การประชุมสภาผู้แทนราษฎรหลังการสละราชสมบัติของรัชกาลที่เจ็ด (๗๓): เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงสละราชสมบัติ รัฐบาลตองลาออกไหม ?

 

หลังจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2477 ได้ลงมติเห็นสมควรให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลเป็นพระมหากษัตริย์ด้วยเสียง 127 ต่อ 2 เสียง ต่อจากนั้น ได้มีการประชุมเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพราะพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่หรือรัชกาลที่แปดยังทรงเป็นยุวกษัตริย์มีพระชันษาเพียง 10 ชันษา   อีกทั้งยังประทับอยู่นอกราชอาณาจักรด้วย

สมาชิกในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีการอภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับเกณฑ์การตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยมีการยกกฎมณเฑียรบาลและรัฐธรรมนูญขึ้นมาว่า จะใช้อะไรเป็นตัวตั้ง จนในที่สุดก็ตกลงกันได้ว่าให้แต่งตั้งเป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยมีจำนวนสามท่าน  ต่อมาได้มีการลงมติเลือกคณะผู้สำเร็จราชการทั้งสามท่าน ได้แก่  พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ  (๑๑๒ คะแนน)   กรมหมื่นอนุวัตน์ฯ (๙๗ คะแนน) และ ๓. เจ้าพระยายมราช (๗๖ คะแนน)

ต่อมา ที่ประชุมได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการดำรงตำแหน่งของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยไม่ได้กำหนดให้คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จะต้องมีวาระดำรงตำแหน่งนานเท่าไร แต่สภาผู้แทนราษฎรในฐานะที่ผู้แต่งตั้งย่อมมีสิทธิ์จะถอดถอนและตั้งใหม่ได้  ขณะเดียวกัน ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีการลงมติให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ดำรงตำแหน่งประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ต่อมาได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอให้รัฐบาลประกาศรายงานการประชุมการลงมติแต่งตั้งต่างๆที่ได้กล่าวไปข้างต้นให้ประชาชนได้รับทราบเพื่อหายข้อข้องใจ  แต่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางท่านเห็นควรให้มีการพิจารณาตัดถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมออก และควรจะประกาศแต่เพียงผลของการประชุมเท่านั้น และที่ประชุมได้รับทราบจากหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณว่า ควรขนานนามพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และได้มีการตั้งคำถามถึงจำนวนในการลงนามของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ว่า ให้ลงนามเพียงผู้ที่เป็นประธาน หรือต้องลงนามทั้งคณะ หรือเพียงสองในสาม มติในที่ประชุมเห็นว่าให้ผู้สำเร็จรา

ต่อมา มีผู้เสนอให้ปิดประชุมสภา และสมาชิกเสียงข้างมากลงมติรับรอง แต่ก่อนที่จะปิดประชุมสภาผู้ทำการแทนประธานสภาฯได้ขอเสนอโทรเลขที่จะถวายไปตามที่หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีได้ทรงร่างขึ้น  และหลวงวรนิติปรีชา ผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนครได้มีข้อสงสัยว่า  รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะต้องลาออกตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยหลวงวรนิติปรีชาได้ให้เหตุผลตามมาตรา ๔๖ แห่งรัฐธรรมนูญบัญญัติ  หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ ทรงอธิบายว่า ตามรัฐธรรมนูญ แม้ว่านายกรัฐมนตรีจะมามติสภาผู้แทนราษฎร แต่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ตั้งคณะรัฐมนตรี แต่พระมหากษัตริย์ทรงสละราชสมบัติ อายุของคณะรัฐมนตรีจึงหมดไป และสภาฯได้ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้น ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจะต้องไปลาแก่คณะผู้สำเร็จราชการฯโดยเร็ว เพื่อให้คณะผู้สำเร็จราชการฯพิจารณาว่าจะยืนยันคณะรัฐมนตรีนี้หรือไม่

ต่อมา หลวงวรนิติปรีชา ผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนครได้เสนอว่า ก่อนปิดประชุม ขอให้สภาฯวินิจฉัยว่า สภาฯนี้มีอำนาจถอดถอนคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

