อนาคตแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน กับเป้าหมาย"ไม่สร้างขยะ"เปลี่ยนขวดพลาสติกเป็นถนน


ในยุคที่โครงสร้างพื้นฐานเริ่มเสื่อมสภาพตามระยะเวลาการใช้งาน และวงการก่อสร้างถนนถูกท้าทายด้วยประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Kao ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและเคมีภัณฑ์ชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น จึงได้คิดค้น “NEWTLAC” นวัตกรรมล้ำสมัยที่เป็นการผสมผสานระหว่างพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ นำมาผสมกับยางมะตอยเพื่อใช้ในการสร้างถนนอย่างเป็นรูปธรรม ที่ไม่เพียงแต่ช่วยแก้ปัญหาขยะ แต่ยังสร้างถนนที่แข็งแรงทนทานยิ่งกว่าเดิม พร้อมปฏิวัติวงการก่อสร้างถนนในประเทศไทย โดยนำร่องที่ถนนในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี และเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร

หลายๆ คนอาจจะรู้จักคาโอจากธุรกิจสินค้าอุปโภคที่เป็นสินค้าคู่เรือนคนไทยมากว่า 60 ปี ไม่ว่าจะเป็นผงซักฟอกแอทแทค น้ำยาซักผ้าขาวไฮเตอร์ หรือผ้าอนามัยลอรีเอะ แต่จริงๆ แล้ว บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Kao ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและเคมีภัณฑ์ชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น ยังมีอีกหนึ่งธุรกิจ คือ คาโอ เคมิคอล จำหน่ายเคมีภัณฑ์ที่มีความเชื่อมโยงกับหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมทางการเกษตร เคมีภัณฑ์เพื่อการก่อสร้างและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เคมีภัณฑ์เพื่อโรงหล่อ พลาสติก ยาง และอื่นๆ โดย คาโอ ประเทศไทย ยังเป็นศูนย์วิจัยพัฒนา พร้อมผลิตเคมีภัณฑ์ที่หลากหลายด้วยกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพอย่างครบวงจร และเคมีภัณฑ์ของเรานั้นยังไปอยู่ในห่วงโซ่อุปทานของสินค้าอุปโภคในชีวิตประจำวันอีกหลากหลายชนิด ที่สามารถสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม

ล่าสุดได้คิดค้น “NEWTLAC” ผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน ที่สามารถปรับปรุงคุณภาพยางมะตอยซึ่งเกิดจากการนำขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการทางเคมีจนได้ผงละเอียดสีเหลืองคล้ายน้ำตาลทราย จากนั้นนำไปผสมกับยางมะตอยปกติ ผลลัพธ์ที่ได้คือยางมะตอยชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติโดดเด่นทั้งด้านความแข็งแรง ความทนทานกว่าเดิม ทนการกัดเซาะของน้ำได้ดีและยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานกว่าเดิม

ซึ่งจากผลการวิจัยของ KAO Corporation ประเทศญี่ปุ่น พบว่า การสร้างถนนด้วย NEWTLAC ทุก 100 ตารางเมตร สามารถนำขยะขวดพลาสติก PET มารีไซเคิลได้มากถึง 1,430 ขวด นอกจากนี้ยางมะตอยผสม NEWTLAC นี้ ไม่เพียงมีประสิทธิภาพทัดเทียมหรือดีกว่ายางมะตอยแบบ PMA (Polymer Modified Asphalt) แต่ยังช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการลดการปล่อยอนุภาคละเอียดที่เกิดจากยางมะตอย ช่วยลดมลพิษทางอากาศ และปัญหาขยะขวดพลาสติกที่เป็นวิกฤตระดับโลก นับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะพลาสติกและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ล่าสุด NEWTLAC ได้ถูกนำไปใช้งานจริงแล้วในสองพื้นที่สำคัญ ได้แก่ ถนนในนิคมอมตะซิตี้ ชลบุรี จังหวัดชลบุรี บริเวณหน้าอาณาเขตของโรงงานคาโอฯ พื้นที่รวม 500 ตารางเมตร ใช้ NEWLTAC จำนวน 140 กิโลกรัม และได้รับความร่วมมือจากทางกรุงเทพมหานครในการปูถนนแยกนิมิตใหม่ เขตมีนบุรี ในกรุงเทพมหานคร พื้นที่รวม 750 ตารางเมตร ใช้ NEWLTAC จำนวน 180 กิโลกรัม อีกทั้งปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการทดลองใช้ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งในแต่ละพื้นที่นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของคาโอต่อไป

