บทความนี้นำเสนอแนวคิดลากอิหร่านเข้าสงครามเย็นใหม่ เท้าความตั้งแต่ข้อตกลงนิวเคลียร์ ตัวแปรรัสเซีย
ประวัติความเป็นมาของ JCPOA :
ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ Joint Comprehensive Plan of Action (JCPOA) เป็นข้อตกลงพหุภาคี อิหร่านกับ P5+1 (หรือ E3+3) ได้แก่ สหรัฐสมัยโอบามา รัสเซีย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนี เป้าหมายคือนำโครงการนิวเคลียร์อิหร่านเข้าสู่การตรวจสอบของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) หน่วยงานสังกัดสหประชาชาติ ให้มั่นใจว่าโครงการนิวเคลียร์อิหร่านใช้ในทางสันติเท่านั้น
ภาพ: มุมหนึ่งของเพิร์ลฮาร์เบอร์ในวันนี้
เครดิตภาพ: https://unsplash.com/photos/y2nFNuX_JLk
เมื่อสงครามยูเครนใกล้ครบเดือน กองทัพรัสเซียค่อยๆ รุกคืบกินพื้นที่ ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี (Volodymyr Zelenskiy) เดินสายปราศรัยออนไลน์ร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐและพวก
จุดยืนของรัฐบาลเซเลนสกีคือทำสงครามต่อไป เรียกร้องขอให้นาโตตั้งเขตห้ามบิน (no-fly zone) คว่ำบาตรรัสเซียมากกว่านี้ และโยนความเสียหายไม่ว่าจะชีวิตคน บ้านเมืองที่พังทลาย ชาวยูเครนที่อพยพออกนอกประเทศไปแล้วกว่า 3.5 ล้านคนแก่รัฐบาลรัสเซีย
ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐกับรัสเซียขยับเข้าเป้าหมายที่ต้องการ น่าติดตามว่าเมื่อไหร่ประธานาธิบดีเซเลนสกีจะตื่นจากความฝัน ทำไมไม่ตื่นจากความฝันลมๆ แล้งๆ เสียที
ความฝันเรื่องเขตห้ามบิน:
หลายครั้งที่ประธานาธิบดีเซเลนสกีกล่าวว่าเขตห้ามบินจะช่วยรักษาชีวิตคนยูเครนได้หลายพันคน คำขอของตนจึงเป็นประโยชน์และไม่มากเกินไป
ถ้านาโตตั้งเขตห้ามบินจริงย่อมหมายความว่าเครื่องบินรบนาโตจะสู้กับเครื่องบินรัสเซีย ถ้ารัสเซียมีเครื่องบินรบ 500 ลำ นาโตต้องใช้หลายร้อยลำเช่นกัน คิดลงรายละเอียดมากขึ้น การครองน่านฟ้าจะต้องทำลายระบบต่อต้านอากาศยานของรัสเซียในยูเครน ต้องทำลายสนามบินที่รัสเซียใช้ซึ่งหมายถึงต้องทำลายสนามบินในประเทศรัสเซีย ในมุมกลับกันรัสเซียย่อมต้องทำลายสนามบินนาโตในยุโรป เรือบรรทุกเครื่องบินของกองเรือที่ 5 กับ 6 ของสหรัฐหรือไกลกว่านั้นคือยิงขีปนาวุธใส่สนามบินอเมริกาที่อยู่อีกฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติก
ดังนั้น เมื่อประธานาธิบดีเซเลนสกีร้องขอเขตห้ามบิน ต้องคิดลงรายละเอียดถึงขนาดนี้เป็นอย่างน้อย
ที่ผ่านมาสหรัฐเคยตั้งเขตห้ามบินในบางประเทศเช่น อิรักกับลิเบีย แต่ต้องเข้าใจว่าเป็นบริบทที่กองทัพอากาศสหรัฐเหนือกว่าประเทศเหล่านั้นมาก แต่รัสเซียไม่ใช่เช่นนั้น
