รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น พลเอก เผ่า ศรียานนท์ พันเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พันเอก สวัสดิ์ สวัสดิเกียรติ และพันโท ถนอม กิตติขจร และพวกร่วมอยู่ด้วย ได้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจสำเร็จแล้ว ได้ประกาศยุบสภาและยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 คณะรัฐประหารได้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่สี่นี้ ขึ้นเสนอผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อลงนามประกาศใช้ ซึ่งในสมัยนั้นสภาได้มีมติไว้ว่า การลงนามในหนังสือราชการ ผู้สำเร็จราชการจะต้องลงนามทั้ง 2 ท่าน แต่กรณีของรัฐธรรมนูญใต้ตุ่มนี้มีผู้ลงนามประกาศใช้เพียงผู้เดียวคือ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะที่พระยามานวราชเสวี ไม่ได้ลงนามร่วมด้วย ส่วนผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในครั้งนั้น คือ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย (https://parliamentmuseum.go.th/ar63-Constitution2490.html) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร
ก่อนหน้าที่กรมขุนชัยนาทฯจะได้รับมติแต่งตั้งโดยรัฐสภาให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พร้อมกับพระยามานวราชเสวี หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเสวยราชย์หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2489 ย้อนเวลากลับไปในปี พ.ศ. 2481 กรมขุนชัยนาทฯทรงถูกจับเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาคดีกบฏโดยรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม
ในตอนท้ายของบทความที่แล้ว ผู้เขียนได้ตั้งประเด็นไว้ว่า “ถ้าเอกสาร No. 76 BRITISH LEGATION (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th , 1939 เป็นฉบับเดียวกับ FO 371/23586, Sir Josiah Crosby to FO, 7 February 1939 ที่อาจารย์กอบเกื้อใช้อ้างอิง อาจารย์กอบเกื้อน่าจะต้องตอบข้อสงสัยที่เกิดขึ้นว่า ท่านเขียนข้อความที่ว่า ‘พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้ทรงตรัสกับเอกอัครราชทูตอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ พระปิตุลาที่รักของรัชกาลที่แปด มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการสมรู้ร่วมคิด’ นี้ขึ้นมาได้อย่างไร ? แต่ถ้าเอกสาร No. 76 BRITISH LEGATION (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939 เป็นคนละฉบับกับ FO 371/23586, Sir Josiah Crosby to FO, 7 February 1939 ที่ท่านอาจารย์กอบเกื้อใช้ แต่ผู้ค้นเอกสารที่หอจดหมายเหตุอังกฤษยืนยันว่า เอกสารของเซอร์โจซาย ครอสบี้ที่รายงานกลับไปกระทรวงต่างประเทศลงวันที่ 7 February 1939 มีเพียงฉบับเดียวคือ No. 76 BRITISH LEGATION (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939 ผู้เขียนคงต้องขอความกรุณาท่านอาจารย์กอบเกื้อช่วยชี้แนะโดยการเปิดเผยสำเนาเอกสารอ้างอิงที่ท่านอาจารย์ใช้ในการเขียนข้อความที่ว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้ทรงตรัสกับเอกอัครราชทูตอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ พระปิตุลาที่รักของรัชกาลที่แปด มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการสมรู้ร่วมคิด’ ด้วย จักเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ”
------------
ล่าสุด ผู้เขียนยังไม่ได้รับการตอบใดๆจากท่านอาจารย์กอบเกื้อ ดังนั้น นิสิตนักศึกษาและนักวิชาการควรจะชะลอการอ้างอิงข้อความที่ยังเป็นประเด็นนี้ไว้ก่อน ส่วนที่เคยอ้างอิงไปแล้ว ก็น่าจะมาช่วยกันค้นหาว่า ตกลงแล้ว มีเอกสาร FO ใดที่กล่าวว่า “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้ทรงตรัสกับเอกอัครราชทูตอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ พระปิตุลาที่รักของรัชกาลที่แปด มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการสมรู้ร่วมคิด (การก่อกบฏ/ผู้เขียน)”
ในตอนนี้ จะขอนำข้อความที่น่าสนใจจากรายงานของเซอร์โจซาย ครอสบี้ (No. 76 BRITISH LEGATION (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939) มาให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณา
-----------------
“No. 76 BRITISH LEGATION (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939
1.จากการอ้างอิงถึงโทรเลขของข้าพเจ้าหมายเลข 5 และ 8 ลงวันที่ 30 มกราคม และ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตามลำดับ ข้าพเจ้าได้เข้ารับฟังเกี่ยวกับการค้นพบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนล้มล้างรัฐบาล
2. ทางการได้ดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 ม.ค. เมื่อกระทรวงกลาโหมออกคำสั่งให้ปลดพระยาทรงสุรเดชออกจากราชการโดยไม่มีเงินบำนาญหรือบำเหน็จ พระยาทรงสุรเดชเป็นผู้นำกองทัพในฝ่ายตรงกันข้ามกับหลวงพิบูล (นายกรัฐมนตรี) ในขณะที่ พระยาทรงสุรเดช ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนฝึกทหาร จังหวัดเชียงใหม่ (โรงเรียนรบ/ผู้เขียน) ภาคเหนือของสยาม
