โรเจอร์ สกรูตัน (Roger Scruton) ศาสตราจารย์ทางด้านปรัชญาและสุนทรียศาสตร์ชาวอังกฤษ อายุ 68 ปี ได้กล่าวถึง ‘ประชาธิปไตย’ ไว้ในข้อเขียนที่ชื่อ ขอบเขตจำกัดต่อประชาธิปไตย (Limits of Democracy) ในปี 2006 ว่า “อย่างที่ทราบกันว่า คำว่า Democracy มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณ ดังนั้น ประชาธิปไตย จึงเป็นความคิดที่เก่าแก่โบราณ อย่างน้อยกว่าสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว และนักคิดกรีกโบราณได้เตือนให้ตระหนักว่าประชาธิปไตยนั้นเป็นเพียงหนึ่งในหลากหลายรูปแบบการปกครองเท่านั้น ไม่ได้มีคุณค่าอะไรพิเศษในตัวเองเหนือรูปแบบการปกครองอื่นๆ”
ในขณะที่ ฟรานซิส ฟูคุยามา ศาสตราจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวอเมริกัน อายุ 60 ปี ได้กล่าวไว้ในข้อเขียนชื่อ The End of History? ในปี 1989 ว่า “...มีความเห็นพ้องต้องกันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความชอบธรรมของ ‘เสรีประชาธิปไตย’ (Liberal Democracy) ในฐานะที่เป็นระบอบการปกครองที่ได้เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ประชาธิปไตยได้ชัยชนะเหนืออุดมการณ์ทางการเมืองที่เป็นคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นระบอบกษัตริย์ ฟาสต์ซิสม์ และคอมมิวนิสม์...ระบอบเสรีประชาธิปไตยอาจจะสถาปนา ‘เป้าหมายสุดท้ายของพัฒนาการทางอุดมการณ์ของมนุษยชาติ’ และเป็น ‘รูปแบบการปกครองสุดท้าย’ ของมนุษย์”
ทัศนะที่นักวิชาการระดับโลกทั้งสองมีต่อประชาธิปไตยแตกต่างกัน สกรูตันมิได้เห็นว่า ประชาธิปไตยมีความพิเศษอะไรมากไปกว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบการปกครอง ซึ่งล้วนแล้วแต่มีข้อดีข้อเสีย ส่วนฟูคุยามาดูจะยกย่องประชาธิปไตยอย่างยิ่งยวด ถึงขนาดเชื่อว่าประชาธิปไตยเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง เป็นระบอบการปกครองที่เป็นคำตอบสุดท้ายสำหรับมนุษยชาติเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า ประชาธิปไตยในความคิดของทั้งสองนี้อาจจะไม่ใช่ ‘ประชาธิปไตยเดียวกัน’ เพราะสกรูตันใช้คำว่า ‘ประชาธิปไตย’ โดยไม่ได้มีคำว่า ‘เสรี’ (Liberal) กำกับไว้เสมออย่างของฟูคุยามา
อีกทั้งในขณะที่สกรูตันบอกว่า ประชาธิปไตยเป็นความคิดที่เก่าแก่โบราณมีอายุอย่างน้อย 2,500 ปี แต่ฟูคุยามากำลังพูดถึง ‘ประชาธิปไตยในปัจจุบัน’ และมองว่าเป็นการพัฒนาอุดมการณ์ทางการเมืองขั้นสูงสุดของมนุษย์
แม้ว่าทั้งสองดูจะมีทัศนะต่อประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน แต่แล้วทั้งสองก็ถูกจัดให้เป็นนักวิชาการในแนวอนุรักษ์นิยมด้วยกันทั้งคู่!
เสรีประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ มีความแตกต่างจากประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ ข้อความที่ว่า ‘ตัดสินด้วยเสียงข้างมาก แต่ต้องเคารพเสียงข้างน้อย’ ไม่มีในประชาธิปไตยกรีกโบราณ เพราะประชาธิปไตยกรีกโบราณดูท่าทางจะยังไม่ได้พัฒนาอะไรมาก ถือเป็นประชาธิปไตยแบบดิบๆ เอาเสียงข้างมากเป็นที่ตั้ง
อีกทั้งคำว่า ‘นิติรัฐ นิติธรรม’ ก็ไม่มีความสำคัญอะไรสำหรับประชาธิปไตยกรีกโบราณ ทั้งหลักที่ว่า ‘เสียงข้างมากจะทำอะไรตามอำเภอใจไม่ได้ นั่นคือ จะต้องไม่ขัดกับพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพอันเสมอกันของปัจเจกบุคคล รวมทั้งจะต้องไม่ขัดกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ’ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ‘เสียงข้างมากจะต้องไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ’ ก็ไม่เป็นที่รู้จักในประชาธิปไตยกรีกโบราณ รวมทั้งหลักการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจก็ไม่เป็นที่รู้จักสำหรับประชาธิปไตยกรีกโบราณ เสรีภาพของสื่อสาธารณะก็ยังไม่เกิดขึ้นในประชาธิปไตยกรีกโบราณ และที่สำคัญคือ ประชาธิปไตยกรีกโบราณไม่มีการเลือกตั้งตัวแทนให้เข้าไปประชุมสภาและตัดสินใจแทนประชาชน เพราะประชาธิปไตยกรีกโบราณให้ประชาชนเข้าไปตัดสินกิจการสาธารณะด้วยตนเอง แต่เสรีประชาธิปไตยไม่ให้!
