
ไชยันต์ ไชยพร
ก่อนจะเกิดรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 เรามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 และฉบับที่ 3 คือฉบับ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ที่ใช้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 2475-2489 เป็นรัฐธรรมนูญที่นำไปสู่ระบอบคณาธิปไตยสืบทอดอำนาจโดยคณะราษฎร สาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญคณาธิปไตยสืบทอดอำนาจโดยคณะราษฎร ได้แก่
1. การเปิดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มีสิทธิ์รับรองคณะรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1
2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มีจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 ที่มาจากการเลือกตั้ง
3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี และมีวาระอยู่ยาวตราบที่ยังบังคับใช้บทเฉพาะกาลอยู่
4. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ชุดแรกที่แต่งตั้งขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2476 มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ที่มาจากการทำรัฐประหาร
5. คณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ที่มาจากการทำรัฐประหาร แต่งตั้งตัวเองและพวกพ้องซึ่งส่วนเป็นสมาชิกคณะราษฎรให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
6. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 รับรองตัวเองให้เป็นคณะรัฐมนตรี
จาก 1-5 บรรดาสมาชิกคณะราษฎรต่างแต่งตั้งตัวเองกลับไปกลับมาหมุนเวียนกันเป็นคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 เป็นระยะเวลาถึง 13 ปี จนมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นั่นคือ ฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 นี้ แม้จะยกเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และให้มีสมาชิกพฤฒสภาขึ้นแทน แต่ก็ยังกำหนดให้สมาชิกพฤฒสภามีสิทธิ์ในการรับรองคณะรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง และแม้ว่าจะกำหนดให้สมาชิกพฤฒสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 นี้ได้กำหนดไว้ว่า ในช่วงแรกให้สมาชิกพฤฒสภามาจากการเลือกของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จากสมาชิกพฤฒสภาที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกขึ้นมาเป็นจำนวน 80 คน พบว่า เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 เป็นจำนวน 49 คน และเป็นสมาชิกคณะราษฎร 55 คน
หมายความว่า กว่าครึ่ง (49/80 คน) ของสมาชิกพฤฒสภาสืบต่อมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และกว่าครึ่ง (55/80) ของสมาชิกพฤฒสภาเป็นสมาชิกคณะราษฎร นั่นคือ มีสมาชิกสภาพฤฒสภาที่เป็นสมาชิกคณะราษฎรเสีย 68.75 % ภายใต้รัฐธรรมนูญ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
และเมื่อเทียบกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2476 จำนวน 78 คน พบว่าเป็นสมาชิกคณะราษฎรเสีย 46 คน นั่นคือ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่เป็นสมาชิกคณะราษฎร 58.9 % ภายใต้รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
จะเห็นได้ว่า สัดส่วนของสมาชิกคณะราษฎรในสมาชิกพฤฒสภากลับเพิ่มมากขึ้นกว่าสมาชิกคณะราษฎรในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่ตั้งขึ้นครั้งแรก
และคนในสมัยนั้นเรียกพฤฒสภาว่าเป็น “สภาปรีดี”
ส่วนสมาชิกพฤฒสภาที่เหลือที่ไม่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และไม่ได้เป็นสมาชิกคณะราษฎรมี 30 คน ในตอนก่อนๆ ได้กล่าวถึงประวัติของสมาชิกพฤฒสภาไม่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และไม่ได้เป็นสมาชิกคณะราษฎรมี 30 คนไปบ้างแล้ว ได้แก่ คุณพึ่ง ศรีจันทร์ คุณแก้ว สิงหะคเชนทร์ คุณเขียน กาญจพันธุ์ และพันโท เจือ สฤษฎิ์ราชโยธิน คุณจินดา พันธุมจินดา (จินดา จินตเสรี) คุณจำลอง ดาวเรือง คุณไต๋ ปาณิกบุตร และคุณถวิล อุดล ต่อไปจะได้กล่าวถึงคุณทัน พรหมิทธิกุล
คุณทัน พรหมิทธิกุลเป็นคนอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์โดยกำเนิด จบการศึกษาชั้นประถมและมัธยมต้นจากโรงเรียนในจังหวัดบุรรีรัมย์ และมาต่อมัธยมปลายที่จังหวัดนครราชสีมา จากนั้นได้ศึกษาต่อประโยคมัธยมเกษตรกรรม ที่โรงเรียนเกษตรกรรมทับกวาง จังหวัดสระบุรี จากนั้นคุณทันก็ได้เดินทางกลับบ้านเกิด และ เริ่มรับราชการเป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนเกษตรบุรีรัมย์ ระหว่าง พ.ศ. 2473-2477 และย้ายไปรับราชการที่กรมกสิกรรมเป็นเวลา 3 ปี
