โหยอดีต'แลนด์สไลด์'

ด่ากันขรม!

พรรคร่วมรัฐบาลกับ ส.ว.รวมหัว สกัดเพื่อไทย แลนด์สไลด์

วานนี้ (๓๐ มีนาคม) มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)

ไฮไลต์อยู่ที่การลงมติว่า เห็นควรคงความในมาตรา ๔ (แก้ไขเพิ่มเติม) ของร่าง พ.ร.ป.ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ

คือใช้ "บัตรเลือกตั้งคนละเบอร์" เลือก ส.ส.เขตเบอร์หนึ่ง ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์อีกเบอร์

หรือว่าจะแก้ไขตามร่างที่ "ชลน่าน ศรีแก้ว" จากพรรคเพื่อไทย เป็นผู้เสนอ

ใช้บัตรเลือกตั้งเบอร์เดียวกัน

องค์ประชุมทั้งหมด ๔๗ คน

เห็นด้วยกับคนละเบอร์ ๓๒ คน

โหวตใช้เบอร์เดียว ๑๔  คน

ผ่าไปดูเสียงกรรมาธิการที่โหวตให้ฝ่ายรัฐบาล มีสมาชิกวุฒิสภา ๑๔ เสียง คณะรัฐมนตรี ๗ เสียง พรรคพลังประชารัฐ ๕ เสียง พรรคภูมิใจไทย ๓ เสียง พรรคประชาธิปัตย์ ๑ เสียง พรรคชาติไทยพัฒนา ๑ เสียง และพรรคเศรษฐกิจไทย ๑ เสียง

ส่วน ๑๔ เสียงของฝ่ายค้าน ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย ๘ เสียง พรรคก้าวไกล ๓ เสียง พรรคเสรีรวมไทย ๑ เสียง รวมถึงเสียงที่แตกจากประชาธิปัตย์ ๒ เสียง

กรรมาธิการซีกรัฐบาลให้เหตุผล ต้องเป็น "คนละเบอร์กัน" เพื่อป้องกันไม่ให้ทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๐ ที่บัญญัติไว้ว่า…

"...พรรคการเมืองใดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว ให้มีสิทธิ ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้

การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ให้พรรคการเมืองจัดทําบัญชีรายชื่อพรรคละหนึ่งบัญชี โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งของแต่ละพรรคการเมืองต้องไม่ซ้ำกัน และไม่ซ้ำกับรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยส่งบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้คณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

การจัดทําบัญชีรายชื่อตามวรรคสอง ต้องให้สมาชิกของพรรคการเมืองมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย โดยต้องคํานึงถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่างๆ และความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง..."

ประเด็นอยู่ที่วรรคแรก

เสียงข้างมากในกรรมาธิการตีความว่า รัฐธรรมนูญมาตรา ๙๐ กำหนดให้การสมัคร ส.ส.เขตแล้วเสร็จ จึงสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อตามมาภายหลัง

ดังนั้นบัตรเลือกตั้ง ส.ส.เขตกับ ส.ส.บัญชีราย ใช้เป็นหมายเลขเดียวกันไม่ได้ เพราะสมัครกันคนละคราว

ครับ...ฟังขึ้นหรือไม่ แต่ทางพรรคเพื่อไทยฟันธง นี่คือแผนสกัดการชนะเลือกตั้งแบบถล่มทลายของพรรคเพื่อไทย

ที่จริงต้นตอทั้งหมดเกิดจากการกระเหี้ยนกระหือรือ แก้รัฐธรรมนูญของรัฐสภาก่อนหน้านี้  ใน ๓ ประเด็นหลักคือ

๑.เปลี่ยนระบบเลือกตั้งจากบัตรใบเดียวเป็นบัตรสองใบ

๒.ปรับจำนวนผู้แทนราษฎรเป็นผู้แทนราษฎรแบบเขตเลือกตั้ง ๔๐๐ เขต หรือ ๔๐๐คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ๑๐๐ คน

