
(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม เรื่อง เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในเมืองหลวงของสยาม
“สืบเนื่องจากรายงานฉบับที่ 22/A ลงวันที่ 24 มิถุนายนฉบับที่แล้วของข้าพเจ้า (ดูตอนที่ 5/ผู้เขียน) ว่าด้วยการยึดอำนาจโดยทหารในบางกอกเมื่อเช้าวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา ส่งถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ข้าพเจ้ามีความยินดีที่จะรายงานให้ท่านทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบางกอกหลังจากวันก่อการปฏิวัติ 1 สัปดาห์
เรื่องที่จะรายงาน ได้แก่
เรื่องที่ 1 – พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยอมรับคำขาดที่ได้รับทูลเกล้าฯถวายและทรงยอมรับรัฐบาล ‘คณะราษฎร’
เรื่องที่ 2 – การประกาศใช้รัฐธรรมนูญปกครองแผ่นดิน (แนบฉบับแปลมา ณ ที่นี้ด้วย)
เรื่องที่ 3 – การแต่งตั้งคณะรัฐบาลชุดใหม่
1.ท่าทีของบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการทำรัฐประหาร
ในส่วนของพระมหากษัตริย์และท่าที่ของพระบรมวงศานุวงศ์และข้อสังเกตเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินฉบับใหม่ และบางส่วนของ “ข้อสังเกตเกี่ยวกับสถานการณ์ในช่วงที่การปฏิวัติก่อตัวขึ้น” ผู้เขียนได้กล่าวไปในตอนที่แล้ว ต่อไปจะได้กล่าวถึง “ข้อสังเกตเกี่ยวกับสถานการณ์ในช่วงที่การปฏิวัติก่อตัวขึ้น” ต่อไป
“เมื่อวันศุกร์ (วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475/ผู้เขียน) ข้าพเจ้าเชื่อว่าหน่วยทหารทุกหน่วยเห็นพ้องต้องกันเป็นเอกฉันท์ แต่ในความเป็นจริง ผู้ก่อการปฏิวัติแคลงใจต่อหน่วยทหารบางหน่วย ข้าพเจ้าเคยกล่าวไว้แล้วว่ากองทหารภายในจะต่อสู้กับพวกกบฏหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินพระทัยของกษัตริย์เท่านั้น ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงสรุปได้ว่า ผู้ก่อกบฏเพิกเฉยต่อหลักความปลอดภัยพื้นฐาน และต้องหยิบยกถ้อยคำที่ข้าพเจ้าเคยพูดกับท่านอัครราชทูตฝรั่งเศสว่า พวกกบฏอาศัยการต่อสู้ในยามสงครามปะปนกับการรักษาความปลอดภัยในยามสงบสุขแน่นอน ทั้งนี้ เพราะถนนสายต่างๆที่มุ่งไปยังพระราชวังดุสิต ซึ่งเป็นที่ทำการของรัฐบาลชุดใหม่ ไม่มีทหารคอยสอดส่องดูแลเลย มีเพียงทหารเรือติดดาบปลายปืนนายหนึ่งและเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกนายซึ่งปราศจากอาวุธ ทำหน้าที่ห้ามประชาชนเข้ามาในรัศมี 200 เมตร ไม่มีเครื่องกีดขวางใดๆ และไม่มีรถบรรทุกจอดขวาง กองทหารเรือและทหารม้าที่รักษาการณ์พระราชวังต่างพูดคุยกับพลเรือนอย่างเป็นปกติ และกลุ่มผู้ชายกลุ่มเล็กๆหลายกลุ่ม (ทั้งหมดประมาณ 150 คน) นอนระเกะระกะอยู่บนสนามหญ้า ไม่มีการเฝ้าระวังรถหุ้มเกราะติดปืนกลที่จอดเตรียมพร้อมอยู่บริเวณหน้าพระราชวังแต่อย่างใด กองทหารต่างสวมใส่ชุดธรรมดาโดยไม่ติดเครื่องหมายใหม่ที่ชัดเจน ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่าแค่รุบรรทุกกนึ่งหรือสองคันที่ขนปืนกล 2 กระบอกกับเหล่าทหารจิตใจแน่วแน่สัก 20 นาย ก็สามารถเข้ายึดรถหุ้มเกราะติดปืนกลอันเป็นกุญแจสำคัญของการปฏิวัติได้
