สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานผ่านไปกว่า 3 สัปดาห์แล้ว และแม้ว่าบรรยากาศการสู้รบจะยังเกิดขึ้นต่อเนื่องระหว่างสองชาติ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็มีการเปิดทางเจรจากันเพื่อยุติการใช้กำลัง
แต่ในเมื่อยังไม่มีข้อสรุปชัด ก็ยังคงส่งผลไปยังเรื่องของราคาพลังงานและต้นทุนสินค้าบางอย่างที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และวิกฤตนี้ถือเป็นวิกฤตระดับโลก อีกทั้งไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น
อย่างประเด็นเรื่องของราคาพลังงาน ซึ่งถือเป็นต้นทุนหลักของการประกอบธุรกิจ เมื่อราคาพลังงานแพงก็กระทบไปยังราคาสินค้าต่างๆ อีกเพียบ และถึงแม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลจะพยายามรักษาระดับราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้แพงเกิน 30 บาท ซึ่งมีทั้งการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และการใช้กลไกของกองทุนน้ำมันฯ เข้าไปดูแล แต่แนวทางดังกล่าวก็ไม่ใช่การแก้ปัญหาระยะยาว โดยเฉพาะเรื่องการอุ้มราคาน้ำมันที่ทำให้ขณะนี้ กองทุนน้ำมันฯ มีภาระติดลบ 23,986 ล้านบาท
ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 มี.ค.2565 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการแก้ปัญหาราคาพลังงาน ซึ่งนายกฯ ระบุว่า ขณะนี้รัฐบาลพยายามที่จะตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 ต่อลิตรไปก่อน ขณะที่ราคาจริงของน้ำมันดีเซลยังสูงกว่าที่รัฐบาลตรึงราคาไว้
"ที่ผ่านมาได้ใช้งบประมาณจากกองทุนพลังงานมาช่วยดูแลเรื่องนี้ซึ่งก็ติดลบอยู่ในปัจจุบัน จึงต้องหาเงินในส่วนอื่นเข้ามาเติมในส่วนนี้ ซึ่งรัฐบาลต้องพิจารณาสถานการณ์ราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่องใกล้ชิดเพื่อกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไป"
อย่างไรก็ดี ก็อาจมีการพิจารณามาตรการอื่นเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางและผู้มีรายได้น้อย โดยกำลังมีการพิจารณาช่วยเหลือเบื้องต้นผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทั้งการบรรเทาผลกระทบราคาก๊าซหุงต้ม LPG ให้กับกลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ การช่วยเหลือค่าก๊าซหุงต้ม LPG สำหรับกลุ่มร้านอาหารและเครื่องดื่มที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง การดูแลช่วยเหลือค่าไฟฟ้า การช่วยราคาน้ำมันเบนซินสำหรับกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้าง
พร้อมทั้งจะขอความร่วมมือผู้ค้า NGV ช่วยตรึงราคาก๊าซ NGV ในช่วงวิกฤตพลังงานไปก่อน พร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคให้เกิดความเป็นธรรม
ด้าน สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) ซึ่งทำหน้าที่บริหารจัดการราคาพลังงาน ก็กำลังปรับแผนการช่วยเหลือที่จะต้องลดภาระที่่ทางกองทุนต้องแบกรับมากเกินไป
เบื้องต้นกำลังหารือกับกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแนวทางแยกการอุดหนุนน้ำมันดีเซลเกรดพรีเมียมหรือเอ็กซ์ตร้าที่ใช้ในกลุ่มผู้ใช้รถราคาแพงออกจากการอุดหนุนราคาดีเซลพื้นฐาน (ปัจจุบันคือ B5) เป็นน้ำมันพื้นฐานที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม ภาคขนส่งและภาคเกษตร ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาไว้ไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร เพราะมองว่ากลุ่มที่ใช้น้ำมันประเภทนี้จะเป็นคนที่มีฐานะและดูแลตัวเองได้
รวมถึงยังมีแผนสำรองหากราคาน้ำมันดิบตลาดโลกเปลี่ยนแปลงผันผวนอยู่ในระดับสูงอีก อาจจะต้องใช้กลไกของการใช้งบกลาง จากรัฐบาลและ ปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันลงอีก
และถึงที่สุดถ้าไม่ไหวก็อาจจะต้องยอมลดแผนการช่วยเหลือ โดยจะปล่อยให้ราคาน้ำมันดีเซลมีการปรับขึ้นในระดับที่ไม่กระชากมากเกินไปจนเกิดภาวะตื่นตระหนก เช่น ดีเซลราคาไม่เกิน 30 บาท/ลิตร อาจปรับขึ้น 50 สตางค์/ลิตร เป็น 30.50 บาท/ลิตร หรือการปรับเป็นสเต็ป
จากนี้คงต้องจับตาการบริหารจัดการของภาครัฐว่าจะรับมือกับสถานการณ์ราคาพลังงานนี้อย่างไร.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research