ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 43)

 

ไชยันต์ ไชยพร

ก่อนจะเกิดรัฐธรรมนูฉบับที่ 4 หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490  เรามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 และฉบับที่ 3 คือฉบับ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489  ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ที่ใช้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 2475-2489 เป็นรัฐธรรมนูญที่นำไปสู่ระบอบคณาธิปไตยสืบทอดอำนาจโดยคณะราษฎร สาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญคณาธิปไตยสืบทอดอำนาจโดยคณะราษฎร ได้แก่

1. การเปิดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มีสิทธิ์รับรองคณะรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1

2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มีจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 ที่มาจากการเลือกตั้ง

3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี และ

4. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ชุดแรกที่แต่งตั้งขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2476 มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ที่มาจากการทำรัฐประหาร

5. คณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ที่มาจากการทำรัฐประหาร แต่งตั้งตัวเองและพวกพ้องซึ่งส่วนเป็นสมาชิกคณะราษฎรให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2

6. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 รับรองตัวเองให้เป็นคณะรัฐมนตรี

จาก 1-5 บรรดาสมาชิกคณะราษฎรต่างแต่งตั้งตัวเองกลับไปกลับมาหมุนเวียนกันเป็นคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 เป็นระยะเวลาถึง 13 ปี จนมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นั่นคือ ฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489                                               

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 นี้ แม้จะยกเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และให้มีสมาชิกพฤฒสภาขึ้นแทน แต่ก็ยังกำหนดให้สมาชิกพฤฒสภามีสิทธิ์ในการรับรองคณะรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง  และแม้ว่าจะกำหนดให้สมาชิกพฤฒสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 นี้ได้กำหนดไว้ว่า ในช่วงแรกให้สมาชิกพฤฒสภามาจากการเลือกของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ทีนี้ เรามาดูกันว่า สมาชิกพฤฒสภาที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกขึ้นมาเป็นจำนวน 80 คนตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นใครและพวกใครบ้าง

รายชื่อสมาชิกพฤฒสภาที่เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2489 

(เครื่องหมาย * หมายถึง สมาชิกคณะราษฎร, เครื่องหมาย ** หมายถึง เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มาก่อน)

  1. พันตรี หม่อมหลวงกรี  เดชาติวงศ์ */**
  2. เรือเอก กำลาภ  กาญจนสกุล  */**
  3. พันโท ก้าน   จำนงภูมิเวท  (ไม่เคย)
  4. นายแก้ว  สิงหะคเชนทร์  (ไม่เคย)
  5. นาวาอากาศเอก กาจ เก่งระดมยิง   */** (ธันวาคม 2476)
  6. พลเรือตรี กระแส  ประวาหะนาวิน  สรยุทธเสนี  (ไม่เคย)
  7. พลโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต */** (ธันวาคม 2476)
  8. นายเขียน  กาญจพันธุ์  (ไม่เคย)
  9. พลโท จิร วิชิตสงคราม  **
  10. นายจรูญ  สืบแสง  */ ** 
  11. นายจิตตะเสน ปัญจะ  (ไม่เคย)
  12. พันโท เจือ  สฤษฎิ์ราชโยธิน  (ไม่เคย)
  13. นายจำรัส สุวรรณชีพ  */**
  14. นายจินดา  พันธุมจินดา 
  15. นายจำลอง ดาวเรือง
  16. พลโท จรูญ  รัตนกุล  เสรีเริงฤทธิ์  */**
  17. นายเฉลียว ปทุมรส */**
  18. พันเอก  หลวงชาญสงคราม (กฤษณ  ชาลีจันทร์)  */**
  19. พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม  */** 
  20. หลวงชำนาญนิติเกษตร์  (อุทัย  แสงมณี) */**    
  21. นายพันตำรวจโท ชั้น  รัศมิทัต  */**
  22. นายชาญ  บุนนาค **
  23. นายชุณฑ์ ปิณฑานนท์ */**
  24. พลตรี  ไชย  ประทีปะเสน */**
  25. นายช่วย สุคนธมัต
  26. ร้อยโท เชย  กลัญชัย *
  27. นายดิเรก ชัยนาม */**
  28. นายเดือน  บุนนาค  */**
  29. นายไต๋ ปาณิกบุตร
  30. พลเรือตรี ถวัลย์  ธำรงนาวาสวัสดิ์  */**
  31. นายถวิล อุดล
  32. เรือเอก ทิพย์  ประสานสุข */**
  33. นายทองม้วน สถิรบุตร
  34. พันเอก ทวน  วิชัยขัทคะ */**
  35. พันเอก เทศ กิตติรัต (หลวงโยธาณัติการ)  */**
  36. ร้อยตรี  เที่ยง  เฉลิมศักดิ์ *
  37. นายทัน พรหมิทธิกุล
  38. นายเธียรไท  อภิชาตบุตร์
  39. พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี  นลนาชสุวัจน์) 
  40. พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์  (วัน  จามรมาน) */**
  41. พระนิติการณ์ประสม (สงวน  ชัยเฉนียน)
  42. นายบรรจง  ศรีจรูญ */**
  43. นายประเสริฐ ศรีจรูญ  */**
  44. นายปรีดี  พนมยงค์  */**
  45. นายปราโมทย์ พึ่งสุนทร
  46. เรือเอก ประเสริฐ  สุขสมัย */**
  47. พลตรี ปลด  ปลดปรปักษ์  พิบูลภานุวัธน์ */**
  48. พลโท ประจน  มหาดิลก  ประจนปัจจนึก **
  49. นายปพาฬ บุญ-หลง
  50. หลวงประสิทธิ์นรกรรม (นายเจี่ยน  หงสประภาส)
  51. พลตรี ประยูร  ภมรมนตรี */**
  52. นายประทุม  รมยานนท์
  53. นายผูก ปาลธรรมี
  54. พันตำรวจเอก พระพิจารณ์พลกิจ 
  55. นายพึ่ง ศรีจันทร์
  56. พลโท มังกร  พรหมโยธี */**
  57. พระยามานวราชเสวี **
  58. นายมิ่ง  เลาห์เรณู
  59. พันเอก หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร์  **   
  60. นายเล้ง  ศรีสมวงศ์  */**
  61. นายวิจิตร ลุลิตานนท **
  62. นายวิลาส  โอสถานนท์ */**
  63. ร้อยเอก วิมล วิมลสรกิจ */**
  64. เรือเอก วัน  รุยาพร */**
  65. ร้อยโท วิริยะ  วิริยะเหิรหาว
  66. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร 
  67. พลตรี เศียร สู่ศิลป์ */**
  68. นายสิริ  ชาตินันทน์ */**
  69. นายสงวน จูฑะเตมีย์ */**
  70. พระสุธรรมวินิจฉัย  (ชม  วณิกเกียรติ) **
  71. พันตรี สมาน  เทพหัสดิน  ณ  อยุธยา */**
  72. นายสนิท  เจริญรัฐ
  73. นายสุรินทร์ ชิโนทัย  */**
  74. นายสุกิจ  นิมมานเหมินท์
  75. นายไสว อินทรประชา
  76. พันตรี  สเหวก  นิรันดร */**
  77. พันโท พระอภัยพลรบ (ชลอ  อินทรัมพรรย์)
  78. นายเอก  สุพโปฎก */**
  79. หลวงอรรถกัลยาณวินิจ (เอื้อน  ยุกตะนันทน์)
  80. นายอรุณ  แสงสว่างวัฒนะ            