เมื่อ ‘เสรีประชาธิปไตย’ แตกต่างอย่างยิ่งจาก ‘ประชาธิปไตย’ มันก็เป็นไปได้ว่า สกรูตันและฟูคุยามาอาจไม่ได้ขัดแย้งกัน เพราะถ้าไปถามสกรูตันเกี่ยวกับ ‘เสรีประชาธิปไตย’ เขาก็อาจจะไม่ได้มีความเห็นเหมือนกับที่เขากล่าวถึง ‘ประชาธิปไตย’ และเช่นกัน เมื่อไปถามฟูคุยามาเกี่ยวกับ ‘ประชาธิปไตยกรีกโบราณ’ เขาก็อาจไม่ได้รู้สึกชื่นชมโสมนัสเหมือน ‘ประชาธิปไตยสมัยใหม่’ หรือ ‘เสรีประชาธิปไตย’
เมื่อ ‘เสรีประชาธิปไตย’ ไม่ใช่ ‘ประชาธิปไตย’ มันก็อาจเป็นไปได้ด้วยว่า ‘เสรีประชาธิปไตย’ อาจจะเป็น ‘คำตอบสุดท้าย’ หรือ ‘ระบอบการปกครองที่ดีที่สุด’ สำหรับมนุษยชาติ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่ถ้า ‘ประชาธิปไตย’ ของสกรูตันไม่ใช่ ‘ประชาธิปไตยสมัยใหม่’ ที่กำลังใช้กันเกือบจะทั่วทั้งโลกขณะนี้ แล้วเขาเขียน Limits of Democracy ขึ้นมาทำไมในปี 2006? เพราะข้อความข้างต้นในข้อเขียนดังกล่าวของเขาดูเหมือนต้องการจะ ‘เตือน’ ผู้คนในปัจจุบันไม่ให้ชื่นชมประชาธิปไตยมากเกินไป โดยเขาอ้างถึงข้อจำกัดของประชาธิปไตยที่นักคิดทางการเมืองกรีกได้ติงไว้
แต่ก็น่าฉุกคิดเหมือนกันว่า ข้อท้วงติงต่อประชาธิปไตยที่นักคิดกรีกโบราณได้ทิ้งไว้ให้เป็นมรดกทางความคิดด้านการเมืองก็น่าจะเป็นข้อท้วงติงที่พวกเขามีต่อประชาธิปไตยที่พวกเขารู้จัก นั่นคือ ‘ประชาธิป ไตยกรีกโบราณ’ มากกว่า ‘เสรีประชาธิปไตย’ ที่เกิดขึ้นหลังที่พวกเขาตายไปแล้วนับสองพันปี!
ดังนั้น ข้อเขียนของสกรูตันที่นำข้อติงของนักคิดกรีกโบราณจะมีความสำคัญและเป็นประโยชน์สำหรับคนปัจจุบันได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขของยุคสมัย เห็นจะเป็นสิ่งที่ ‘ประชาธิปไตย’ และ ‘เสรีประชาธิปไตย’ มีร่วมกันอยู่
ข้อเตือนสติที่นักคิดกรีกโบราณได้ทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังเกี่ยวกับระบอบการปกครองที่เรียกว่า ‘ประชาธิปไตย’ ก็คือ สิ่งที่เป็นพลังก่อร่างสร้างประชาธิปไตยขึ้นมาแทนที่ระบอบการปกครองอื่นๆ ก็เป็นสิ่งเดียวกันที่จะโค่นล้มทำลายประชาธิปไตยด้วย
ลองมาช่วยกันคิดทบทวนกันดูว่า ตกลงแล้ว ไอ้สิ่งที่ว่านี้ มันคืออะไร? ใครตอบได้ มีรางวัล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เกิดขึ้นจริงๆ ‘วรงค์’ โชว์ป้ายเมื่อสามปีที่แล้ว ‘โจรปล้นชาติจะกลับมา’
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์รูปภาพและข้อความในเฟซบุ๊กว่า #ป้ายที่เกิดขึ้นเมื่อสามปีที่แล้ว
‘พิชัย’ บรรยายที่ ม.โตเกียว คุย ปชต.ไทยมั่นคง ชี้มีบทเรียนรัฐประหาร10 ปี
“พิชัย” บรรยายที่ ม.โตเกียว ย้ำ ปชต.ไทยมั่นคง ส่งผลเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง เชื่อ 10 ปี มีบทเรียน ลุยสร้างความมั่นใจนักธุรกิจญี่ปุ่น เร่งดันการค้า-ลงทุนไหลเข้าประเทศ
’พุทธะอิสระ‘ วางแล้ว! ไม่ร่วมขบวนทักท้วง ‘ทักษิณ-แพทองธาร’
นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือ "พุทธะอิสระ" ผู้ก่อตั้งวัดอ้อน้อย จังหวัดนครปฐม โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก โดยมีรายละเอียดดังนี้
เข้าใจตรงกันนะ 'ณัฐวุฒิ' ยืนยัน 'พรรคเพื่อไทย' อยู่คนละก๊กกับ 'พรรคส้ม'
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กว่าอันนี้ไม่ใช่แล้วครับ ข่าวลงผิดแล้ว
'อนุสรณ์' ชี้ 'มาดามหน่อย' สานต่อนโยบายเพื่อไทย พัฒนาโคราชสู่ความยั่งยืน
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณี พรรคเพื่อไทย เปิดตัวนางยลดา หวังศุภกิจโกศล อดีตนายก อบจ.นครราชสีมา เป็นว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ.นครราชสีมา ในนามพรรค
'ดร.ณัฏฐ์' ชี้เลือกตั้งอบจ.ระอุ! 'บ้านใหญ่' ยังขลัง-บางแห่งเสื่อมตามกาลเวลา
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ การเมืองท้องถิ่น อบจ. ระอุ บ้านใหญ่ยังขลัง แต่บางแห่งเสื่อมไปตามกาลเวลา ข้าราชการการเมือง ส.ส.ช่วยหาเสียงได้