จากบทสนทนาที่ได้ยินมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทสนทนาของทหารปืนใหญ่ที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงข้างต้นได้ความว่า พวกทหารไม่รู้เรื่องอะไรเลย ผู้บังคับบัญชาปลุกพวกเขาช่วงกลางคืน จากนั้นก็พาไปยังวังของเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ โดยแจ้งให้ทหารรับรู้วัตถุประสงค์ระหว่างทาง เหล่าทหารก็เชื่อฟัง เพราะเคยชินกับการทำตามคำสั่ง เหมือนกับที่เชื่อฟังผู้บับคับบัญชา ไม่ว่าจะเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ หรือนายทหารระดับนายพล และผู้บัญชาการระดับสูง ซึ่งถูกจับกุมที่วังของพวกเขา มีผู้บอกข้าพเจ้าว่า มีเพียงพลเอกพระยาเสนาสงคราม คนเดียวเท่านั้นที่คิดต่อต้าน จึงถูกทหารหงุดหงิดนายหนึ่งยิงเข้าที่ท้อง จนถึงขณะนี้ เขาคือเหยื่อเพียงรายเดียวของการปฏิวัติ พร้อมกับชาวฮินดูอีกคนที่พยายามปกป้องกรมพระนครสวรรค์วรพินิต ข้าพเจ้าเคยพบเห็น ‘ความหวาดระแวง’ ของทหารสยามบางนามาแล้ว ข้าพเจ้ามีตัวอย่างหนึ่งของเรื่องนี้ที่จะยกมาเป็นตัวอย่างได้ จากกรณีของบริษัทบรันดต์ (Brandt) ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ขณะนั้น พันตรี เดอลาลองด์ ตัวแทนของบริษัทบรัดต์ ยิงปืนออกไป โดยกระสุนต้องตก ณ จุดที่ห่างจากกลุ่มทดลอง 60 เมตร และพันตรี เดอลาลองต์กล่าวว่า เป็นระยะที่ไกลสุดของแรงระเบิดแล้ว คณะกรรมการอยู่หลังบังกอร์กระสอบทราย ขณะที่พลเอกผู้เป็นประธานในการทดลองกำลังเล่าเรื่องอยู่ มีคนตะโกนว่า ‘ลั่นกระสุนแล้ว’ คณะกรรมการทุกคนนอนราบลงกับพื้นหลังกระสอบทราย ทำให้กระสอบทรายร่วงใส่หลังของแต่ละคน
กองทัพสยามถูกปรับปรุงให้ทันสมัย มีอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติที่บางกอกทำให้เราวางใจได้ว่าจะไม่มีอันตรายจากฝ่ายสยามดังที่พูดกันในช่วง 2-3 ปีมานี้ นอกจากนั้น หน่วยงานนั้น หน่วยงานต่างๆของกองทัพสยามยังขาดระบบบริหารจัดการที่ดีพอ นับจากนี้ไป เราน่าจะสบายใจได้เรื่องแสนยานุภาพในการรุกรานของกองทัพสยาม นี่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่พิสูจน์ว่าอาวุธยุทโธปกรณ์ไม่ได้มีความสำคัญอะไรเลย หากผู้ใช้ไม่มีจิตใจที่หนักแน่นมั่นคง
ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งซึ่งดูจะเป็นอุปนิสัยเฉพาะของชาติของชาวสยามที่ข้าพเจ้าสังเกตเห็นก็คือ ในคืนวันเสาร์ที่ 25 ขณะเดินผ่านหน้าค่ายทหารกองพลที่ 1 ของผู้ก่อการปฏิวัติ ข้าพเจ้าได้ยินทหารพากันสวดมนต์ก่อนเข้านอนเหมือนเช่นเคย เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกปักรักษาองค์พระมหากษัตริย์และชาติไทย (เน้นโดยผู้เขียน)
บทสรุป
หลังการปฏิวัติที่ปราศจากการนองเลือด สยามก็เข้าสู่การปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งอย่างน้อย ก็ถือเป็นช่วงพักเพื่อรอดูผลจากการปกครองระบอบใหม่และเหตุการณ์อื่นๆที่จะตามมา อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าคิดว่า เรื่องนี้ยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ตรงกันข้าม ข้าพเจ้าเชื่อว่ายุคสมัยของความยากลำบากเพิ่งเริ่มต้นขึ้น การคาดคะเนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ยังเป็นไปไม่ได้ แม้แค่การประเมินสถานการณ์ในภาพกว้างก็ตามที สิ่งที่พอจะทำได้ในขณะนี้คือ สรุปประเด็นสำคัญที่มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