ในสมาชิกพฤฒสภา 80 คน พบว่า เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 เป็นจำนวน 45  คน   และเป็นสมาชิกคณะราษฎร 51 คน

หมายความว่า กว่าครึ่ง (45/80 คน) ของสมาชิกพฤฒสภาสืบต่อมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และกว่าครึ่ง (51/80) ของสมาชิกพฤฒสภาเป็นสมาชิกคณะราษฎร           

ถ้าจะใช้คำว่า เหล้าเก่าในขวดใหม่ ก็คงจะไม่ผิดนัก

ในตอนต่อไป เราจะมาดูกันว่า สมาชิกพฤฒสภาที่เหลือที่ไม่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และไม่ได้เป็นสมาชิกคณะราษฎรเป็นใคร มาจากไหน ?

ขอยกตัวอย่างสมาชิกท่านหนึ่งมาพอเป็นการเรียกน้ำย่อย นั่นคือ คุณพึ่ง  ศรีจันทร์ ที่ไม่ได้เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มาก่อน และไม่ได้ปรากฏว่าเป็นสมาชิกคณะราษฎรด้วย

คุณพึ่งเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 จังหวัดอุตรดิตถ์  จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2480 และการเลือกตั้งวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 “เป็นเสรีไทย รับผิดชอบ ‘หน่วยสุโขทัย-อุตรดิตถ์’ เขตงาน 4 จังหวัด คือ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สุโขทัย และตาก มีฉายาที่เรียกขานว่า ‘นายพลผึ้ง’ ช่วยทำงานต่อต้านญี่ปุ่นและร่วมมือกับสัมพันธมิตรจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง  เป็นสมาชิกสภาฯ ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลที่ลงมติไม่ผ่านร่างกฎหมายเกี่ยวกับพระราชกำหนดสองฉบับ ทำให้หลวงพิบูลสงครามต้องลาออกจากนายกรัฐมนตรีในปี 2487”                 

พูดง่ายๆก็คือ คุณพึ่ง เป็น ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง และเคยเป็นเสรีไทย และอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม   คุณพึ่งเป็นคนฝ่ายใคร ? คงเดาได้นะครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วิสุทธิ์' วอน สว. 80-90 เสียง หนุนร่างแก้รธน. ตัดอำนาจวุฒิสภาให้ประเทศเป็นปชต.

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์กรณีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมของพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่น

'วรชัย' พูดเต็มปาก! 'ชวน' ไม่ควรว่าทักษิณ ถ้ายังกวาดบ้านตัวเองไม่สะอาด

นายวรชัย เหมะ อดีตสส.สมุทรปราการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ทำนองว่า ตัวเองเป็นนักการเมืองรุ่นเก่าที่ไม่โกง