๓.การคำนวณจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อซึ่งมีอยู่ ๑๐๐ คนนั้น ให้นับคะแนนบัตรใบที่สองที่ลงคะแนนเลือกพรรค แล้วนำมาเทียบสัดส่วนกับผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่มีอยู่จำนวน ๑๐๐ คน เช่น ถ้าพรรคไหนได้คะแนนพรรค ๖๐% ก็จะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ๖๐ คน เป็นต้น

มีการเตือนตั้งแต่แรกแล้วว่าการแก้ไขที่ไม่รอบคอบพอ เมื่อนำไปใช้จะเกิดปัญหา นำไปสู่การส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความได้

การแก้เพียงไม่กี่มาตราเพื่อจะเปลี่ยนวิธีการเลือกตั้ง แต่รัฐธรรมนูญยึดโยงกันหลายมาตรา แก้มาตราหนึ่งไปกระทบกับอีกมาตราหนึ่ง ถ้าไม่แก้มาตราที่กระทบไปถึง ผลที่ตามมาคือ เมื่อนำไปใช้แล้วโอกาสขัดรัฐธรรมนูญมีสูงมาก

ก็เป็นเหตุให้กรรมาธิการซีกรัฐบาล ยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ ตัดไฟแต่ต้นลม กลับไปใช้บัตรเลือก ส.ส.เขตและ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์คนละเบอร์

ส่วนประเด็นที่พรรคเพื่อไทยโวยวายก็เป็นเรื่องจริง เพราะการเลือกตั้งยุคหนึ่ง ระบอบทักษิณ ชนะการเลือกตั้ง แลนด์สไลด์ ด้วยระบบเบอร์เดียวสองใบ ในการเลือกตั้งปี ๒๕๔๘

แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลทั้งหมดของการแลนด์สไลด์!

ไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งถล่มทลาย ในปีนั้นได้เก้าอี้ ส.ส.มากถึง ๓๗๗ ที่นั่ง จาก ๕๐๐ ที่นั่ง ถือเป็นประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่พรรคการเมืองพรรคเดียวชนะการเลือกตั้งได้ ส.ส.มากถึงขนาดนั้น

แต่ปัจจัยหลักการได้ ๓๗๗ ที่นั่ง มาจากการดูด ส.ส. การควบรวมพรรคการเมืองต่างหาก

การเลือกตั้งปี ๒๕๔๔ "ทักษิณ ชินวัตร" เป็นสินค้าการเมืองตัวใหม่ สร้างไทยรักไทยขึ้นมาด้วยการดูดมุ้ง ส.ส.จากหลายพรรคการเมือง ทำให้ไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งถล่มทลายครั้งแรก ได้ ส.ส.ถึง ๒๔๘ ที่นั่งคิดเป็น ๔๙.๖%

การอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ๔ ปีแรกของทักษิณ ได้วางแผนอยู่ต่ออีก ๔ ปี ด้วยการสร้างฐานการเมืองให้แข็งแกร่งขึ้น

สิ่งที่ทักษิณทำคือ กลืนพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคที่กั๊กครึ่งๆ กลางๆ

พรรคเสรีธรรม เป็นพรรคขนาดเล็กตัดสินใจยุบตัวเอง รวมกับไทยรักไทย หลังจากจบเลือกตั้งได้ไม่นาน

"ประจวบ ไชยสาส์น" หัวหน้าพรรคเสรีธรรม ให้เหตุผลว่า จะทำให้รัฐบาลมีอำนาจการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดสามารถบริหารงานได้เพียงพรรคเดียว

พรรคเสรีธรรม ไปเติมให้ไทยรักไทยมี ส.ส. ๒๖๑ ที่นั่ง กลายเป็นพรรคการเมืองเดียวมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภา 

ปีถัดมา พรรคความหวังใหม่ของ "พ่อใหญ่จิ๋ว" มี ส.ส. ๓๖ ที่นั่ง ติดสินใจยุบพรรค พา ส.ส. ๓๓ คนไปรวมกับไทยรักไทย

ไทยรักไทยมี ส.ส.เพิ่มเป็น ๒๙๔ ที่นั่ง

"พ่อใหญ่จิ๋ว" ให้เหตุผลว่าการเป็นขั้วที่ ๓ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเมืองของประเทศไทยไม่มีการพัฒนา และทำให้การแก้ไขปัญหาของชาติยืดเยื้อ ดังนั้นการรวมพรรคเพื่อทำให้ขั้วทางการเมืองชัดเจนก็จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

ปี ๒๕๔๗ พรรคชาติพัฒนามี ส.ส. ๒๙ คน ประกาศยุบพรรคไปรวมกับไทยรักไทย

ถึงตอนนี้ ไทยรักไทยมี ส.ส.ในมือถึง ๓๒๕ ที่นั่ง

ฉะนั้นไม่แปลกที่ผลการเลือกตั้งปี ๒๕๔๘ ไทยรักไทยจะได้เก้าอี้ ส.ส.มากถึง ๓๗๗ ที่นั่ง

แต่สถานการณ์การเมืองในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก

พรรคเพื่อไทย ไม่อยู่สถานะที่สามารถดูด ส.ส.หรือควบรวมพรรคการเมืองอื่นไปอยู่ในชายคาตัวเองได้

หนำซ้ำ "เจ๊หน่อย" แยกตัวออกไป กระเทือนถึงฐานเสียงใน กทม.

ฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยยังถูกแชร์ไปให้พรรคก้าวไกล การเลือกตั้งซ่อมเขตหลักสี่คือตัวอย่างที่สะท้อนประเด็นนี้ได้ดีที่สุด

ฉะนั้นต่อให้เลือกตั้งใช้บัตร ๒ ใบเบอร์เดียว อย่างที่พรรคเพื่อไทยต้องการ โอกาสชนะเลือกตั้งแลนด์สไลด์ก็แทบเป็นไปไม่ได้

หากพลังประชารัฐไม่แตก ประชาธิปัตย์สามารถยึดที่มั่นภาคใต้ได้ ภูมิใจไทยแบ่งเค้กภาคกลาง ภาคอีสานได้

ก็ยิ่งปิดประตูตาย

เลือกตั้งคราวที่แล้วเพื่อไทยได้ ส.ส. ๑๓๗ ที่นั่ง

ครั้งถัดไป ๑๗๐ เสียงก็ถือว่าเก่งมากแล้ว

ลืมเรื่องแลนด์สไลด์ไปได้เลย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ด.ญ.แพทองโพย'

ชอบครับ.... คำขวัญวันเด็กจากนายกรัฐมนตรีปีนี้ "...ทุกโอกาสคือการเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง..."

'นพดล' ฟังทางนี้! 'หมอวรงค์' จับโป๊ะ คำชี้แจง 'MOU 44'

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ถึงนพดล ปัทมะ" โดยระบุว่า คำพูดของนายนพดล ปัทมะ ที่ชี้แจงพันธมิตรฯ เรื่อง MOU 44

ผนงรจตกม.

รัฐบาลนี้แปลกครับ... บอกว่าข้างหน้ามีเหว อย่าเดินไป

จะเห็นปรากฏการณ์ใหม่

มวยถูกคู่จริงๆ "ทักษิณ-จตุพร" แค้นมันลึกจนปลายตีนไม่น่าจะหยั่งถึงแล้ว วิถีของทั้ง ๒ คน น่าจะบรรจบได้ยาก แต่จะเกิดปรากฏการณ์ใหม่ขึ้นมาแทน

'ทักษิณ' ภาคสุดท้าย

เป็นพื้นฐานของคนจริงๆ ครับ ความฉิบหายวายป่วงของรัฐบาลระบอบทักษิณช่วงปีที่ผ่านมา ไม่ใชเรื่องคนอื่นทำ หรือเกิดจากการกลั่นแกล้งแต่อย่างใด

พ่อนายกฯ ลั่นพรรคร่วมรัฐบาลต้องอยู่ด้วยกันจนครบเทอม

นายทักษิณ​ ชิน​วัตร​ อดีต​นายก​รัฐมนตรี​ ให้สัมภาษณ์ถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในปี 2568​ ว่า​ การเมืองคงไม่มีอะไร ยังเหมือนเดิม พรรคร่วมรัฐบาลก็เหมือนเดิม การที่ไม่เห็นด้วยกับอะไรกันบ้าง ก็เป็น