ทั้งนี้ คาโอ ประเทศไทย ประสบความสำเร็จในการทำให้ขยะที่ไปฝังกลบ (Landfill) เป็นศูนย์ (Zero Waste) ในโรงงานผลิตของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2563 โดยสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้เกือบ 100% เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยลดการสร้างขยะพลาสติก คาโอตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2570 บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทจะสามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100%

อย่างไรก็ตาม คาโอ ยังได้ระบุว่า การพัฒนาดังกล่าวไม่เพียงเป็นนวัตกรรมที่จะปฏิวัติวงการก่อสร้างถนนเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ระยะยาวของบริษัทในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยคาโอมีเป้าหมายสู่ความยั่งยืนในปี 2583 เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน ด้วยการตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนเป็นศูนย์ และบรรลุเป้าหมายให้ขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยพลาสติกเป็นศูนย์ กล่าวคือ ปริมาณพลาสติกที่ใช้ต้องเท่ากับปริมาณพลาสติกที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ หรือถูกนำมารีไซเคิล ดังนั้น NEWTLAC จึงเป็นตัวอย่างความสำเร็จที่สอดคล้องกับเป้าหมายนี้อย่างชัดเจนในการสร้างนวัตกรรมนำขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้วมาใช้ในการสร้างถนน ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่จะถูกทิ้งกลับสู่สิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ และการสร้างสังคมที่ยั่งยืนสำหรับคนรุ่นต่อไปในอนาคต.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“นายธนชัย ชัยกิตติวนิช”พลิกโฉม“สมูทอี” ชูนวัตกรรมตอบโจทย์รุกคืบตลาดเวชสำอาง

คงต้องยอมรับว่า “สมูทอี” เป็น Medical Skincare หรือแบรนด์เวชสำอางที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคชาวไทยมากว่า 30 ปี โดยผลิตภัณฑ์สมูทอีวางจำหน่ายในเมืองไทยเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1991

“อรรถวิท รักจำรูญ” ผุดโปรแกรมเอาใจสายมู ชวนนั่งรถ บขส.เที่ยวเสริมพลังบุญหนุนพลังใจ

หลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง ทำให้ระบบขนส่งสาธารณะต่างหากลยุทธ์ในการปรับรูปแบบการให้บริการเพื่อจูงใจให้ผู้โดยสารมาใช้บริการ เช่นเดียวกับ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)

"มนตรี เดชาสกุลสม" ปักหมุดภารกิจเร่งด่วน เชื่อมโครงข่ายถนนยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

หลังจาก “มนตรี เดชาสกุลสม” เข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) คนที่ 11 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้มอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่บุคลากรกรมทางหลวงชนบท

จาก ‘ฉลากเบอร์5’ สู่ห้องเรียนสีเขียวเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องใช้และสังคม

ที่ผ่านมา กลุ่มผู้บริโภคหลายคนคงเริ่มเห็นหน้าตาของฉลากเบอร์ 5 โฉมใหม่ตามเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ กันบ้างแล้ว โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

“พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ” ลุยเพิ่มศักยภาพ เร่งเครื่องดันสนามบินสมุยสู่ “Tourism Hub” อ่าวไทย

หากพูดถึงอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทย ปัจจุบันกลับเติบโตอย่างน่าสนใจหลังเกิดวิกฤตโควิด-19 โดยส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจน ผู้โดยสารกลับมาใช้บริการมากขึ้น