เกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข พาทัวร์งานหินถมทะเลแหลมฉบังเฟส3

 

คงต้องบอกว่า “โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3” เป็นโครงการที่จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ยกระดับความสามารถทางการค้า และเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศไทย ในการรองรับการขนส่งการค้าทางทะเลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต อีกทั้งเป็นการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย เพื่อให้ภาคโลจิสติกส์สามารถบริหารจัดการขนส่งได้มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนและเชื่อมโยงกับนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศใน CLMV ผลักดันศักยภาพไทยให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคของอินโดจีน และพร้อมต่อการก้าวสู่การเป็นท่าเรือระดับโลก

อาทิตย์เอกเขนก จะพาไปอัปเดตความคืบหน้าท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 โดยมี “เกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข” ผู้อำนวยการ กทท. นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ สำหรับแหลมฉบัง เฟส 3 เป็นหนึ่งในโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่สำคัญตามแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) มูลค่าโครงการรวมประมาณ 114,000 ล้านบาท แบ่งเป็น กทท. 47% และเอกชน 53% โดยเป็นการพัฒนาและดำเนินการในส่วนของท่าเทียบเรือ F เป็นลำดับแรก ระยะเวลาสัมปทาน 5 ปี เมื่อพัฒนาโครงการแล้วเสร็จจะเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าจาก 11 ล้านทีอียูต่อปี เป็น 18 ล้านทีอียูต่อปี เพิ่มสัดส่วนสินค้าผ่านท่าทางรถไฟของท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) จาก 7% เป็น 30%

ผอ.การท่าเรือฯ ระบุว่า การขุดลอกและถมทะเลท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 มีความท้าทาย และยากที่สุด เมื่อเทียบกับเฟส 1 และ 2 เนื่องจากขุดลอกลึกกว่า ขนาดใหญ่และกว้างกว่ามาก ปริมาณดินขุดลอกก็มากกว่ามาก ถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ ขณะเดียวกันพื้นที่ก่อสร้างเฟส 3 ยังอยู่ใกล้แหล่งชุมชน จึงต้องระมัดระวังผลกระทบด้านตะกอนแขวนลอยกับชุมชนใกล้เคียง ตามรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ด้วย

เพื่อเป็นการเร่งรัดให้งานเสร็จตามแผน ปัจจุบันผู้รับจ้างนำบุคลากรเข้ามาปฏิบัติงานเพิ่มจากเดิม 120 คน เป็น 400 คน รวม 520 คน และนำเครื่องจักรทางน้ำ (เรือขุด) เข้ามาปฏิบัติงานเพิ่ม 30 ลำ จากเดิม 37 ลำ รวม 67 ลำ เมื่อมีความพร้อมมากขึ้นการท่าเรือฯ ได้เร่งผลักดันให้งานเดินหน้าเร็วกว่าแผน 3% ต่อเดือน เพื่อส่งมอบงานให้การท่าเรือฯ ได้ในเดือนมิถุนายน 2567 ซึ่งได้มีการเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา

ผอ.การท่าเรือฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กทท.ตั้งเป้าจะส่งมอบพื้นที่ F1 ให้บริษัท จีพีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด (GPC) เอกชนคู่สัญญาภายในเดือน พฤศจิกายน 2568 เพื่อบริหารโครงการ คาดว่าจะเปิดบริการท่าเทียบเรือ F1 ในปี 2570 รองรับความจุตู้สินค้าเพิ่มจากปัจจุบันได้อีก 2 ล้านทีอียู รวมเป็น 13 ล้านทีอียู

แน่นอนว่าเมื่อพัฒนาท่าเทียบเรือ F1 แล้วเสร็จเพื่อเปิดบริการปี 2570 จะเป็นท่าเรือที่มีขนาดใหญ่ ลึก 18.5 เมตร มีความยาวหน้าท่า 2 กิโลเมตร รองรับเรือที่มีขนาดบรรทุกสินค้าใหญ่ที่สุดในโลกที่เรียกว่าเรือแม่ได้ด้วย อีกทั้งยังเป็นประตูสู่การค้าการลงทุน และเสริมยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งทางน้ำของภูมิภาคได้อย่างเต็มศักยภาพ

