สถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ต่อเนื่องจากปี 2563 ถึงปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และสังคมในภาพรวม แต่ที่ผ่านมาได้ทำให้เห็นภาพความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ในการร่วมแรงร่วมใจ เพื่อฝ่าวิกฤติโรคระบาดครั้งนี้ ให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม เดินหน้าต่อไปได้
“โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” หรือ อีอีซี ซึ่งครอบคลุม 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง นับเป็นหนึ่งในพื้นที่อุตสาหกรรมการลงทุนที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะพื้นที่ อ.บ้านฉาง และมาบตาพุด จ.ระยอง ซึ่งถือเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมต้นน้ำ ที่หากได้รับผลกระทบเกิดการสะดุดจากโควิด 19 เป็นเวลานาน ย่อมส่งผลต่อเนื่อง ไปยังอุตสาหกรรมกลางน้ำ และปลายน้ำ ที่จะมีผลต่อการขับเคลื่อนประเทศในระยะยาว
จึงได้เกิดความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ร่วมกับ จิตอาสาดอทแคร์ (JITASA.CARE) วีเซฟแอทโฮม (weSAFE@Home) หน่วยงานท้องถิ่นภาครัฐ และภาคเอกชน เดินหน้า “โครงการจิตอาสาอีอีซี ต้านโควิด” นำร่อง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ด้วยเป้าหมายฟื้นคืนเศรษฐกิจในภาพรวม และให้เป็นพื้นที่ต้นแบบ อีอีซี เพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด 19 อย่างยั่งยืน
“ดร.ชิต เหล่าวัฒนา” ที่ปรึกษาพิเศษด้านพัฒนาการศึกษา บุคลากร และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี ได้ให้สัมภาษณ์ว่า โครงการ ฯ ดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นช่วงวิกฤติโควิด-19 โดยเฉพาะในพื้นที่กทม. ที่เห็นภาพผู้เสียชีวิตต่อเนื่องจำนวน แต่กลับมีปัญหาวัดที่รับฌาปนกิจศพผู้ป่วยโควิด มีเพียง 7 แห่ง จากวัดทั้งหมดในกทม. ประมาณ2,000 แห่ง ขณะที่วัดทั่วประเทศมีอยู่กว่า 20,000 แห่ง ขณะเดียวกัน การระบาดที่เพิ่มมากขึ้น แต่ผู้ป่วยหลายคนกลับยังรอความช่วยเหลือ และสับสนกับการหารายละเอียดข้อมูล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เฮ! ครม. ไฟเขียวต่ออายุ 'รถไฟฟ้า 20 บาท' สายสีแดง-สีม่วง
คนกรุงเฮ! ครม.สัญจร อนุมัติรถไฟฟ้า 20 บาท สายสีแดง-สีม่วง อีก 1 ปี เริ่ม 1 ธ.ค.
20 บาทตลอดสายส่งผล ผู้โดยสารรถไฟฟ้าพุ่ง
รฟม. เผยครบรอบ 1 ปี นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ผลดีเกินคาด ทำยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT และผู้ใช้บริการอาคารจอดแล้วจรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
‘สุริยะ’ สั่ง รฟม. ลงโทษ ’NBM‘ เหตุประตูรถไฟฟ้าเปิดกลางทางขู่ลงดาบแบล็กลิสต์
‘สุริยะ’เอาจริง มอบ รฟม. ส่งหนังสือถึง ‘NBM’ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีชมพู จ่อดำเนินการตามบทลงโทษขั้นสูงสุด หลังเกิดเหตุประตูขบวนรถเปิดกลางทาง ลั่นไม่สามารถประนีประนอมหรือต่อรองได้ ย่ำหากไม่ปรับปรุงจ่อลงดาบแบล็กลิสต์
'ดร.สามารถ' แพร่บทความ บทเรียนสูญ 1.3 แสนล้าน รถไฟฟ้าสายสีส้ม ต้องมีผู้รับผิดชอบ
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ รถไฟฟ้าสายสีส้ม "บทเรียนที่ต้องเรียน" มีเนื้อหาดังนี้
'สุริยะ‘สั่งประเมินความปลอดภัยรถไฟฟ้า’ชมพู-เหลือง‘ทุก 3 เดือน
‘สุริยะ’ สั่ง ’กรมรางฯ-รฟม.’ตรวจสอบสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้า ’ชมพู -เหลือง’หลังเกิดเหตุบ่อยครั้ง กระทบการเดินทางประชาชน-ความมั่นใจด้านปลอดภัย จ่อประเมินผลงานทุก 3 เดือน