ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 30: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475)

 

ผู้เขียนขอหยิบยกรายงานจากสถานทูตอื่นๆที่มีต่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อจากตอนที่แล้ว โดยผู้เขียนได้คัดลอกมาจากหนังสือ ฝรั่งมองไทยในสมัยรัชกาลที่ 7: ตะวันออกที่ศิวิไลซ์ ของ ธีระ นุชเปี่ยม จัดทำโดยมูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี

5.2 ตะวันตกมองการเริ่มต้นของระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในสยาม

“ในการรับรู้และความเข้าใจของอัครราชทูตอังกฤษ หากกลุ่มหัวไม่รุนแรงสามารถจะเสริมฐานะทางอำนาจของกลุ่มให้เข้มแข็งได้ ‘….ก็จะมีความหวังสำหรับอนาคตของสยามมากกว่าที่เคยมีมาแล้ว ไม่ว่าจะในช่วงใดหลังการปฏิวัติเมื่อเดือนมิถุนายนที่แล้ว’ 

นอกจากนั้น เขายังมีทัศนะที่ค่อนข้างเป็นลบต่อสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้นด้วยในการยุบสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ ผู้นำรัฐบาลมิได้ดำเนินการเร็วเกินไปสภาแห่งนี้มิได้ตอบสนองวัตถุประสงค์ที่เป็นประโยชน์ และก็มิได้ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นใดๆ แทบจะไม่มีคนในในบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร      ที่มีประสบการณ์ทางการเมือง แต่ตราบใดที่ยังคงมีบทบาทในลักษณะของสำนักทะเบียน (registry office) ก็จะไม่มีพิษมีภัยอะไร อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังๆ มานี้ หลวงประดิษฐ์มนูธรรมและกลุ่มผู้สนับสนุน 3-4 คนในคณะรัฐบาล เมื่อเห็นว่าฝ่ายตนเป็นเสียงข้างน้อย ก็เริ่มกระตุ้นให้เกิดการต่อต้านขึ้นในบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นผู้ที่พวกเขาเสนอแต่งตั้งเข้ามาเมื่อมีการจัดตั้งสภาแห่งนี้ พวกเขาไม่มีกลุ่มผู้สนับสนุนนอกสภาแต่ในสภาผู้แทนราษฎรมีสมาชิกประมาณ 25-30 คนจากทั้งหมด 70 คนที่พวกเขาพึ่งพาได้ ในเดือนมิถุนายนจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้มีสมาชิกทั้งจากการเลือกตั้งและแต่งตั้งรวมกัน 240 คน (น่าจะผิดพลาด เพราะตัวเลขที่ถูกต้องคือ ประมาณ 140 คน/ผู้เขียน) สภาผู้แทนราษฎรก็คงจะกลายเป็นสภาฝูงชน (mob assembly) และก็ไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่ลู่ทางเช่นนี้จะทำให้พวกหัวไม่รุนแรงเกิดความวิตกหวาดผวา ข้าพเจ้าเห็นว่าแถลงการณ์ของรัฐบาล [ที่อธิบายเรื่องการออกพระราชกฤษฎีกายุบสภา] เป็นการแถลงข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา

อัครราชทูตอังกฤษได้ระบุในรายงานฉบับเดียวกันนี้ด้วยว่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมาพระนครในวันที่ 11 มีนาคม แล้ว ก็ประทับอยู่เพียง 2-3 วัน จากนั้นก็ได้เสด็จกลับไปหัวหินและประทับอยู่ที่นั่นตลอดมา

อัครราชทูตอังกฤษย้ำว่า ‘แน่นอน ไม่เป็นที่สงสัยเลยแม้แต่น้อยว่ารัฐบาลได้กระทำการไปตามที่พระองค์จะทรงปรารถนา [1] แต่ข้าพเจ้าคิดว่า รัฐบาลดำเนินการโดยดำริของตนเอง แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงให้ความเห็นชอบก็ตาม’                       

สถานอัครราชทูตฝรั่งเศสได้รายงานสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้น ค.ศ. 1933 ไว้โดยละเอียดเช่นเดียวกัน ผู้ที่มีส่วนสำคัญในการจัดทำรายงานเหล่านี้ คือ พันโท รูซ์ ผู้ช่วยทหารประจำสถานอัครราชทูต ความเคลื่อนไหวสำคัญที่ปรากฏในรายงานมีตั้งแต่ข่าวลือเกี่ยวกับการก่อการรัฐประหารครั้งใหม่โดย ‘ฝ่ายฝักใฝ่เจ้า’ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ไปจนกระทั่งเหตุการณ์รุนแรงของ ‘กบฏบวรเดช’ ในเดือนตุลาคมต่อมา

การรัฐประหารครั้งใหม่ที่ลือกันว่ากำลังอยู่ในระหว่างเตรียมการนั้นถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับสมาชิกของ ‘คณะชาติ’ ที่ได้ถูกปฏิเสธไม่ให้จัดตั้งขึ้น และในช่วงเดียวกันนี้ ก็มีความขัดแย้งรุนแรงในคณะรัฐมนตรีระหว่างพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี และพันเอก พระยาทรงสุรเดช ผู้นำสำคัญคนหนึ่งของคณะราษฎร

