ตลอดระยะเวลามากกว่า 6 ปี บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้เข้ามาสนับสนุนหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งการสนับสนุนการก่อสร้าง พัฒนาสถานที่ และยังร่วมจัดกิจกรรมต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเพื่อสังคมของบริษัท โดยกิจกรรมทั้งหมดเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2560 เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานวิจัยดาราศาสตร์สำหรับนักเรียน นักศึกษา และสถาบันการศึกษาภาคใต้ รวมถึงเป็นศูนย์เรียนรู้ดาราศาสตร์อิสลามแห่งแรกของไทย
จนถูกขนานนามว่า หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา (หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา) ที่เป็นหนึ่งใน “หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชน” โครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้การดำเนินงานของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยเชฟรอนเองนอกจากจะเข้ามาพัฒนาพื้นที่แล้ว ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือสะเต็ม อย่างครอบคลุมในทุกมิติ
จึงได้ดำเนินการพัฒนาในส่วนโครงสร้างอื่นๆ อาทิ การก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ทางดาราศาสตร์และการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ นิทรรศการดาราศาสตร์ภายในอาคาร (Indoor Exhibition) โครงการสนับสนุนการก่อสร้างลานอเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรมดูดาวกลางแจ้ง และกิจกรรมทางดาราศาสตร์อื่นๆ โดยเฉพาะ “ค่ายเยาวชนคนดูดาว เท้าติดทะเล” ที่มีการจัดกิจกรรมเพื่อจุดประกายฝัน สร้างแรงบันดาลใจด้านดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้แก่เยาวชนทั่วประเทศมาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 7
นายเฉลิมชนม์ วรรณทอง ผู้จัดการหอดูดาวภูมิภาคอาวุโส หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา กล่าวว่า ค่ายเยาวชนคนดูดาว เท้าติดทะเล ปีที่ 6 เป็นค่ายกิจกรรมการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์สำหรับเยาวชนทั่วประเทศที่จัดมาต่อเนื่อง ปีนี้มีเยาวชนทั่วประเทศส่งใบสมัครเข้ามา 1,346 คน และได้คัดเลือกเข้าร่วมค่าย 100 คน โดยแนวคิดการจัดการค่ายยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายเยาวชนคนดูดาวที่เข้มแข็ง
โดยได้คัดเลือกเยาวชนที่เคยผ่านการเข้าค่ายในครั้งก่อนมาร่วมเป็นพี่เลี้ยงค่าย เพื่อช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ หลักสูตรหลักของค่ายเป็นการผสมผสานการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ควบคู่กับกิจกรรมเชื่อมผสานพหุวัฒนธรรม สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมค่าย รวมทั้งเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมชุมชนในพื้นที่ที่ไปจัดกิจกรรมด้วย
และกิจกรรมของ “ค่ายเยาวชนคนดูดาว เท้าติดทะเล” ประกอบด้วย ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในเรื่องการดูดาวเบื้องต้น การใช้งานแผนที่ดาวและกล่องดวงดาว การติดตั้งและใช้งานกล้องโทรทรรศน์ โดยผู้ร่วมค่ายฯ ได้ร่วมสังเกตการณ์ท้องฟ้าและกลุ่มดาวช่วงเช้ามืด ศึกษาดวงอาทิตย์ขึ้น ณ จุดชมวิวหาดสมิหลา และได้เยี่ยมชมท้องฟ้าจำลองและนิทรรศการดาราศาสตร์ ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา รวมทั้งมีการผสานการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเข้ากับกิจกรรมต่างๆ อาทิ การทัศนศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนย่านเมืองเก่าสงขลา
ด้าน เดชชนะ ภิญโญตระกูล ผู้จัดการศูนย์ซ่อมบำรุงบนฝั่ง บริษัท เชฟรอนฯ กล่าวว่า เชฟรอนทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา มาอย่างต่อเนื่อง เชฟรอนหวังว่าค่ายเยาวชนคนดูดาว เท้าติดทะเล จะช่วยกระจายโอกาสการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้แก่เยาวชน นักเรียนและนักศึกษาทั่วประเทศ จึงได้สนับสนุนกิจกรรมนี้ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6
“ผมเชื่อมั่นว่าน้องๆ ที่ผ่านค่ายนี้จะสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดในการเรียนวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน และหลายคนจะได้รับแรงบันดาลใจในการเลือกเส้นทางการศึกษาต่อ นำไปสู่การประกอบอาชีพในฝันของตนเองในอนาคตได้ และน้องๆ เหล่านี้จะเป็นพลังคนที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป”
ความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างเยาวชนที่เคยเข้าร่วมโครงการ