ผู้ทำการแทนประธานสภาฯ กล่าวว่า “ไม่มีผู้ใดรับรอง ตกไปแล้ว บัดนี้ มีผู้เสนอญัตติให้ประธานสภาฯ ส่งโทรเลขไปถวายพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ เพื่อแสดงความยินดีที่ได้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ขึ้น นายร้อยตรี ถัดฯ เป็นผู้เสนอญัตติ ( ร้อยตรี ถัด รัตนพันธุ์ ผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง/ผู้เขียน) มีผู้รับรองแล้ว ถ้าไม่มีผู้ใดคัดค้านจะได้ถือว่า........”                                                                                                        นายสนิท เจริญรัฐ ผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอประทานโทษที่ใครจะคัดค้านสักนิดหน่อย คือ อยากจะให้เปลี่ยนการที่จะมีโทรเลขไปถวายนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่า ถ้าจะถวายในเชิงแสดงความยินดี ในเชิงการสมาคม เห็นว่า จะเป็นที่ต่ำสูงสักหน่อย ถ้าจะแสดงความจงรักภักดีหรืออัญเชิญเสด็จกลับมา ดูเหมือนจะงามกว่า”

หลวงวรนิติปรีชา รับรอง

ผู้ทำการแทนประธานสภาฯ กล่าวว่า “ถ้าท่านจะมอบให้ข้าพเจ้าไปจัดโทรเลขนั้น จะได้จัดให้เป็นไปตามที่ควร คำฝรั่งคำเดียวบางทีอาจจะกินความดังที่เสนอนี้ได้”

ร้อยตรี ถัด รัตนพันธุ์ ผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง กล่าวว่า “สำหรับข้าพเจ้าผู้เสนอ ไม่ขัดข้อง คือมอบให้ประธานสภาฯนี้”

ผู้ทำการแทนประธานสภาฯ กล่าวว่า “เป็นอันว่า ข้าพเจ้าจะจัดการไปตามคำปรึกษาของสภาฯ ข้าพเจ้าจะอ่านคำแปลจากภาษาอังกฤษที่ท่านที่ปรึกษาทรงตรวจ มีใจความว่า ‘เรียนเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ เมื่อคืนนี้ สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติให้นำความอาลัยขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการที่ทรงสละราชสมบัติ ขอท่านได้โปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท (ลงนาม) พระเรี่ยม (นาวาเอก พระเรี่ยมวิรัชชพากย์ [เรี่ยม ทรรทรานนท์]/ผู้เขียน) ทำการแทนสภาฯ”

ที่ประชุมรับทราบ เลิกประชุมเวลา ๓.๑๗ นาฬิกา

อมามีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ ๓๔/๒๔๗๗ (สามัญ) สมัยที่ ๒ (ประชุมวิสามัญ) วันศุกร์ที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เริ่มประชุมเวลา ๒๐.๑๐ นาฬิกา

ผู้ทำการแทนประธานสภาฯ กล่าวว่า “วันนี้ มีสมาชิกมาประชุม ๘๐นาย เป็นองค์ประชุมแล้ว ด้วยข้าพเจ้าได้รับหนังสือจากคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีข้อความดังที่เลขาธิการจะได้อ่านให้ฟัง”

เลขาธิการสภาฯ อ่านจดหมายของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ดังต่อไปนี้

ที่ ๑/๑

พระที่นั่งราชกรัณยสภา

วันที่ ๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗

แจ้งความมายัง ประธานสภาผู้แทนราษฎร

ตามหนังสือลงวันที่ ๘ เดือนนี้ว่า โดยที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์อยู่ จะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ สภาผู้แทนราษฎรจึงได้ลงมติตั้งข้าพเจ้าทั้ง ๓ เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยมีข้อตกลงว่า ในการลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษา ให้ถือเอาเสียงข้างเป็นประมาณ และในการลงนามในเอกสารราชการ ให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อย่างน้อย ๒ คนเป็นผู้ลงนามนั้น ข้าพเจ้าได้รับทราบความตลอดแล้ว

อันหน้าที่ที่ข้าพเจ้าได้รับมติเลือกตั้งจากสภาผู้แทนราษฎรนี้ รู้สึกว่าเป็นเกียรติยศอันสูงและสำคัญมาก ข้าพเจ้าจะได้ตั้งใจเพียรพยายามที่จะปฏิบัติราชการในหน้าที่นี้จนสุดกำลังและสติปัญญาที่สามารถจะพึงกระทำได้ ให้ถูกต้องตามระบอบรัฐธรรมนูญจงทุกประการ เพื่อยังความเจริญมั่นคงแก่ประเทศ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญสืบไป

อนุวัตน์จาตุรนต์

อาทิตย์ ทิพอาภา

เจ้าพระยายมราช

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ที่ประชุมรับทราบ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 34): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 45: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 33): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม”

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 43: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 32): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม”

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 31): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม”

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490