ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 39): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

 

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น พลเอก เผ่า ศรียานนท์ พันเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พันเอก สวัสดิ์ สวัสดิเกียรติ และพันโท ถนอม กิตติขจร และพวกร่วมอยู่ด้วย ได้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจสำเร็จแล้ว ได้ประกาศยุบสภาและยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489  คณะรัฐประหารได้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่สี่นี้ ขึ้นเสนอผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อลงนามประกาศใช้ ซึ่งในสมัยนั้นสภาได้มีมติไว้ว่า การลงนามในหนังสือราชการ ผู้สำเร็จราชการจะต้องลงนามทั้ง 2 ท่าน แต่กรณีของรัฐธรรมนูญใต้ตุ่มนี้มีผู้ลงนามประกาศใช้เพียงผู้เดียวคือ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะที่พระยามานวราชเสวี ไม่ได้ลงนามร่วมด้วย ส่วนผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในครั้งนั้น คือ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย  (https://parliamentmuseum.go.th/ar63-Constitution2490.html) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร

ก่อนหน้าที่กรมขุนชัยนาทฯจะได้รับมติแต่งตั้งโดยรัฐสภาให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พร้อมกับพระยามานวราชเสวี หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเสวยราชย์หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2489   ย้อนเวลากลับไปในปี พ.ศ. 2481 กรมขุนชัยนาทฯทรงถูกจับเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาคดีกบฏโดยรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม 

ในตอนท้ายของบทความที่แล้ว ผู้เขียนได้ตั้งประเด็นไว้ว่า “ถ้าเอกสาร No. 76 BRITISH LEGATION  (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th , 1939 เป็นฉบับเดียวกับ FO 371/23586, Sir Josiah Crosby to FO, 7 February 1939  ที่อาจารย์กอบเกื้อใช้อ้างอิง อาจารย์กอบเกื้อน่าจะต้องตอบข้อสงสัยที่เกิดขึ้นว่า ท่านเขียนข้อความที่ว่า ‘พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้ทรงตรัสกับเอกอัครราชทูตอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ พระปิตุลาที่รักของรัชกาลที่แปด มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการสมรู้ร่วมคิด’  นี้ขึ้นมาได้อย่างไร ? แต่ถ้าเอกสาร No. 76 BRITISH LEGATION  (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939 เป็นคนละฉบับกับ FO 371/23586, Sir Josiah Crosby to FO, 7 February 1939  ที่ท่านอาจารย์กอบเกื้อใช้ แต่ผู้ค้นเอกสารที่หอจดหมายเหตุอังกฤษยืนยันว่า เอกสารของเซอร์โจซาย ครอสบี้ที่รายงานกลับไปกระทรวงต่างประเทศลงวันที่  7 February 1939  มีเพียงฉบับเดียวคือ No. 76 BRITISH LEGATION  (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939  ผู้เขียนคงต้องขอความกรุณาท่านอาจารย์กอบเกื้อช่วยชี้แนะโดยการเปิดเผยสำเนาเอกสารอ้างอิงที่ท่านอาจารย์ใช้ในการเขียนข้อความที่ว่า  พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้ทรงตรัสกับเอกอัครราชทูตอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ พระปิตุลาที่รักของรัชกาลที่แปด มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการสมรู้ร่วมคิด’  ด้วย จักเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ”                                       

------------

ล่าสุด ผู้เขียนยังไม่ได้รับการตอบใดๆจากท่านอาจารย์กอบเกื้อ ดังนั้น นิสิตนักศึกษาและนักวิชาการควรจะชะลอการอ้างอิงข้อความที่ยังเป็นประเด็นนี้ไว้ก่อน ส่วนที่เคยอ้างอิงไปแล้ว ก็น่าจะมาช่วยกันค้นหาว่า ตกลงแล้ว มีเอกสาร FO ใดที่กล่าวว่า “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้ทรงตรัสกับเอกอัครราชทูตอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ พระปิตุลาที่รักของรัชกาลที่แปด มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการสมรู้ร่วมคิด (การก่อกบฏ/ผู้เขียน)”

ในตอนนี้ จะขอนำข้อความที่น่าสนใจจากรายงานของเซอร์โจซาย ครอสบี้ (No. 76 BRITISH LEGATION  (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939) มาให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาต่อจากตอนที่แล้ว

-----------------   

“No. 76 BRITISH LEGATION  (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939

5.….ในอีกแง่หนึ่ง ความพยายามที่จะลอบสังหารหลวงพิบูลอย่างขี้ขลาดที่เกิดขึ้นซ้ำๆได้เกิดขึ้นจริง โดยคนที่เป็นตัวการแอบอยู่เบื้องหลังและใช้คนอื่นลงมือด้วยวิธีการที่อ่อนด้อย จริงๆแล้ว พระยาทรงสุรเดชและพวกของเขาในกองทัพบกได้เปิดเผยความเป็นปฏิปักษ์ต่อฝ่ายของหลวงพิบูลฯอย่างชัดเจนมาตลอด รวมทั้งความรู้สึกที่เป็นมิตรต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวของพระยาทรงฯและพวกก็ไม่ได้เป็นความลับ