พันเอก พระยาทรงสุรเดช เสนอให้ยกเลิกการหยุดราชการในวันที่ 6 เมษายน ซึ่งเป็นวัน ‘จักรี’ และให้มีวันหยุด 3 วันเนื่องในโอกาสครบรอบวันก่อการปฏิวัติ วันที่ 24 มิถุนายน แทน

ธาดาได้ถาม พันเอก พระยาทรงสุรเดช ว่า เสียสติไปหรือเปล่า และลืมไปแล้วหรือว่า ราชวงศ์จักรีนั้นมีความสำคัญต่อประเทศอย่างไร พระยาทรงสุรเดชตอบว่า ถ้าข้าพเจ้าเสียสติ ข้าพเจ้าก็จะแสดงให้เห็นว่ายังสามารถกระทำการเรื่องเสียสติเรื่องอื่นๆ ได้อีก นับตั้งแต่นั้นมา ก็มีกรณีวิวาทเกิดขึ้นอีกหลายครั้งในที่ประชุมดังกล่าว’

การแสดงท่าทีต่อต้านราชวงศ์ของผู้นำคณะราษฎรบางคนเช่นที่กล่าวข้างต้น น่าจะเกี่ยวข้องกับการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จพระราชดำเนินจากหัวหินเพื่อการพระราชพิธีฉัตรมงคลในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ด้วย

รายงานของพันโท รูซ์ กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ไว้ดังนี้

‘ตามหมายกำหนดการพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะต้องเสด็จพระราชดำเนินกลับจากแปรพระราชฐาน ณ พระราชวังหัวหินมายังกรุงเทพฯ เมื่อ 3 วันก่อน เพื่อทรงเป็นองค์ประธานฉลองครบรอบวันบรมราชาภิเษก ข้าราชการทุกฝ่ายได้เดินทางไปรอถวายการต้อนรับที่สถานีรถไฟ แต่ก็ต้องผิดหวัง เพราะพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมา วันรุ่งขึ้นมีประกาศแถลงการณ์สั้นๆ ในหนังสือพิมพ์ว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรเล็กน้อย จึงต้องเปลี่ยนแปลงวันเสด็จพระราชดำเนินกลับ’   

กล่าวคือ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ‘….จึงดูประหนึ่งว่าได้เกิดสงครามเย็นระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับคณะราษฎร…..’ 

รายงานฝรั่งเศสกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ‘….ที่แน่นอนก็คือ มีผู้นำหลายคนของคณะปฏิวัติ ซึ่งเคยกระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อองค์พระมหากษัตริย์ในขณะที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เกิดความอับอายขายหน้าที่ต้องประกอบพิธีขอพระราชทานอภัยโทษอย่างเอิกเกริก ประสงค์จะแก้หน้าตนเองด้วยการตัดลิดรอนเอกสิทธิ์ขององค์พระมหากษัตริย์ การเสนอให้ยกเลิกการจัดงานเฉลิมฉลองวันจักรี จึงเป็นเพียงแค่ฉากหนึ่งของสงครามเย็นนี้

นอกจากเรื่องนี้แล้ว ยังมีกรณีที่รัฐบาลตกลงให้นำช้างหลวงทุกเชือก (ยกเว้นช้างเผือก 2 เชือก) ไปปล่อยที่ป่าไม้สักอุตรดิตถ์เพื่อให้ ‘หากินเอง’  โดยรัฐบาลอ้างว่าเป็นการสอดคล้องกับมาตรการทางเศรษฐกิจ แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงและต่อเนื่องในหน้าหนังสือพิมพ์ จนในที่สุด ต้องยกเลิกมาตรการนี้และนำช้างกลับมาทั้งหมด

พันโท รูซ์ ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ‘ในสายตาของพวกเราชาวยุโรปแล้ว เรื่องช้างดังกล่าวดูจะไม่สู้สลักสำคัญแต่ประการใด  แต่เรื่องช้างนี้กลับจะมีผลกระทบต่อคณะรัฐบาลใหม่ยิ่งกว่าเรื่องอื่นใดเสียอีก’”

(โปรดติดตามตอนต่อไป)


[1] เป็นที่ประจักษ์ในเวลาต่อมาว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงเห็นด้วยกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดาในเรื่องการตัดสินใจยุบสภา แต่ก็ทรงเข้าใจปัญหาความยากลำบากที่นายกรัฐมนตรีต้องเผชิญอยู่ขณะนั้น (เชิงอรรถนี้อยู่ในหนังสือ ฝรั่งมองไทยในสมัยรัชกาลที่ 7: ตะวันออกที่ศิวิไลซ์ ของ ธีระ นุชเปี่ยม จัดทำโดยมูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!

นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง

ปากไว! นายกฯ อบรม 'พ่อนายกฯ' รอที่ประชุมเคาะก่อนไปพูดบนเวทีแจกเงินหมื่น

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขึ้นเวทีปราศัยหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น มอง

พิราบขาว ตามจิกทักษิณ ยกปราศรัยหาเสียงที่อุดร หลักฐานมัดครอบงำเพื่อไทย

ที่สำนักคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล แกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006 ยื่นเอกสารเพิ่มเติมต่อกกต.กรณีคำร้องยุบ 6 พรรคการเมือง