ความจริงแล้ว รัฐบาลสหรัฐประกาศชัดหลายรอบแล้วว่าเขตห้ามบินจะเป็นต้นเหตุสงครามโลกครั้งที่ 3 (นาโตกับสหรัฐประกาศชัดตั้งแต่กองทัพรัสเซียยังไม่บุกยูเครนว่าศึกนี้ทหารยูเครนจะปะทะกับทหารรัสเซียเท่านั้น ทหารนาโตจะไม่ปะทะตรงกับรัสเซียอย่างเด็ดขาด) สอดคล้องกับที่ประธานาธิบดีปูตินกล่าวตั้งแต่ก่อนเริ่มสงครามว่าตนไม่กลัวทำสงครามกับประเทศใด เตือนว่าตนพร้อมทำสงครามโลกเสมอ 2 สัปดาห์ก่อนบุกยูเครน รัสเซียซ้อมรบสงครามนิวเคลียร์เต็มรูปแบบ แสดงให้เห็นว่าอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในสถานะพร้อมยิง
แต่เซเลนสกีดื้อดึง ยังร้องขอเขตห้ามบินไม่หยุด เหมือนคนที่พยายามยึดความฝันที่ไร้เหตุผล
ถ้าพูดเรื่องสงครามโลกครั้งที่ 3 สงครามนิวเคลียร์ล้างโลก ควรถามคนอเมริกัน คนฝรั่งเศสและอังกฤษ (เหล่าประเทศต้นแบบประชาธิปไตยโลก) ว่าเพื่อปกป้องเสรีภาพประชาธิปไตยของยูเครน ยินดีให้ลูกระเบิดนิวเคลียร์หล่นใส่บ้านตัวเองหรือไม่ ยินดีให้ลูกหลานพินาศพร้อมกับคนยูเครนหรือไม่
การร้องขออย่างไม่ลดละเหมือนคนมีความหวังว่าจะกลับมาเป็นฝ่ายเหนือกว่าทางอากาศ อาจสร้างความหวังแก่ชาวยูเครน แต่ในอีกมุมอาจตีความว่าเป็นความคิดไร้สาระ เป็นความฝันลมๆ แล้งๆ เหมือนคนไม่ใช้เหตุผล ไม่ยอมรับความจริง หลอกตัวเอง (และอาจหลอกคนอื่น) ไปเรื่อยๆ
ความฝันเรื่องเป็นสมาชิกนาโต:
กล่าวได้ว่า ต้นเหตุสงครามยูเครน-รัสเซียรอบนี้เกิดจากกระแสข่าวรัฐบาลยูเครนต้องการเป็นสมาชิกนาโต รัฐบาลปูตินตีความว่าเป็นการละเมิดเส้นต้องห้าม (red line) ที่ประกาศซ้ำหลายปีแล้ว ก่อนเปิดศึกรัฐบาลรัสเซียเตือนครั้งแล้วครั้งเล่า แสดงออกหลายเดือนด้วยการระดมกองทัพนับแสนประชิดชายแดน ซ้อมรบแล้วซ้อมรบอีก แต่รัฐบาลเซเลนสกีไม่เปลี่ยนความตั้งใจ
ถ้าคิดอย่างคนใช้ตรรกะ ตั้งแต่ก่อนเกิดสงครามนาโตกับรัฐบาลไบเดนพูดซ้ำหลายรอบว่า นาโตป้องกันประเทศที่เป็นสมาชิกเท่านั้นและจะไม่ทำสงครามกับรัสเซียโดยเด็ดขาด ข้อนี้ให้ความเข้าใจว่าทันทีเมื่อกองทัพรัสเซียบุกยูเครน โอกาสการเป็นสมาชิกนาโตของยูเครนเท่ากับศูนย์ ตลกร้ายคือหลังสงครามผ่านไปได้ครึ่งเดือนเซเลนสกีจึงเริ่มพูดว่าเห็นทีต้องยอมรับว่าไม่อาจเป็นสมาชิกนาโตแล้ว
แปลกแต่จริงที่ผู้นำยูเครนยังคิดเรื่องการเป็นสมาชิกนาโต สัปดาห์ก่อนเซเลนสกีกล่าวว่ายูเครนจะไม่ถูกรุนรานถ้าเป็นสมาชิกนาโต ดูเหมือนว่าท่านผู้นำยังงงๆ กับเหตุผลที่รัสเซียบุกยูเครน
ล่าสุด การประชุมสุดยอดผู้นำนาโตนัดพิเศษเมื่อวันที่ 24 มีนาคม นาโตไม่เอ่ยเรื่องรับยูเครนเป็นสมาชิกและไม่ได้พูดเรื่องสร้างเขตห้ามบิน
ฝันลมๆ แล้งๆ ของเซเลนสกี:
ในความเป็นผู้นำประเทศ ย่อมต้องพยายามให้ตนเป็นฝ่ายชนะสงคราม แต่การคิดที่ขาดตรรกะ ไม่พิจารณาความเป็นไปได้ ความต้องการของรัฐบาลยูเครนกลายเป็น “ความฝันลมๆ แล้งๆ”
คิดให้ไกลว่านั้น ผู้เป็นประธานาธิบดีไม่จำต้องรู้ทุกเรื่อง เชี่ยวชาญทุกด้าน แต่รัฐบาลมีกระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ มีนายพลเสนาธิการ นักการทูตผู้เชี่ยวชาญสามารถให้คำปรึกษาที่ถูกต้องตามหลักวิชา ควรจะได้คำตอบว่านาโตจะไม่สร้างเขตห้ามบินและไม่อาจเป็นสมาชิกนาโต แต่ประธานาธิบดีเซเลนสกีเหมือนคนที่ไม่เข้าใจ ไม่ยอมเข้าใจ (เพิ่งมาพูดในเชิงยอมรับคงไม่ได้เป็นสมาชิกนาโตหลังสงครามดำเนินไปแล้วกว่าครึ่งเดือน)
ถ้าคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เซเลนสกีควรยอมรับตั้งแต่ก่อนสงครามว่าศึกนี้เป็นการปะทะทางทหารระหว่างยูเครนกับรัสเซียเท่านั้น รัฐบาลสหรัฐกับพวกจะไม่ยอมปล่อยให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ทหารอเมริกันกับพวกจะไม่บาดเจ็บล้มตาย บ้านเมืองจะไม่พังพินาศอย่างยูเครน เซเลนสกีชอบอ้างประวัติศาสตร์และพูดถึงเพิร์ลฮาร์เบอร์ น่าจะเข้าใจว่าตั้งแต่เพิร์ลฮาร์เบอร์โดนถล่มในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐทำสงครามอีกหลายครั้งแต่ไม่มีครั้งใดที่เกิดบนแผ่นดินอเมริกาเลย
บรรดารัฐบาลประชาธิปไตยทั้งหลายต่างย้ำว่ารัฐบาลมุ่งมั่นให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มั่นคงปลอดภัย เสียงประชาชนเรียกร้องสิ่งเหล่านี้ ผู้นำยูเครนควรเข้าใจและยึดถือข้อนี้เช่นกัน ส่วนที่รัฐบาลชาติตะวันตกสนับสนุนให้ยูเครนยืนหยัดต่อสู้กับทรราชย์เพื่อโลกเสรีประชาธิปไตย ต้องเข้าใจด้วยว่าไม่เกินกรอบที่วางไว้
ผลที่เกิดขึ้นเมื่อสงครามลากยาว:
ดังที่ได้นำเสนอแล้ว สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐได้จากสงครามยูเครนคือปิดล้อมรัสเซียเข้มข้นกว่าเดิมตามยุทธศาสตร์ของอเมริกา รัฐบาลไบเดนมีเหตุผลความชอบธรรมที่จะคว่ำบาตรรัสเซียเข้มข้นขึ้น ข้อต่อมาคือรัฐบาลสหรัฐกระชับอำนาจในยุโรป แสดงบทบาทผู้นำนาโต เพิ่มทหารกับเครื่องบินรบเข้ายุโรปหลายประเทศ และที่สำคัญคือได้โหมกระแสสงครามเย็นใหม่ ความเป็นปรปักษ์ระหว่างมหาอำนาจสหรัฐกับรัสเซียและจีนเพิ่มขึ้นเด่นชัด ความเป็นสงครามเย็นใหม่ชัดเจนขึ้น ข้อสุดท้ายนี้เป็นยุทธศาสตร์แม่บท (Grand Strategy)
การที่รัฐบาลสหรัฐกับพวกช่วยกันส่งอาวุธเครื่องกระสุนแก่ยูเครนรอบแล้วรอบเล่า นอกจากช่วยเรื่องกำลังใจแล้วยังทำให้ศึกนี้ยืดเยื้อ ทั้งรัสเซียกับยูเครนจะเสียหายมากขึ้นตามเวลาที่ยืดเยื้อออกไป
