ต.ค.2564 เรื่องนโยบายการนำขยะมูลฝอยติดเชื้อมาเป็นเชื้อเพลิงในเตาเผาของโรงงานเป็นการชั่วคราว ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อให้เร่งดำเนินการนำขยะติดเชื้อไปเผาในโรงงานที่มีความพร้อมและมีศักยภาพ

โดย นายวันชัย พนมชัย อธิบดี กรอ. กล่าวว่า กรอ.เตรียมเร่งออกใบอนุญาตโรงงาน 3 ประเภท นำมูลฝอยติดเชื้อมาเป็นเชื้อเพลิงในเตาเผาของโรงงานเป็นการชั่วคราว เพื่อกำจัดขยะติดเชื้อที่สะสมและตกค้างรอการกำจัดเกินระบบอยู่ประมาณ 2,800 ตัน เนื่องจากขณะนี้มีโรงงานเพียง 1 แห่งที่ได้รับใบอนุญาต คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีโรงงานเข้ามาเพิ่มอีกรวมเป็น 10 โรงงาน เพื่อให้กระจายทั้ง 4 ภูมิภาค จะสามารถรองรับการกำจัดขยะติดเชื้อได้ 1,300 ตัน

สำหรับโรงงานทั้ง 3 ประเภทที่มาขออนุญาตกำจัดขยะติดเชื้อได้ชั่วคราว คือ 1.โรงงานเฉพาะโรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนหรือขยะอุตสาหกรรมหรือแบบผสมผสาน ทั้งแบบเผาตรงหรือใช้เชื้อเพลิงขยะมูลฝอย (อาร์ดีเอฟ), 2.โรงปูนซีเมนต์หรือโรงงานกำจัดของเสียเฉพาะที่กำจัดโดยกระบวนการเผา และ 3.โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงขยะชุมชนหรือขยะอุตสาหกรรมหรือแบบผสมผสาน ทั้งแบบเผาตรงและใช้เชื้อเพลิงอาร์ดีเอฟ

ซึ่งในตอนนี้มีโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตแห่งเดียว คือ โรงงานทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) สามารถรับขยะติดเชื้อมากำจัดได้ มีศักยภาพด้านเตาเผา 350 ตันต่อวัน และมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ยื่นขอใบอนุญาตรับกำจัดขยะติดเชื้ออีก 3 แห่ง เชื่อว่าจนถึงสิ้นปีจะได้ 10 แห่ง จะช่วยลดปริมาณขยะติดเชื้อที่ล้นระบบลง และรองรับการเปิดประเทศ

อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการดำเนินการตั้งแต่การคัดแยก รวบรวมบรรจุจัดเก็บ และซีลที่ต้นทาง ตลอดจนการขนส่ง กรมอนามัยจะเป็นผู้กำกับดูแลทั้งหมด และกระทรวงอุตสาหกรรมจะกำกับดูแลในขั้นตอนของการรับขยะติดเชื้อเข้าสู่เตาเผา ตลอดจนเผาตามหลักเกณฑ์ที่กรมอนามัยกำหนดอย่างเคร่งครัด

แม้ว่าสถานการณ์ขยะติดเชื้อมีแนวโน้มลดลงจากการคลี่คลายของโรคโควิด-19 ที่น่าจะทำให้สถานกักตัวทยอยปิดลง แต่การแก้ปัญหาขยะก็ยังไม่หมดอย่างแน่นอน เพราะภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลังจากนี้อาจจะต้องอาศัยกลไกการทำงานดังกล่าวไปช่วยแก้ปัญหาขยะอื่นๆ ในสังคมเพิ่มเติม เพื่อให้เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะเป็นเครื่องผลักดันให้ปัญหาขยะในประเทศไทยดีขึ้นก็เป็นได้...

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research