ก่อนหน้านี้หลายฝ่ายต่างประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างดีอีกครั้ง หลังจากเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้นจากแรงส่งสำคัญอย่าง “ภาคการส่งออก” และ “ภาคการท่องเที่ยว” ที่กลับมาฟื้นตัวได้ แต่ในช่วงที่ผ่านมาก็มีหลายปัจจัยสำคัญที่เข้ามากดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงสถานการณ์ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ที่ถีบตัวสูงขึ้น จากผลกระทบของราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีสาเหตุหลักๆ มาจากความขัดแข้งของรัสเซียและยูเครน ที่กดดันให้ราคาน้ำมันทั่วโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน
"KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร" ได้ออกรายงาน เศรษฐกิจไทยเปราะบางแค่ไหนเมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้น จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่มีโอกาสยืดเยื้อ และประเทศตะวันตกอาจจะใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเพิ่มเติม รวมถึงมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกพลังงาน ทำให้ KKP Research ประเมินว่า ราคาน้ำมันจะแตะระดับสูงสุดที่ค่าเฉลี่ย 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในไตรมาส 2/2565 และราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีที่ 110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งความไม่แน่นอนดังกล่าวจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นและเงินเฟ้อที่สูงขึ้น อาจจะกระทบทำให้การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกลดลงอีกด้วย!!
สำหรับเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบคือ ในช่วงไตรมาส 2/2565 เงินเฟ้อคาดว่าจะแตะระดับสูงสุดที่ 5.5% ทำให้กำลังซื้อของประชาชนลดลง ขณะที่ภาคการส่งออกอาจจะชะลอตัวลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงเช่นกัน โดยเศรษฐกิจยุโรปจะรับผลกระทบหนักกว่าภูมิภาคอื่น เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจรัสเซียมาก ส่วนภาคการท่องเที่ยวนั้น นักท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบจากการเปิดประเทศที่ทำได้ช้ากว่าที่คาด และเศรษฐกิจยุโรปที่ได้รับผลกระทบ นับเป็นตลาดการท่องเที่ยวที่สำคัญของไทย
KKP Research ได้ประเมินภาพในกรณีเลวร้ายว่า มีโอกาสที่มาตรการคว่ำบาตรอาจจะรุนแรงมากขึ้น จนส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยทั้งปีที่ 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และมีความเสี่ยงที่จะเกิดการขาดแคลนสินค้าโภคภัณฑ์ และเศรษฐกิจโลกอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยมากขึ้น ซึ่งจะดันให้อัตราเงินเฟ้อของไทยปรับตัวสูงขึ้นเป็น 5.1% ในขณะที่เศรษฐกิจไทยอาจจะเติบโตได้เพียง 2.7% เท่านั้น
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อไทยมากกว่าประเทศอื่น เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยมีการพึ่งพาการใช้น้ำมันสูงไม่ต่างจากในอดีต ขณะที่ทั่วโลกมีแนวโน้มลดลง สะท้อนจากตัวเลขอัตราการบริโภคพลังงานต่อจีดีพี หรือ Energy Intensity ที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้พลังงานเพื่อการผลิตสินค้าและบริการ ด้วยเหตุนี้ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น เศรษฐกิจไทยจึงเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงและอ่อนไหวต่อปัจจัยภายนอกค่อนข้างมาก
“ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่นำเข้าพลังงานสุทธิมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาค ทำให้เมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้น ไทยจำเป็นต้องจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อนำเข้าน้ำมัน ซึ่งส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลเพิ่มเติมได้มาก โดยทุกๆ 10% ของราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยขาดดุลเพิ่มเติมประมาณ 0.3-0.5% ของจีดีพี หรือเทียบเท่ากับตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 1-1.6 ล้านคน”
สำหรับราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง อาจทำให้ภาครัฐต้องลดระดับการอุดหนุนราคาน้ำมัน และปล่อยราคาน้ำมันขึ้นบางส่วน โดย KKP Research ประเมินว่า หากไม่มีการอุดหนุนเลย ราคาน้ำมันดีเซลอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 38-40 บาทต่อลิตร จากที่ตรึงไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร ราคาก๊าซ LPG อาจปรับเพิ่มขึ้นเป็น 430 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม จากที่รัฐตรึงไว้ที่ 313 บาท ขณะที่ราคาค่าไฟฟ้าและราคาสินค้าอื่นๆ ที่เป็นสินค้าควบคุมก็มีโอกาสที่จะปรับสูงขึ้นตามต้นทุนด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดี KKP Research ได้มีการปรับคาดการณ์การเติบโตของตัวเลขเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปี 2565 ในกรณีฐานเหลือ 3.2% จากคาดการณ์เดิมที่ 3.9% โดยประเมินว่าความไม่แน่นอนต่อภาพแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อมีสูงขึ้นมาก จากผลกระทบของสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน พร้อมทั้งได้ปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีเพิ่มเป็น 4.2% จากคาดการณ์เดิมที่ 2.3% จากต้นทุนราคาพลังงานและต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น.
ครองขวัญ รอดหมวน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research