“โลกที่ยั่งยืน” อาจจะหมายถึงโลกที่สามารถเป็นสถานที่สำหรับประชากรทุกกลุ่มได้อยู่อาศัย มนุษย์ สัตว์ พืชยังเจริญเติบโตตามวิวัฒนาการ และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ต่อยอดความเป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้น...
แต่ที่ผ่านมา การดำเนินชีวิตของประชากรบนโลกนั้นไม่ได้ตอบสนองแนวคิดด้านความยั่งยืนเท่าไหร่นัก การอยู่อาศัยส่วนใหญ่ยึดหลักความสะดวกสบาย การแข่งขัน และความต้องการที่จะก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำ โดยไม่ได้คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรหรือกระบวนการการปล่อยของเสีย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าวิถีชีวิตเดิมๆ ที่ผ่านมาส่งผลกระทบไปยังโลกที่กำลังอาศัยอยู่อย่างมาก และส่วนใหญ่มาจากการใช้ชีวิตของมนุษย์
แต่ในปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่เริ่มมองเห็นผลเสียหรือรอยร้าวที่เกิดขึ้นบนโลกนี้แล้ว จึงทำให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ขึ้นมา ที่ไม่ใช่แค่ใช้ชีวิตบนโลก แต่ต้องรักษาและดูแลโลกให้มีอยู่อย่างยั่งยืนด้วย “อาทิตย์เอกเขนก” ฉบับนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับแนวคิดใหม่ๆ โดยเฉพาะด้านพลังงานที่จะสามารถเข้ามาตอบสนองการดำเนินงานของกลุ่มคนที่ต้องการให้เกิดความยั่งยืนได้
การแสดงแนวคิดที่เกิดขึ้นในครั้งนี้จัดโดยบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นั่นก็คือ Bangchak Group Greenovative Forum ครั้งที่ 13 ในหัวข้อ “Regenerative Fuels: Sustainable Mobility” นำเสนอประเด็นเชื้อเพลิงอนาคตที่จะตอบโจทย์การเดินทางอย่างยั่งยืน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทั้งในระดับโลกและระดับประเทศร่วมสะท้อนมุมมองภาคส่วนต่างๆ โดยได้รับเกียรติจาก มิสซิสแอสทริด เอมิเลีย เฮลเลอ เอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์ประจำประเทศไทย นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และ นายสไกร คงธรรม ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจเกี่ยวเนื่อง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมรับฟัง
ซึ่งงานสัมมนาครั้งใหญ่แห่งปี 2566 ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรด้านพลังงานชั้นนำระดับโลก มาร่วมนำเสนอข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเชื้อเพลิงอนาคต เพื่อตอบโจทย์การเดินทางอย่างยั่งยืน ขณะที่ นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากก็ได้มีการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “Regenerative Fuels: Sustainable Mobility” ชี้ถึงเชื้อเพลิงอนาคตที่จะตอบโจทย์การเดินทางอย่างยั่งยืนว่า
ด้วยสภาวะปัจจุบัน ทำให้โลกให้ความสำคัญกับพลังงานสะอาดมากขึ้น ไฮโดรเจนถูกมองว่าเป็นทางเลือกสำหรับอนาคต แต่ยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตและการนำไปใช้งานจริงให้มีราคาและต้นทุนที่แข่งขันได้ ซึ่งจากความต้องการใช้เชื้อเพลิงของโลกที่อยู่ในระดับสูงถึง 220 ล้านบาร์เรลต่อวัน เชื้อเพลิงเหลวจะเป็นรูปแบบพลังงานหลักที่สำคัญจาก 2 ปัจจัย คือ ความหนาแน่นของพลังงานสูง และการขนส่งที่สะดวก
สำหรับ ภาคการเดินทางและการขนส่งซึ่งจะยังคงมีความต้องการใช้เชื้อเพลิงเป็นอย่างมาก เชื้อเพลิงที่จะตอบโจทย์สำหรับการเดินทางและขนส่งอย่างยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือ การใช้เชื้อเพลิงสังเคราะห์ (Regenerative Fuels) ซึ่งเป็นโมเลกุลสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศ เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญคือ การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีที่จะช่วยบริหารจัดการคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture Utilization and Storage-CCUS) เพื่อให้โลกอยู่กับเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สะอาดและยั่งยืนขึ้น
สำหรับภาคการบิน เชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) หรือ SAF เป็นทางเลือกพลังงานที่จะตอบโจทย์ภาคขนส่งอย่างยั่งยืน เมื่ออุตสาหกรรมการบินตั้งเป้าหมาย Net Zero ในปี ค.ศ.2050 กลุ่มบริษัทบางจากจึงได้บุกเบิกธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิง SAF จากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว โดยหน่วยผลิต SAF ที่โรงกลั่นน้ำมันบางจาก พระโขนง เป็นเชื้อเพลิงที่ภาคการบินทั่วโลกสามารถนำมาใช้ทดแทนได้ทันทีโดยไม่ส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์
แน่นอนว่า การจัดงานดังกล่าวยังสะท้อนให้สาธารณชนได้เห็นถึงประเด็นด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่ควรตระหนักและร่วมมือกันแก้ไขหรือพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การบรรเทาภาวะโลกร้อน และปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“อรรถวิท รักจำรูญ” ผุดโปรแกรมเอาใจสายมู ชวนนั่งรถ บขส.เที่ยวเสริมพลังบุญหนุนพลังใจ
หลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง ทำให้ระบบขนส่งสาธารณะต่างหากลยุทธ์ในการปรับรูปแบบการให้บริการเพื่อจูงใจให้ผู้โดยสารมาใช้บริการ เช่นเดียวกับ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)
"มนตรี เดชาสกุลสม" ปักหมุดภารกิจเร่งด่วน เชื่อมโครงข่ายถนนยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
หลังจาก “มนตรี เดชาสกุลสม” เข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) คนที่ 11 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้มอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่บุคลากรกรมทางหลวงชนบท
จาก ‘ฉลากเบอร์5’ สู่ห้องเรียนสีเขียวเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องใช้และสังคม
ที่ผ่านมา กลุ่มผู้บริโภคหลายคนคงเริ่มเห็นหน้าตาของฉลากเบอร์ 5 โฉมใหม่ตามเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ กันบ้างแล้ว โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
“พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ” ลุยเพิ่มศักยภาพ เร่งเครื่องดันสนามบินสมุยสู่ “Tourism Hub” อ่าวไทย
หากพูดถึงอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทย ปัจจุบันกลับเติบโตอย่างน่าสนใจหลังเกิดวิกฤตโควิด-19 โดยส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจน ผู้โดยสารกลับมาใช้บริการมากขึ้น