ผู้คนจำนวนหนึ่งยังปักหลักอยู่ในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของประเทศแม้จะกลายเป็นเป้าของการโจมตีอย่างหนักหน่วงตลอดกว่าหนึ่งเดือนของการบุกใหญ่ของรัสเซียก็ตาม
หนึ่งในนั้นคือ Veronika Melkozerova บรรณาธิการบริหารของ New Voice of Ukraine ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวภาษาอังกฤษ
เธอเขียนเล่าถึงบรรยากาศของกรุงเคียฟภายใต้ความเสี่ยงและความวุ่นวายของชีวิตชาวยูเครนอย่างเห็นภาพชัดเจน
เธอเล่าว่า ทุกเช้าจากหน้าต่างที่บ้านจะเห็นรถหลายร้อยคันเรียงราย เพื่อไปยังสะพานในบริเวณใกล้เคียงที่ทอดออกจาก Kyiv เพื่อหนีความตายที่ขยับมาใกล้ตัวทุกที
เกือบ 2 ล้านคนได้หนีออกจากเมือง Kyiv อันเป็นที่รักของเธอแล้ว
เธอเป็นหนึ่งในคนประมาณอีก 2 ล้านคนที่ยังอยู่ในเมืองหลวงที่กลายเป็นสมรภูมิรบอันน่าสยดสยอง
ชาวเคียฟกว่า 200 คนได้เสียชีวิตไปแล้ว
และกว่า 900 คนได้รับบาดเจ็บระหว่างการโจมตีของรัสเซียในเมืองที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลงเมื่อใด
รัสเซียได้ทำลายอาคารมากกว่า 70 แห่งในเคียฟ
เกือบทุกชั่วโมง ผู้คนจะได้ยินเสียงถล่มของปืนใหญ่ฝั่งยูเครนที่โจมตีตำแหน่งของรัสเซียทางตะวันตกเฉียงเหนือของเคียฟ
หรือไม่ก็เป็นเสียงของระบบป้องกันภัยทางอากาศของยูเครนยิงสวนขีปนาวุธของรัสเซียบนท้องฟ้า
ชาวบ้านเริ่มจะแยกออกว่าเสียงดังตูมตามๆ นั้นมาจากแหล่งใดและมีจุดประสงค์อันใด
แน่นอนว่า แม้จะเคยชินกับเสียงถล่มต่อเนื่อง แต่ก็หวังว่ามันจะไม่ใช่ขีปนาวุธที่จะหล่นลงมาบนที่พักของตน
หรือแฟลตของสมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และเพื่อนๆ ชาวเคียฟตื่นตกใจทุกคืน เพราะเสียงไซเรนหรือเสียงระเบิดตอนตี 4
“พอถูกปลุกด้วยเสียงระเบิดกลางดึก ฉันก็จะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาตรวจสอบว่ามีระเบิดไปลงเป้าหมายที่ไหนบ้างในคืนนั้น..."
ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน รัสเซียใช้ขีปนาวุธทำลายห้างสรรพสินค้า เคียฟและอาคารใกล้เคียง
มีคนตายไม่น้อยกว่า 8 ราย
มีคนถามเธอว่าทำไมยังไม่ออกจากเคียฟ ทั้งๆ ที่มันมีความเสี่ยงหนักขึ้นทุกวัน...และเธอมีทุกอย่างในชีวิตที่จะต้องปกปักรักษาเอาไว้
“ในวันแรกของสงคราม เพื่อนของฉันและนายจ้างบางคนจากต่างประเทศขอให้ฉันออกจาก Kyiv แต่ฉันตัดสินใจที่จะอยู่ ด้วยเหตุผลมากมายที่ฉันไม่สามารถระบุสาเหตุหลักได้...”
เหตุผลแรกคือเธอบอกว่าคนเราไม่เคยทิ้งคนที่ตนรัก
“และ Kyiv คือความรักของฉัน” วิโรนิกาเขียนเล่า
เพราะเคียฟเป็นที่เธอเกิดมาดูโลกครั้งแรกเมื่อ 31 ปีที่แล้ว
ปี 1991 เป็นปีที่ยูเครนได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียตกลับคืนมา
เป็นเมืองที่เธอพบสามีในอนาคตของเธอ
และเป็นเมืองที่เธอได้สร้างอาชีพด้านสื่อ
“ฉันทิ้งความทรงจำไว้บนถนนเกือบทุกสายของ Kyiv” เธอเขียนในรายงานตีพิมพ์ใน The Atlantic
นอกจากนั้นเคียฟยังเป็นเมืองที่มีการปฏิวัติสามครั้งเพื่อต่อต้านระบอบโปรโซเวียตหรือรัสเซีย
เป็นเมืองที่ชาวยูเครนโค่นล้มคนที่เธอเรียกว่า “ผู้นำหุ่นเชิดที่สนับสนุนรัสเซียที่ทุจริต”
และชาวยูเครนก็ลุกฮือขึ้นเพื่อขับไล่เขาออกนอกประเทศ
เธอหมายถึงอดีตประธานาธิบดี Viktor Yanukovych ที่ถูกโค่นในปีนั้นหลังการชุมนุมครั้งใหญ่
เธอย้ำว่าสิ่งสำคัญเกี่ยวกับ Kyiv คือเป็น “เมืองแห่งอิสรภาพ”
“เพราะที่นี่ คุณสามารถเป็นใครก็ได้ที่คุณต้องการ รักใครก็ได้ และรู้สึกมีความสุขถ้าคุณทำงานหนัก เคียฟยินดีต้อนรับชาวต่างชาติและชาวยูเครนจากเมืองอื่นๆ เสมอ...”
เคียฟเคยเป็นเมืองที่คึกคัก แต่วันนี้มีคนเหลือ 2 ล้านคนเท่านั้น
กลายเป็นเสมือนเมืองร้าง
บรรณาธิการคนนี้บอกว่ารัสเซียไม่สามารถปล่อยให้ Kyiv เป็นอิสระได้
เธอบอกว่าในการโฆษณาชวนเชื่อที่แสดงให้เห็นถึงการรุกรานนั้นยูเครน เครมลินอ้างว่ายูเครน “ไม่ใช่ประเทศที่แท้จริง แต่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ของรัสเซีย”
แต่ในความเห็นของเธอนั้น Kyiv เป็นเมืองอิสระ และมอสโกเป็นเมืองที่ตำรวจควบคุมและจักรวรรดินิยมที่ก้าวร้าว
“มอสโกเป็นเมืองที่ผู้คนกลัวที่จะแสดงออกถึงความคิดของตนเอง”
เป็นเมืองที่มีแต่คนที่เฝ้าดูขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจทุบตีผู้ประท้วงต่อต้านสงครามอย่างรุนแรง
“Kyiv เป็นเมืองที่ลุกขึ้นต่อต้านความรุนแรงของตำรวจในปี 2014 ระหว่างการปฏิวัติ Euromaidan”
วันนี้ในกรุงเคียฟและเมืองอื่นๆ ของยูเครน ผู้คนไม่กลัวที่จะยืนหยัดต่อสู้กับผู้บุกรุกชาวรัสเซียที่ติดอาวุธและพยายามหยุดรถถังด้วยมือเปล่า
แต่เธอก็ยอมรับว่าการตัดสินใจที่จะอยู่ใน Kyiv เธอไม่ได้คิดถึงแต่เรื่องประวัติศาสตร์และจิตวิญญาณ
“ขณะที่ชาวรัสเซียวางระเบิดโรงไฟฟ้าพลังความร้อนในละแวกของฉัน ฉันก็นึกถึงคุณยายและแม่ของฉัน คุณย่าของฉันอายุ 76 ปี และเธอบอกฉันว่าเธอไม่ต้องการออกจากอพาร์ตเมนต์ของเธอ เธอบอกว่าเธออยากตายที่นั่นมากกว่าในห้องใต้ดินที่สกปรก...”
สำหรับชาวยูเครนหลายพันคน ห้องใต้ดินสกปรกเหล่านั้นได้กลายเป็นบ้านใหม่แล้ว
“ฉันรู้ว่าคุณย่าของฉันจะไม่รอด ถ้าเราตัดสินใจเดินทางไกลเพื่อแสวงหาความปลอดภัยที่เมือง Lviv สามีของแม่ฉันเป็นมะเร็งและเขาไม่สามารถออกจากอพาร์ตเมนต์ได้...”
เธอเล่าว่า ชีวิตใน Kyiv กลายเป็นเรื่องเลวร้ายสำหรับผู้ที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้อย่างเต็มที่
เพราะผู้คนต้องใช้เท้าเพื่อไปไหนมาไหน เพราะการขนส่งสาธารณะเป็นสิ่งที่หายากยิ่ง
ทุกการเดินทางไปซื้อยาหรืออาหารง่ายๆ ล้วนกลายเป็นภาระหนักที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง
“เมื่อเร็วๆ นี้ ฉันต้องเข้าแถวที่ร้านขายยาเป็นเวลาสองชั่วโมง เพื่อซื้อยารักษาโรคหัวใจให้ย่าของฉัน ฉันเอาขวดสุดท้าย ตกใจหมด…”
ชีวิตใน Kyiv กลายเป็นเรื่องเลวร้ายสำหรับผู้ที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้อย่างเต็มที่
“คุณต้องใช้เท้าเดินทางไปไหนมาไหน เพราะการขนส่งสาธารณะเป็นสิ่งที่หายากในปัจจุบัน และทุกการเดินทางไปซื้อยาหรืออาหารง่ายๆ จะกลายเป็นภารกิจหนักและเสี่ยง...”
ที่น่ากลัวที่สุดคือคุณไม่รู้ว่าคุณจะยังมีชีวิตอยู่ถึงชั่วโมงหน้าหรือไม่!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