เงินเฟ้อ ปัญหาหนักอกของรัฐบาล

หลังจากเหตุการณ์การสู้รบระหว่างยูเครน-รัสเซีย ยืดเยื้อมาเกือบ 2 สัปดาห์ ทำให้ทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์ที่เป็นวิกฤตซ้อนวิกฤต คือ วิกฤตไวรัสโควิด-19 วิกฤตเงินเฟ้อ และวิกฤตสงครามยูเครน-รัสเซีย ได้ส่งผลกระทบราคาพลังงานโลก

คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้น อาจจะเห็นตัวเลขราคาน้ำมันโลกที่ 120 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ปัจจุบันน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 106.58 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เบรนต์ 118.11 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และเวสต์เทกซัส 110.07 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล น้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าและขนส่ง ก็จะทำให้ราคาสินค้าและค่าขนส่งยิ่งแพงขึ้น กระทบทั้งค่าครองชีพและภาคการส่งออก รวมทั้งสภาวะเงินเฟ้อที่มาพร้อมกับเงินฝืดจะส่งผลต่อเศรษฐกิจทั้งในระดับครอบครัวและมหภาค

ก่อนหน้านี้  นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาคเอกชนและหอการค้าไทยได้ติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนอย่างใกล้ชิด พร้อมประเมินว่าจะส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น โดยทุก 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลจะทำให้ราคาน้ำมันในไทยปรับขึ้น 50 สตางค์ต่อลิตร หากเกิดสงคราม คาดว่าราคาน้ำมันจะปรับขึ้นถึง 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือจะกระทบต่อราคาน้ำมันในประเทศถึง 6 บาทต่อลิตร

จากตัวเลขคาดการณ์ที่ออกมาย่อมส่งผลกระทบต่อความเดือดร้อนของประชาชนอย่างแน่นอน สะท้อนได้จากเรื่องของเงินเฟ้อ ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ของกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือน ก.พ.2565 เท่ากับ 104.10 เทียบกับ ม.ค.2565 เพิ่มขึ้น 1.06% เทียบกับเดือน ก.พ.2564 เพิ่มขึ้น 5.28% สูงสุดในรอบ 13 ปี นับจากปี 2551

ส่วนเงินเฟ้อรวม 2 เดือนปี 2565 (ม.ค.-ก.พ.) เพิ่มขึ้น 4.25% และเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักอาหารสดและพลังงานที่มีความผันผวนด้านราคาออก ดัชนีอยู่ที่ 102.20 เพิ่มขึ้น 1.20% เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.2565 และเพิ่มขึ้น 1.80% เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.2564 และรวม 2 เดือนเพิ่มขึ้น 1.16%

เห็นได้ชัดว่า ตัวเลขเงินเฟ้อนั้นเพิ่มสูงถึง 5% ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ปกติ เพราะยิ่งมีเงินเฟ้อมาก หมายความว่าค่าของเงินจะลดลง หรือในอีกทีทางหนึ่งก็คือ จะกลายเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชนมากขึ้น โดยเงินเฟ้อจะไปกระทบต่อชีวิตของคนชั้นกลางและคนรากหญ้าที่หาเช้ากินค่ำ

และเงินเฟ้อในครั้งนี้ไม่สามารถใช้กลไกดอกเบี้ยมาจัดการได้ เพราะไม่ได้เป็นเงินเฟ้อที่มาจากเศรษฐกิจเติบโต ดังนั้นสิ่งที่ตามมาจากการประเมินในครั้งนี้ พอสินค้าแพงและคนไม่มีกำลังจะซื้อ ก็จะเริ่มวางแผนควบคุมค่าใช้จ่าย และนำไปสู่ภาวะเงินฝืดตามมา ซึ่งก็จะถือเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่งที่สามารถจะเกิดขึ้นได้

ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดภาวะวิกฤตซ้ำซ้อน ในเมื่อรัฐไม่สามารถที่จะควบคุมราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ สิ่งที่รัฐบาลพอจะทำได้คือ การดูแลราคาสินค้าไม่ให้ฉวยโอกาสขึ้นราคา รวมถึงการจะต้องดำเนินนโยบายเพิ่มกำลังซื้ออีกครั้ง แต่จะต้องโฟกัสให้กลุ่มคนมีเงินนำเงินออกมาใช้ ลำพังแค่คนละครึ่งก็ช่วยได้เฉพาะกลุ่มคนชั้นกลางและล่างเท่านั้น

ขณะเดียวกันก็อาจจะต้องพิจารณากู้เงินเพิ่มเติมขึ้นมาอีกเพื่อมาใช้ประคองธุรกิจ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกแนวทางที่รัฐบาลพอจะดำเนินการได้ แม้จะต้องเจอกับปัญหาหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นก็ตาม

ส่วนราคาน้ำมันที่คาดว่าจะผันผวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะใช้การสนับสนุนที่เฉพาะจุดกับคนที่ทำธุรกิจขนส่งมากขึ้น ไม่ใช่ให้แบบเหมารวม ซึ่งจะช่วยโฟกัสและไม่เป็นภาระงบประมาณมากเกินไป

ทั้งหมดคงจะต้องติดตามการแก้ปัญหาของรัฐบาลอีกครั้งว่าจะจัดการอย่างไร.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า