ขยายเวลาให้โอกาสแบงก์?

ท่ามกลางสถานการณ์ความวุ่นวายของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้เกิดผลกระทบมายังภาคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มอุตสาหกรรมหลักอย่างรถยนต์ หรือเหล็ก รวมไปถึงภาคพลังงานที่ดันราคาผันผวนในระดับสูงมามากกว่าสามเดือน จนเมื่อไม่นานมานี้ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกเพิ่มขึ้นเกิน 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลไปแล้ว เพราะแบบนี้จึงส่งผลให้ราคาขายปลีกในประเทศไทยที่ถือว่าเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันนั้นได้รับผลกระทบไปเต็มๆ ไม่ว่าจะเป็นราคาดีเซลหรือเบนซินที่ตอนนี้สูงจนเกินที่จะรับไหว

ในขณะที่รัฐบาลเองก็ออกมาตรการมาอย่างเข้มข้น เพื่อที่จะดูแลราคาน้ำมันโดยเฉพาะในกลุ่มดีเซลที่ปัจจุบันแบกรับภาระอย่างหนักหน่วงอยู่ ไม่ว่าจะเป็น การนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เดิมเก็บเข้ากองทุนจากการเติมน้ำมัน แต่ปัจจุบันดึงออกมาอุดหนุนให้กับผู้ที่เติมน้ำมันต่อลิตร ซึ่งปัจจุบันจากที่เคยมีเงินสะสมก็เริ่มลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดจำเป็นต้องพึ่งพาการกู้เงินตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนดวงเงินไม่เกิน 3 หมื่นล้านบาท รวมเงินกู้ตาม พ.ร.ฎ. 1 หมื่นล้านบาท

ซึ่งสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) เป็นผู้ดำเนินการ แต่ปัจจุบันได้อนุมัติให้กู้รอบแรกไปแล้ว 2 หมื่นล้านบาท และเปิดให้สถาบันการเงินโดยเฉพาะของรัฐเข้ามาร่วม แต่..ล่าสุด สกนช.ได้ขยายเวลาให้สถาบันการเงินเสนอเงื่อนไขประมูลการปล่อยเงินกู้ เดิมกำหนดยื่นภายใน 31 ม.ค.65 ให้เลื่อนออกไปเป็น 31 มี.ค.นี้ เพื่อเปิดกว้างให้ทุกสถาบันการเงินทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาเสนอมากขึ้น และยังมั่นใจว่าจะมีสถาบันการเงินมาเสนออย่างแน่นอน ซึ่งจะเป็นไปตามเป้าหมายว่าจะได้รับเงินภายในเดือน เม.ย.2565 โดยย้ำว่าขณะนี้ยังไม่มีสถาบันการเงินไหนแจ้งว่าจะยกเลิกแต่อย่างใด

เมื่อมาพิจารณาดูจากมติดังกล่าว อาจจะพูดได้ว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากพอสมควรที่สถาบันการเงินจะปล่อยให้กู้เงินก้อนใหญ่ได้ในช่วงเวลานี้ แต่จากการยืนยันของ สกนช.และรัฐบาลที่สร้างความเชื่อมั่นว่าจะสามารถยื้อสถานการณ์ไว้ได้ และเยียวยาจนกลับมาปกติในที่สุด ซึ่งฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 20 มี.ค.2565 ติดลบ 32,831 ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีน้ำมัน ติดลบ 4,028 ล้านบาท และบัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 28,803 ล้านบาท จำนวนเงินฝากที่กระทรวงการคลังและสถาบันการเงินมีจำนวน 16,500 ล้านบาท สภาพคล่อง ณ วันที่ 22 มีนาคม 2565 กลุ่มน้ำมันมีรายจ่ายวันละ 546.12 ล้านบาท กลุ่มก๊าซ LPG มีรายจ่ายวันละ 87.18 ล้านบาท

ด้าน วิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการ สกนช.ออกมากล่าวว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงมีบทบาทหลักในการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศในช่วงที่เกิดวิกฤตด้านราคาพลังงาน โดยยังมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะเข้าไปชดเชยเพื่อให้น้ำมันดีเซลอยู่ที่ระดับราคาไม่เกิน 30 บาท/ลิตร และล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้ออกมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนในหลายด้าน โดยจะใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปช่วยลดผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซ LPG ให้ไม่ขึ้นสูงเกินไป

โดยพิจารณาตามสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกเดือน มี.ค.2565 ซึ่งยังคงมีความผันผวนเนื่องจากความขัดแย้งของรัสเชีย-ยูเครน ที่ราคาน้ำมันดูไบอยู่ที่ 111.15 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ราคาเบนซินอยู่ที่ 133.22 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ราคาดีเซลอยู่ที่ 139.51 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล

อย่างไรก็ตาม ก็ต้องจับตาอย่างเข้มข้นต่อไปเพราะหากราคาน้ำมันตลาดโลกยังผันผวนอย่างต่อเนื่องก็อาจจะส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกหนักกว่านี้ ส่วนด้าน ครม.เองก็ได้มีการเห็นชอบร่างแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2563-2567 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติงานในเรื่องหลักเกณฑ์การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยต้องมีจำนวนเงินเพียงพอเพื่อใช้ในการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2562

ซึ่งมีมติการปรับกลยุทธ์การถอนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (Exit Strategy) โดยเมื่อฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้ติดลบ หากระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังอยู่ในระดับวิกฤตจนส่งผลให้ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ ให้เริ่มดำเนินกลยุทธ์ถอนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงโดยปรับลดการช่วยเหลือลง ถ้าถึงจุดนั้นจริงๆ อาจจะเรียกว่าวิกฤตได้เต็มปากแน่นอน.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า