อนาคตของชาวยูเครนหลายสิบล้านดูเหมือนสิ้นหวังไม่แน่นอน เป็นไปได้ว่ารัฐบาลเซเลนสกีอาจกลายเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นถ้าการเจรจาสันติภาพล้มเหลว แต่ความสูญเสียของยูเครนช่วยให้รัฐบาลสหรัฐบรรลุเป้าหมายของตนมากขึ้น (ได้แก่ ปิดล้อมรัสเซียเข้มข้นกว่าเดิม กระชับอำนาจในยุโรป ได้ขายน้ำมันก๊าซธรรมชาติ และโหมกระแสสงครามเย็นใหม่) ด้านรัฐบาลปูตินยืนยันทำศึกต่อ ชี้ว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการเช่นกันแม้ต้องจ่ายราคาไม่น้อย
ความฝันของเซเลนสกีเป็นเรื่องลมๆ แล้งๆ ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐกับรัสเซียขยับเข้าเป้าหมายที่ต้องการ น่าติดตามว่าเมื่อไหร่ประธานาธิบดีเซเลนสกีจะตื่นจากความฝัน ทำไมไม่ตื่นจากความฝันลมๆ แล้งๆ เสียที แค่ประกาศวางตัวเป็นกลางเหมือนบางประเทศ เช่น ฟินแลนด์ ออสเตรียเท่านั้นเอง
สัปดาห์ก่อนประธานาธิบดีเซเลนสกีมีแผนให้คนยูเครนทำประชามติในข้อตกลงใดๆ ที่ทำกับรัสเซีย อันที่จริงหากคิดเรื่องทำประชามติเพื่อสันติภาพควรคิดเรื่องนี้ก่อนนำประเทศให้กลายเป็นสนามรบ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัสเซียถล่มยูเครน ไม่เว้นแม้วันคริสต์มาส
รัสเซียยังโจมตียูเครนทางอากาศครั้งใหญ่แม้ในวันคริสต์มาส เมื่อเช้าวันพุธ โอเลคซานเดอร์ โปรคูดิน-ผู้ว่าการแคว้นเคอร์ซอน ทางตอนใต้ของยูเค
ประธานาธิบดีปูตินขู่เอาคืนยูเครน หลังเหตุโจมตีในคาซาน
หลังจากโดรนโจมตีเมืองคาซาน ทางตอนกลางของรัสเซีย ประธานาธิบดีปูตินขู่จะตอบโต้ ในเบื้องต้นยูเครนยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการโจมตีดั
'หลานม่า' คว้า 2 รางวัล จากเทศกาลภาพยนตร์รัสเซีย
‘หลานม่า’ ภาพยนตร์ จาก GDH ได้รับ 2 รางวัล จากเทศกาลภาพยนตร์ จากรัสเซีย ‘KinoBravo International Film Festival 2024’ ได้แก่ นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม (Best Actress) ยายแต๋ว-อุษา เสมคำ นักแสดงนำผู้รับบท อาม่าเหม้งจู รางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยม (Best Cinematography) ก๊อย-บุญยนุช ไกรทอง ผู้กำกับภาพ
จากฮาเฟซ อัลอัสซาดสู่จุดเริ่มอาหรับสปริงซีเรีย
อำนาจการปกครองเป็นของคนส่วนน้อย คนกลุ่มนี้แหละที่ได้รับประโยชน์ ทิ้งให้ประชาชนจำนวนมากอยู่ตามมีตามเกิด อำนาจนี้เปลี่ยนมือไปมาจนมาถึงระบอบอัสซาดที่อยู่ได้ 2 ชั่วคน คือพ่อกับลูก
จับ 'หนุ่มออสเตรีย' ขับเจ็ตสกี ชนนักท่องเที่ยวรัสเซียดับ
เมื่อเวลา 21.30 น. วันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมา สภ.กะรน เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2567 เวลาประมาณ 19.00 น. สถานีตำรวจภูธรกะรน