เมื่อถึงปี พ.ศ. 2480 ทางการได้จัดมีการเลือกตั้งขึ้นเป็นครั้งที่สอง โดยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476 ทางญาติพี่น้องของคุณทันได้สนับสนุนให้คุณทันลงรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้แทนชาวบุรีรัมย์ และคุณทันก็ชนะเลือกตั้งได้เป็นตัวแทนคนบุรีรัมย์ถึงสองสมัย (วันที่ 7 พฤศจิกายน 2480 – 11 กันยายน พ.ศ. 2481 และ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2488)
ในระหว่างที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น คุณทันได้มีผลงาน เช่น เป็นผู้เสนอร่างกฎหมายให้เลิกเก็บเงินรัชชูปการ ปีละ ๒๐ บาท เป็นรายหัวจากผู้ชายไทยวัย ๒๐ ขึ้นไป และเสนอให้เลิกเก็บค่านาไร่ละสองสลึงในสมัยนั้น
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 9 สมัยสามัญ สมัยที่สอง วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2482 คุณทันได้ตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการเรื่อง การจ่ายพันธุ์ข้าวปลูก โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้ คือ
1. ภาคอิสานเมื่อต้นปีมีฝนดี ราษฎรได้ตกกล้าไว้เป็นจำนวนมาก บัดนี้ฝนแล้ง ข้าวกล้าเสียหายมาก ขอทราบว่าทางกระทรวงเกษตราธิการทราบหรือไม่
2. ได้จัดเตรียมการช่วยเหลือในเรื่องพันธุ์ข้าวปลูกเรียบร้อยแล้วหรือยัง
รัฐมนตรี (เข้าใจว่าทำหน้าที่แทนรัฐมนตรีว่าการ/ผู้เขียน) ตอบว่า
1. การทำนาในภาคอิสานปีนี้ จังหวัดต่างๆได้รายงานว่าข้าวกล้าไม่ค่อยจะงาม เพราะขาดฝน ไม่ปรากฎว่าการเสียหายมากตามกระทู้ถาม
2. เรื่องพันธุ์ข้าวปลูกนั้น กระทรวงเกษตราธิการเคยสั่งให้คณะกรมการจังหวัดต่างๆ ช่วยแนะนำคณะกรรมการอำเภอ กำนันและผู้ใหญ่บ้านให้ช่วยตักเตือนชาวนาในท้องถิ่นของตนให้เก็บพันธุ์ข้าวปลูกไว้พอหว่านได้อีกถึง 2 ครั้ง ถ้าราษฎรเชื่อฟังคำแนะนำนี้แล้ว ก็คงจะไม่ได้เดือดร้อนในเรื่องไม่มีพันธุ์ข้าวปลูกเป็นแน่ แต่อย่างไรก็ดี เมื่อมีเหตุจำเป็นจริงๆ ทางการก็พร้อมที่จะช่วยเหลือ และได้วางระเบียบเรื่องการให้ยืมพันธุ์ข้าวไปให้จังหวัดต่างๆถือปฏิบัติอยู่แล้ว ถ้าราษฎรผู้ใดเดือดร้อนก็อาจจะร้องขอต่ออำเภอท้องที่ตามระเบียบ
ในขณะที่คุณทันทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งกระทู้ถามเรื่องพันธุ์ข้าวนั้น รัฐบาลขณะนั้นคือ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต่อมาคุณทันได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ในระหว่างสงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่สอง คุณทันได้แก้ปัญหาการ ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพิลง โดยริเริ่มตั้งโรงกลั่นน้ำมันยางขึ้นใช้แทน ได้จัดหาฝ้ายมาแจกจ่ายให้ราษฎรปั่นด้ายทอผ้า ลดปัญหาขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม และเป็นการส่งเสริมอาชีพไปในตัว นอกจากนั้นได้ริเริ่มสร้างฝายน้ำล้นและเขื่อนกั้นน้ำหลายแห่งในจังหวัด (ตำนานเกษตรบุรีรัมย์ ตอนที่ ๑ ปูชนียบุคคล www.bcat.ac.th/bcat/wp-content/uploads/2017/10/Legend.pdf)
พรรคการเมืองที่คุณทัน พรหมิทธิกุลสังกัด คือ พรรคสหชีพ ซึ่งเป็นพรรคที่สนับสนุนนายปรีดี พนมยง์ ดังนั้น แม้ว่า คุณทันจะไม่ได้เป็นสมาชิกคณะราษฎรที่ร่วมเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่จากที่กล่าวไปข้างต้น เราก็สามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า คุณทันเป็นหนึ่งในสมาชิกพฤฒสภาที่ทำให้พฤฒสภาถูกเรียกว่าเป็น “สภาปรีดี”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
LIVE ข้าศึกประชิดรั้ว | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน 2568
วางมือตรงหน้า ซ่อนไพ่ไว้ข้างหลัง: รัฐบาลที่ไม่กล้าชนภูมิใจไทย
กล้องทุกตัวจับภาพ ภูมิธรรม เวชยชัย ควงแขน อนุทิน ชาญวีรกูล เดินลงจากตึกไทยคู่ฟ้า พร้อมรอยยิ้มและคำหยอกว่า “เดี๋ยวหอมแก้ม” ท่ามกลางเสียงแซวว่าจะจับมือกันถึงปี 70
LIVE แพทองธาร อาการหนัก | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2568
‘เพื่อไทยดิ่งเหว ทักษิณมืดมน’ อดีตบิ๊กศรภ. ชี้ไม่เกิน 4 เดือน!
พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ ชี้พรรคเพื่อไทยกำลังเผชิญวิกฤตศรัทธา จากนโยบายกาสิโน-แจกเงินไม่ดูฐานะการคลัง เตือนบทบาททักษิณครอบงำรัฐบาลจนทุกอย่างมุ่งสู่จุดจบทางการเมืองและกฎหมาย
ยึดดาบ ภท.? | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2568
เสียงจาก หญิงหน่อย วิพากษ์รัฐบาลเพื่อไทย | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2568