(ข้อความดังกล่าวนี้ของเซอร์โจซาย ครอสบี้ ผู้เขียนตีความว่า เขาต้องการสื่อว่า ข่าวที่ว่า การที่คนขับรถพยายามลอบยิงหลวงพิบูลฯในขณะที่เขากำลังใส่กางเกง และคนครัวลอบวางยาพิษ หรือมีคนลอบยิงในขณะที่หลวงพิบูลฯกำลังจะขึ้นรถ แม้จะเกิดขึ้นจริง แต่ไม่น่าจะเป็นฝีมือของพระยาทรงฯและพวก เพราะพระยาทรงฯไม่น่าจะใช้คนและวิธีการแบบนั้น (วิธีการที่ขี้ขลาด) ในการสังหารหลวงพิบูลฯ)

ในความเกี่ยวเนื่องนี้ จึงเหมาะสมที่จะตั้งคำถามว่า พระยาทรงฯคิดอะไรอยู่ในการที่เขาเดินทางไปราชบุรี ที่ไม่ห่างจากเมืองหลวง และเป็นศูนย์บัญชาการทหารที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดต่างๆ   ท้ายที่สุด ควรพิจารณาถึงพระดำริ (ทัศนะ/ผู้เขียน) ของพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ด้วย  ในการสนทนากับพระองค์ท่านเมื่อสองวันก่อน ข้าพเจ้าได้แสดงความเห็นไปว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯไม่น่าที่จะทรงร่วมรู้เห็นกับความพยายามสังหารหลวงพิบูลฯ และที่ทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจก็คือ พระองค์จุลฯทรงตอบว่า พระองค์ไม่แน่ใจนัก (กับความเห็นของเซอร์โจซาย/ผู้เขียน) พระองค์จุลฯตรัสว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯได้ทรง ‘สิ้นหวัง’ (desperate) และเป็นปกติที่พระองค์จะทรงไม่รับรู้ต่อสิ่งที่ไม่ดีต่างๆที่จะเกิดขึ้น แต่สิ่งเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อพระองค์  แต่ข้าพเจ้าต้องขอเรียนว่า พระองค์จุลฯไม่ใช่ผู้ที่มีความรู้สึกที่ดีต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ (I admit that Chula is no lover of the ex-King)  ดังนั้น คำของพระองค์อาจจะเจือด้วยอคติ แต่สิ่งที่พระองค์ทรงกล่าวมานี้ ดูจะยืนยันข้อสงสัยนั้น ที่ไม่ต่างจากที่คนในรัฐบาลเชื่อ ที่ว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯยังทรงฝักใฝ่ในเรื่องการเมืองของประเทศอยู่อย่างลับๆ และพระองค์ไม่เคยทรงหยุดที่จะดำเนินการใต้ดินในการต่อต้านระบอบการปกครองใหม่

6.ในกรณีการดำเนินคดี (ต่อผู้ถูกจับกุม/ผู้เขียน) ของรัฐบาล ก็เช่นกัน …ในการปกป้อง (ระบอบการปกครองใหม่/ผู้เขียน) รัฐบาลกำลังพิจารณากำหนดโทษรุนแรงขั้นสูงสุด และการพิจารณาคดีบรรดาผู้ถูกกล่าวหาย่อมจะดำเนินไปในลักษณะยากที่จะหาความจริงได้ และมันง่ายสำหรับฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐจะกุพยานหลักฐานเพื่อเล่นงานบรรดาผู้ถูกกล่าวหา และผู้ถูกกล่าวหาก็ยากที่จะโต้แย้งอะไรได้ ยิ่งไปกว่านั้น การเสนอให้ริบพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมาชิกคนสำคัญในพระบรมวงศานุวงศ์ดูจะเป็นอะไรที่มากไปกว่าเพียงการลงโทษเท่านั้น แต่ดูจะเป็นการพยาบาทแก้แค้นและอาจจะเป็นความพยายามที่จะตีกลับไปที่ฐานสำคัญของราชบัลลังก์ มิพักต้องกล่าวถึงช่องทางการที่จะปล้นทรัพย์สิน (พระมหากษัตริย์/ผู้เขียน) เมื่อพิจารณาทุกอย่างแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่า รัฐบาลมีเจตนาที่น่าสงสัย”

--------------

(โปรดติดตามรายงานของเซอร์โจซาย ครอสบี้ ในตอนต่อไป)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จิรายุ' ตีปาก 'สส.โรม' อย่าพูดให้ประเทศเสียหาย ปมยิงอดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้รับรายงานจาก พลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรณีมีอดีต สส. ของกัมพูชา ถูกยิงเสียชีวิตในประเทศไทยแล้ว

นายกฯ ยันไร้แผนปรับครม. ตอนนี้พรรคร่วม-รมต.ไม่มีใครดื้อ ไม่เสียใจ 'ทักษิณ' พูดนำก่อน

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงนโยบายปรับลดค่าไฟตรงนี้ถือเป็นหลักประกันเก้าอี้ของ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงานด้วยหรือไม่ ว่า อันนี้ไม่ทราบเลยว่าทำไม

‘สรวงศ์’ โต้รัฐบาลรับลูกพ่อนายกฯ อ้างเป็นแค่วิสัยทัศน์อดีตผู้นำ

ทำเนียบรัฐบาล นายสรวงศ์ เทียนทอง รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร การกา

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ร่างแก้ไขรธน.เพิ่มหมวด 15/1 ตั้งสสร.ร่างรธน.ฉบับใหม่ มีผลเท่ากับยกเลิกรธน.ทั้งฉบับ

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฏฐ์  นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีพรรคเพื่อไทยเตรียมขอมติจากที่ประชุม สส.ของพรรค เห็นชอบกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ฝ่ายกฎหมายของพรรคจัดทำไว้เสนอประกบกับร่างของ