เนื่องจากเป็นโครงการที่ได้รับความสนใจ อีกทั้งรัฐบาลได้เร่งรัดการก่อสร้างโครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ก่อนหน้านี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ลงตรวจงานที่ จ.ชลบุรี และได้มีข้อสั่งการให้เร่งรัดงานที่มีความล่าช้า จึงทำให้คณะทำงานได้มีการเร่งรัดติดตามการทำงานเป็นรายวัน และรายสัปดาห์ ทำให้การก่อสร้างมีความคืบหน้าเร็วขึ้น โดยมีการเชื่อมโยงการกำกับดูแลในทุกภาคส่วน จนทำให้งานในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาทำได้เร็วขึ้นมาก ส่วนสาเหตุที่ก่อนหน้านี้งานล่าช้าเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานและนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศเข้ามาได้

ผอ.การท่าเรือฯ กล่าวว่า ในเดือนมิถุนายน 2567 งานที่ล่าช้าจะกลับมาเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงการท่าเรือฯ ยังคงเน้นย้ำกำชับติดตามให้กลุ่มกิจการร่วมค้าฯ และผู้ควบคุมงานให้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การทำงานเป็นไปด้วยความสอดคล้องต่อเนื่อง ให้สามารถส่งมอบงานตามแผนที่กำหนด เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนต่อไป

ผอ.การท่าเรือฯ กล่าวปิดท้ายว่า ได้เน้นย้ำผู้รับจ้างว่าแม้จะต้องเร่งรัดงาน แต่งานต้องมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดด้วย โดยเอกชนยังยืนยันในคุณภาพและให้ความมั่นใจว่าจะแล้วเสร็จตามแผน เชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาอุปสรรคใดแล้ว และหากมีอุปสรรคก็คงเกิดขึ้นเล็กน้อย และสามารถเร่งแก้ไขให้งานแล้วเสร็จตามแผนได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"มนตรี เดชาสกุลสม" ปักหมุดภารกิจเร่งด่วน เชื่อมโครงข่ายถนนยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

หลังจาก “มนตรี เดชาสกุลสม” เข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) คนที่ 11 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้มอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่บุคลากรกรมทางหลวงชนบท

จาก ‘ฉลากเบอร์5’ สู่ห้องเรียนสีเขียวเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องใช้และสังคม

ที่ผ่านมา กลุ่มผู้บริโภคหลายคนคงเริ่มเห็นหน้าตาของฉลากเบอร์ 5 โฉมใหม่ตามเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ กันบ้างแล้ว โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

“พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ” ลุยเพิ่มศักยภาพ เร่งเครื่องดันสนามบินสมุยสู่ “Tourism Hub” อ่าวไทย

หากพูดถึงอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทย ปัจจุบันกลับเติบโตอย่างน่าสนใจหลังเกิดวิกฤตโควิด-19 โดยส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจน ผู้โดยสารกลับมาใช้บริการมากขึ้น

เส้นทาง ‘ไว้ท์เครน ไบโอเทค กรุ๊ป’กว่า 50 ปี สู่การนำทัพเจน2รีแบรนด์พลิกโฉมบุกตลาด

คงต้องบอกว่า “ไว้ท์เครน ไบโอเทค กรุ๊ป” หรือ White Crane BIOTEC Group นับเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดด้านนวัตกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำ การจัดการน้ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการเกษตร

คลังเดินเครื่องปั้น“หวยเกษียณ” ปักธงปลุก“ การออม” แก้ปมคนไทยสูงวัยแต่ยากจน

สถานการณ์ “การออม” ของคนไทยเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าจับตา โดยเฉพาะการออมเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับวัยเกษียณ จากข้อมูลของ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC

อนาคตแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน กับเป้าหมาย"ไม่สร้างขยะ"เปลี่ยนขวดพลาสติกเป็นถนน

ในยุคที่โครงสร้างพื้นฐานเริ่มเสื่อมสภาพตามระยะเวลาการใช้งาน และวงการก่อสร้างถนนถูกท้าทายด้วยประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Kao