การจะบอกว่า การปฏิวัติทำให้ประชาชนชาวสยามตกใจก็เป็นไปไม่ได้เช่นกัน จริงๆแล้ว ประชาชนดูเหมือนจะเพิกเฉยต่อการปฏิวัติ และยังคงมองว่า เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาและจำกัดวงอยู่แค่รอบๆพระราชวังดุสิต เป็นเพียงตอนหนึ่งของหนังที่พวกเขาชื่นชอบ ถนนหนทางยังคงเป็นปกติ มีผู้คนไม่มากไม่น้อยกว่าธรรมดา ร้านรวงต่างๆยังคงเปิดรถไฟ รถราง ที่ทำการไปรษณีย์ โทรศัพท์ยังคงใช้งานได้ ข้าราชการทุกคนไปทำงานตามเวลา นายทหารกองบัญชาการยังอยู่ประจำโต๊ะ ทว่าไม่มีงานทำแต่อย่างใด
ผู้คนไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองกับเสียง ‘ไชโย’ ที่พวกทหารบนรถร้องตะโกน ปราศจากความกระตือรือร้น ทั้งไม่ปรบมือและไม่ตำหนิใดๆ ราวกับไม่รู้ไม่เห็นอะไรเลย พวกเขาค่อยๆหยิบใบปลิวจำนวนมากที่รถทหารโปรยทิ้งไว้ตามถนนมาอ่านเงียบๆ และเก็บใส่กระเป๋าโดยไม่วิพากษ์วิจารณ์อะไร ไม่มีแม้กระทั่งธงหรือสัญญาณใดๆจากส่วนของประชาชนที่จะบ่งบอกถึงเหตุการณ์นี้ แม้จะเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ นั่นคือ การประกาศใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์จักรีในไม่ช้า”
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
(พันโท อองรี รูซ์มีความสามารถทางด้านภาษา สามารถพูดได้หลายภาษา ได้แก่ เยอรมัน สเปน ลาว เวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาไทย. ข้อความทั้งหมดในส่วนของนายพันโท อองรี รูซ์ ข้างต้น มาจาก การปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕ ในทัศนะของพันโท อองรี รูซ์, Henri Roux เขียน พิมพ์พลอย ปากเพรียว แปล, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน: 2564) หน้า 44-46).
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อดีตนายกฯชวน เปิดบ้านให้ประชาชนรดน้ำดำหัว
ตรัง อดีตนายก ชวน เปิดบ้านรดน้ำดำหัว รับการอวยพร จากข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน ที่แห่เข้าอวยพร เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ปี 2568
ศ. ดร.ไชยันต์ ไชยพร กับการสมัครชิง ตุลาการศาล รธน. มั่นใจ ไม่เข้าข่ายลักษณะต้องห้าม
การรับสมัครเพื่อสรรหาและคัดเลือก "ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ" ใหม่สองคน เพื่อมาแทน ศ. ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และนายปัญญา อุดชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
สว.จี้รัฐบาลถอน ร่างพรบ.สถานบันเทิงฯ ออกไปจากสภาฯ ไม่ใช่ทิ้งเชื้อคาไว้
สภาผู้แทนราษฎรได้ปิดสมัยประชุมไปแล้วเมื่อ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยไม่ได้มีการพิจารณา"ร่างพรบ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ..ฯ"เพราะรัฐบาลตัดสินใจเลื่อนการผลักดันให้สภาฯพิจารณาเมื่อวันที่ 9 เม.ย.
'เท้ง' มองเลื่อนกม.กาสิโน กระทบความเชื่อมั่นประชาชนต่อเสถียรภาพรัฐบาล
'เท้ง' บอกคงประเมินโอกาสยุบสภาไม่ได้ มองความเห็นต่างในพรรคร่วมรัฐบาล ปม 'เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์' สะท้อนเสถียรภาพ
นักวิชาการ ม.ฮาร์วาร์ด แจงกลับมาเล่นน้ำสงกรานต์โดยเฉพาะ ไม่ได้ปาดหน้าทักษิณ
'พิธา' เผย แอ่วเหนือเล่นสงกรานต์ ไร้นัยยะทางการเมือง เหตุ มีเลือกตั้งซ่อม ต้องระมัดระวังการหาเสียงในงานรื่นเริง บอก ไม่แปลกใจ '
‘ประสาร-หมอตุลย์’ ย้ำ..หายนะกาสิโน ชาติพัง..รัฐบาลจบเห่ I อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
‘ประสาร-หมอตุลย์’ ย้ำ..หายนะกาสิโน ชาติพัง..รัฐบาลจบเห่ อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2568