พิพัฒน์พล สิริธิกุล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จ.สมุทรปราการ กล่าวว่า “ผมชื่นชอบด้านดวงดาวและดาราศาสตร์อยู่แล้ว เวลาออกต่างจังหวัดก็ชอบถ่ายภาพดาวตอนกลางคืน ค่ายนี้มีประสบการณ์และความรู้ใหม่หลายอย่าง มีทั้งความรู้ด้านดาราศาสตร์ควบคู่กับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทำให้ผมรู้สึกประทับใจวิถีวัฒนธรรมของคนใต้มากขึ้น”
ลภัสปภา สืบสายทองคำ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “สมัครมาค่ายนี้เพราะส่วนตัวชื่นชอบและตั้งใจจะทำงานในสายที่เกี่ยวข้องกับด้านอวกาศอยู่แล้ว และเมื่อได้มาแล้วก็ไม่ผิดหวัง เพราะค่ายนี้ให้ความรู้เยอะมากๆ มีความสนุกสนาน สิ่งที่ได้รับจากวิทยากรช่วยสร้างแรงบันดาลใจ และทำให้มีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้นในการวางแผนการเรียนและทำงานในอนาคต”
ศิดารัศมิ์ ศรีมุณี นักศึกษาปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตหาดใหญ่) ศิษย์เก่าค่ายซึ่งอาสามาเป็น “พี่ค่าย” ช่วยดูแลเยาวชนที่มาร่วมกิจกรรมในปีนี้ กล่าวว่า “ทุกกิจกรรมที่หอดูดาวและเชฟรอนจัดขึ้นไม่ได้มีแค่เรื่องดาราศาสตร์เท่านั้น แต่มีองค์ความรู้และประสบการณ์มากมายให้เราได้ศึกษาเรียนรู้ การได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมในฐานะ ‘พี่ค่าย’ ทำให้ได้พัฒนาตนเอง ฝึกความกล้าแสดงออก ฝึกความเป็นผู้นำ ได้เรียนรู้การบริหารจัดการงาน การจัดกิจกรรม การวางแผน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รวมทั้งได้เรียนรู้การทำงานจากคนที่ทำงานจริงในองค์กร ซึ่งต้องขอขอบคุณหอดูดาวและเชฟรอนที่มอบโอกาสดีๆ ให้เยาวชนคนดูดาวมาอย่างต่อเนื่องถึง 6 ปี”
นอกจาก “ค่ายเยาวชนคนดูดาว เท้าติดทะเล ปีที่ 6” ได้ถ่ายทอดความรู้เพื่อบ่มเพาะต้นกล้าเยาวชนด้านดาราศาสตร์ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และลงมือปฏิบัติจริงด้านดาราศาสตร์แก่น้องๆ ทั้ง 100 คนเป็นระยะเวลา 3 วัน 2 คืนแล้ว ค่ายครั้งนี้ยังช่วยสร้างความตระหนักรู้และความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ให้แก่เยาวชนได้มากขึ้น เพื่อพัฒนากำลังคนในสาขาสะเต็มที่จะเป็นกำลังในการขับเคลื่อนประเทศต่อไปในอนาคต.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"มนตรี เดชาสกุลสม" ปักหมุดภารกิจเร่งด่วน เชื่อมโครงข่ายถนนยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
หลังจาก “มนตรี เดชาสกุลสม” เข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) คนที่ 11 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้มอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่บุคลากรกรมทางหลวงชนบท
จาก ‘ฉลากเบอร์5’ สู่ห้องเรียนสีเขียวเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องใช้และสังคม
ที่ผ่านมา กลุ่มผู้บริโภคหลายคนคงเริ่มเห็นหน้าตาของฉลากเบอร์ 5 โฉมใหม่ตามเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ กันบ้างแล้ว โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
“พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ” ลุยเพิ่มศักยภาพ เร่งเครื่องดันสนามบินสมุยสู่ “Tourism Hub” อ่าวไทย
หากพูดถึงอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทย ปัจจุบันกลับเติบโตอย่างน่าสนใจหลังเกิดวิกฤตโควิด-19 โดยส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจน ผู้โดยสารกลับมาใช้บริการมากขึ้น
เส้นทาง ‘ไว้ท์เครน ไบโอเทค กรุ๊ป’กว่า 50 ปี สู่การนำทัพเจน2รีแบรนด์พลิกโฉมบุกตลาด
คงต้องบอกว่า “ไว้ท์เครน ไบโอเทค กรุ๊ป” หรือ White Crane BIOTEC Group นับเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดด้านนวัตกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำ การจัดการน้ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการเกษตร
คลังเดินเครื่องปั้น“หวยเกษียณ” ปักธงปลุก“ การออม” แก้ปมคนไทยสูงวัยแต่ยากจน
สถานการณ์ “การออม” ของคนไทยเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าจับตา โดยเฉพาะการออมเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับวัยเกษียณ จากข้อมูลของ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC
อนาคตแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน กับเป้าหมาย"ไม่สร้างขยะ"เปลี่ยนขวดพลาสติกเป็นถนน
ในยุคที่โครงสร้างพื้นฐานเริ่มเสื่อมสภาพตามระยะเวลาการใช้งาน และวงการก่อสร้างถนนถูกท้าทายด้วยประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Kao