ขณะนั้น พระยาทรงสุรเดชได้เดินทางลงใต้พร้อมนายทหารประมาณ 20 นายซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสังกัด และกล่าวกันว่าเดินทางไปอบรมภาคสนามในเขตราชบุรีทางทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ ต่อมาเขาถูกขับออกจากประเทศ โดยถูกส่งไปชายแดนอินโดจีนของฝรั่งเศส ขณะที่เดินทางไป เขาอยู่ภายใต้การดูแลของตำรวจ และสันนิษฐานว่า ขณะนี้ เขากำลังอาศัยอยู่ในอินโดจีน
ในวันเดียวกันนั้น (28 มกราคม) มีคำสั่งฉบับที่สองให้ปลดนายทหารที่เป็นผู้บังคับบัญชาเขตทหารราชบุรี ออกจากราชการโดยไม่มีเงินบำนาญหรือบำเหน็จ คำสั่งฉบับที่สามได้ปลดนายทหารกองทัพบกอีก 7 นายในลักษณะเดียวกัน
วันรุ่งขึ้น (29 ม.ค.) มีการจับกุมจำนวนบุคคลอีกจำนวนหนึ่ง และมีการออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการจากสำนักงานประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล โดยผู้ถูกควบคุมตัวถูกสงสัยว่ามีส่วนในสมรู้ร่วมคิดสร้างความวุ่นวายในประเทศและลอบสังหารบุคคลสำคัญที่ดำรงตำแหน่งในรัฐบาลปัจจุบัน และเปลี่ยนรูปแบบการปกครอง และจะคืนราชบัลลังก์ให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือแต่งตั้งพระอนุชาคือ กรมพระนครสวรรค์ฯ ซึ่งปัจจุบันทรงประทับอยู่ที่เกาะชวา
ต่อมามีการระบุในสื่อหนังสือพิมพ์ แต่ไม่ได้มีรับรองจากทางการว่า ผู้สมรู้ร่วมคิดได้เตรียมการทางการเงินทั้งในเมืองหลวงและภายในประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะโจมตีกรุงเทพฯ จากทางใต้และตะวันออกเฉียงเหนือโดยกองทหารที่ประจำการอยู่ในจังหวัดต่างๆ ซึ่งดูจะไม่ต่างจากยุทธวิธีในต่อต้านการปฏิวัติ (การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475/ผู้เขียน) ของพระองค์เจ้าบวรเดชฯ ที่เคยทำมาแล้วในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476
3. ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม มีการจับกุมเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องทั้งในกรุงเทพฯ และนอกกรุงเทพฯ และขณะนี้มีผู้ถูกควบคุมตัวแล้วประมาณแปดสิบคน ส่วนใหญ่เป็นนายทหารกองทัพบกไม่ว่าจะอยู่ในประจำการหรือเกษียณอายุแล้ว แต่ก็มีพลเรือนอยู่ด้วย ในจำนวนนี้เป็นนักข่าวเพียงไม่กี่คนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งมา (ในสมัยนั้น มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสองประเภท ประเภทที่หนึ่งมาจากการเลือกตั้ง ประเภทที่สองมาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี/ผู้เขียน)
การจับกุมที่สร้างความสะเทือนใจที่สุด คือ การจับกุมกรมขุนชัยนาทนเรนทร พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเป็นหนึ่งในพระบรมวงศานุวงศ์เพียงไม่กี่พระองค์ที่ยังประทับอยู่ในสยามหลังการปฏิวัติเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2475 มาโดยตลอด พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นเจ้านายที่เงียบๆ ถ่อมพระองค์ และปลีกตัวจากการเมือง การที่พระองค์ทรงถูกควบคุมพระองค์ทำให้สาธารณชนสับสนมาก นอกจากการจับกุมพระองค์แล้ว ยังมีตำรวจตรวจที่พักของผู้ต้องหาอีกหลายครั้ง รวมถึงที่ประทับของสมาชิกในพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์”
(โปรดติดตามรายงานของเซอร์โจซาย ครอสบี้ ในตอนต่อไป)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โธ่!บุคคลสาธารณะ 'ชูศักดิ์-เพื่อไทย' จ่อฟ้อง 'ธีรยุทธ'
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย เตรียมฟ้องกลับนายธีรยุทธ
'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการ
‘ยิ่งลักษณ์’ กลับคุก ‘บิ๊กเสื้อแดง’ รู้มา! ว่าไปตามราชทัณฑ์ไม่ใช้สิทธิพิเศษ
“เลขาฯ แสวง” ยันเดินหน้าคดี “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างการปกครองต่อ เพราะใช้กฎหมายคนละฉบับกับศาล รธน. "จตุพร" ลั่นยังไม่จบ! ต้องดูสถานการณ์เป็นตอนๆ ไป
ลุ้นระทึก! เลือก ‘อบจ.’ 3 จว. ‘กกต.’ จับตาที่อุดรฯแข่งดุ
“เลขาฯ แสวง” มั่นใจเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี แข่งขันสูงไม่ใช่ปัญหา แต่ช่วยกระตุ้นประชาชนออกมาใช้สิทธิ เผยมีเรื่องร้องเรียน 2 เรื่อง ใส่ร้ายระหว่างผู้สมัคร เร่งตรวจสอบ
'วรชัย' ชี้ 'ยิ่งลักษณ์' ไม่ได้รับความเป็นธรรม บอกกลับไทยตามกระบวนการไม่มีสิทธิพิเศษ
นายวรชัย เหมะ อดีตสส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ออกมาบอกว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
กกต. มั่นใจเลือกตั้ง นายกอบจ.อุดรธานี แข่งขันสูงไม่ใช่ปัญหา
นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้สัมภาษณ์ระหว่างไปตรวจเยี่ยมการรับมอบวัสดุอุปกรณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการเ