หลังจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2477 ได้ลงมติเห็นสมควรให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลเป็นพระมหากษัตริย์ด้วยเสียง 127 ต่อ 2 เสียง ต่อจากนั้น ได้มีการประชุมเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพราะพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่หรือรัชกาลที่แปดยังทรงเป็นยุวกษัตริย์มีพระชันษาเพียง 10 ชันษา อีกทั้งยังประทับอยู่นอกราชอาณาจักรด้วย
สมาชิกในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีการอภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับเกณฑ์การตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยมีการยกกฎมณเฑียรบาลและรัฐธรรมนูญขึ้นมาว่า จะใช้อะไรเป็นตัวตั้ง จนในที่สุดก็ตกลงกันได้ว่าให้แต่งตั้งเป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยมีจำนวนสามท่าน ต่อมาได้มีการลงมติเลือกคณะผู้สำเร็จราชการทั้งสามท่าน ได้แก่ พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ (๑๑๒ คะแนน) กรมหมื่นอนุวัตน์ฯ (๙๗ คะแนน) และ ๓. เจ้าพระยายมราช (๗๖ คะแนน)
ต่อมา ที่ประชุมได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการดำรงตำแหน่งของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยมีผู้เสนอว่าให้คณะผู้สำเร็จราชการฯมีอายุเท่ากับสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้น และก็มีผู้เห็นว่า ไม่ควรจะให้มีอายุเท่ากับสภาผู้แทนราษฎร แต่สภาผู้แทนราษฎรควรจะกำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของคณะผู้สำเร็จราชการฯให้ชัดเจนแน่นอน แต่พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า
“ข้าพเจ้าเคยสังเกตมานัก ไม่เคยมีประเทศใดที่มีกำหนดเวลา อย่างบาเวาเรีย (Bavaria) ข้าพเจ้าทราบว่า พระเจ้าแผ่นดินเป็นโรคจิต แล้วเขาก็ตั้งปรินซ์ รีเยนต์ (Prince Regent) แกเป็นปรินซ์ รีเยนต์ (Prince Regent) จนตาย ก็ไม่มีกำหนดอายุอย่างไร อย่างเจ้าโยฮันที่มาประเทศสยาม ก็เป็นผู้สำเร็จราชการจนกระทั่งเขาตั้
ากนั้น นายมังเกร สามเสน กล่าวว่า “ในเรื่องกฎมณเฑียรบาล มีอยู่ในมาตรา ๑๕ แล้ว มีความว่าอย่างนี้ ‘ถ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์ ดังกล่าวมาแล้วในมาตรา ๑๔ แห่งกฎมณเฑียรบาลนี้ไซร้ ท่านว่า ให้ท่านเสนาบดีพร้อมกันเลือกเจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์พระองค์หนึ่งขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนกว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษาบริบูรณ์ จึงให้ท่านผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์นั้นพ้นจากหน้าที่’ เพราะฉะนั้น ในเรื่องอายุ มีอยู่ชัดเจนแล้วในกฎมณเฑียรบาล”
ด. ยู่เกียง ทองลงยา ผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า
“ข้าพเจ้าคิดว่าในเรื่องยนี้ จะเอากฎมณเฑียรบาลมาบังคังหาได้ไม่ เพราะเหตุว่า สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงมติไว้ใจ ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้น แต่ว่าอายุของผู้สำเร็จราชการนั้น เมื่อสิ้นสมัยแห่งสภาฯนี้ คือ สภาฯที่ลงมติไว้ใจนี้แล้ว เมื่อเกิดสภาฯใหม่ขึ้น สภาฯนั้นจะต้องทำการรับรองกิจการของสภาฯ ถ้าหากว่า สภาฯนั้นไม่เห็นด้วยกับคณะผู้สำเร็จราชการนั้น กิจการนั้นต้องตกไป ต้องตั้งขึ้นใหม่ ในกรณีนี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นเป็นปัญหาเลย” +
นายกรัฐมนตรีขอให้หม่อมเจ้าวรรณฯ ทรงแถลง (หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร/ผู้เขียน)
ผู้ทำการแทนประธานสภาฯ อนุมัติ
หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร ทรงกล่าวว่า
“ตามรัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับท่านสมาชิกที่กล่าวเมื่อกี้นี้ว่า การตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐ และอยู่ในบังคับรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐ มิใช่กฎมณเฑียรบาล แต่ขอให้ท่านทั้งหลายสังเกตถ้อยคำในมาตรา ๑๐ นั้น ในมาตรา ๑๐ นั้นไม่ได้ว่า ‘เลือกตั้ง’ แต่ว่า ‘ให้ปรึกษากันตั้ง’ ‘เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่ทรงตั้ง ก็ให้สภาผู้แทนราษฎรปรึกกันตั้ง’ ไม่ใช่ ‘เลือกตั้ง’ เลือกตั้งกับตั้งนั้นต่างกัน ถ้าเป็นการเลือกตั้ง นั่นอายุก็หมดไปเท่ากับอายุของสภาฯ แต่เมื่อเป็นการตั้งแล้ว มีอายุไปจนกว่าสภาฯจะตั้งใหม่ จะเป็นในสมัยเดียวกัน หรือสภาฯล่วงหน้าก็ตาม คือว่า ถ้าจะถืออายุของผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอย่างที่เจ้าคุณนายกฯท่านชี้แจงนั้น ควรจะต่อไปตามแบบอย่างในต่างประเทศ และในกรณีเปิดสภาฯ จะเป็นการเลือกตั้งและหมดอายุแล้ว เมื่อเลือกตั้งผู้แทนราษฎรใหม่กำลังจะเข้ามาประชุม หรือในวันแรกที่ประชุม ก็แปลว่า ผู้สำเร็จราชการนั้นหมดอายุไปแล้ว เพราะฉะนั้น ยังจะมีช่องว่างช่องโหว่อยู่ ที่คณะรัฐมนตรีจะต้องสำเร็จราชการแผ่นดินจนกว่าสภาฯใหม่จะตั้ง ดังนี้แหละ ไม่เป็นการชอบด้วยหลักการ เพราะว่า คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก็เหมือนกับพระมหากษัตริย์เหมือนกัน คือเป็นตำแหน่งที่ควรจะติดต่อกันเป็นสันตติ ไม่ควรจะว่างลง (สันตติ แปลว่า ความสืบเนื่อง ต่อเนื่อง/ผู้เขียน)
สภาผู้แทนราษฎรนั้นเป็นการประชุม อาจจะมีสมัยที่ว่างก็ได้ แต่ทางคณะรัฐมนตรีก็ดี หรือคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินก็ดี ควรจะมีอายุเป็นสันตติ คือติต่อกันไปโดยไม่มีช่องโหว่
ข้าพเจ้าเข้าใจว่าเนื่องด้วยเหตุเช่นนี้แหละ ถ้อยคำที่ใช้จึ่งว่าตั้ง ไม่ใช่เลือกตั้ง คือตั้งก็เหมือนอย่างข้าราชการ แต่ถ้าเป็นการเลือกตั้งแล้ว ก็หมดอายุเดียวกับสภาฯ เพราะฉะนั้น ที่ข้าพเจ้าเสนอว่าต่างกันกับที่สมาชิกผู้นั้นได้เสนอเมื่อกี้นั้นต่างกันนิดเดียว มีอายุไปจนกว่าสภาฯจะตั้งใหม่ คือ สภาฯมีสิทธิที่จะตั้งใหม่ได้”
พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ ผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล กล่าวว่า “สำหรับในเรื่องการตั้งผู้สำเร็จราชการในคราวนี้ก็คือ ตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระมหากษัตริย์ที่ยังเป็นผู้เยาว์ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าคิดว่า ผู้สำเร็จราชการจะหมดอายุไปใน ๒ ระยะ คือ
หนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มีอายุ ๑๘ ปี และได้แต่งงานกับคนอายุ ๑๕ ปี ตอนหนึ่ง
อีกตอนหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มีอายุ ๒๐ ปี คือบรรลุนิติภาวะแล้ว เพราะฉะนั้น ผู้สำเร็จราชการน่าจะหมดอายุไปตามนี้”
นายมนูญ บริสุทธิ์ ผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่า
“การตั้งผู้สำเร็จราชการนี้ก็เท่ากับตั้งตัวแทนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะฉะนั้น หลักเกณฑ์เรื่องตัวการตัวแทน ข้าพเจ้าเข้าใจว่า น่าจะนำมาใช้ได้ การตั้งผู้สำเร็จราชการคราวนี้ก็น่าจะให้ทำแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราเหตุ ๒ ประการ คือ
ประการที่ ๑ ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ
ประการที่ ๒ เพราะอยู่ต่างประเทศ
เพราะฉะนั้น เมื่อความจำเป็นที่จะต้องตั้งผู้สำเร็จราชการนี้หมดไป ผู้สำเร็จราชการก็จะต้องหมดอำนาจไปในตัวเอง ความจำเป็นนั้นก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบรรลุนิติภาวะ และเสด็จกลับประเทศสยาม ผู้สำเร็จราชการก็จะหมดไปเมื่อนั้น
อีกประการหนึ่ง ในคณะผู้สำเร็จราชการนั้น ถ้าต่อไป สภาฯเราไม่เห็นสมควรแล้ว ข้าพเจ้าเชื่อว่า เมื่อเรามีอำนาจตั้งแล้ว เราก็คงจะมีอำนาจเอาออกได้ และเลือกตั้งคนอื่น เพราะฉะนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องกำหนดเวลาไว้”
ขุนชำนาญภาษา ผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอสนับสนุนท่านสมาชิกที่พูดเมื่อกี้นี้ เราไม่ควรที่จะกำหนดเวลาอย่างนั้น”
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “ตามที่ท่านสมาชิกกล่าวนั้น รัฐบาลขอรับรอง”
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ผู้แทนราษฎจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า
“บางที เราอาจจะมีอะไรเข้าใจกันผิดอยู่บ้างในบางกรณี ปัญหาในเรื่องที่สภาฯนี้มีอำนาจตั้งแล้วจะมีอำนาจถอดถอนได้เพียงหรือไม่ และถ้าสภาฯนี้หมดอายุไปแล้ว สภาฯไม่มีนั้น เราจะมีอำนาจถอดถอนได้หรือไม่ ข้อนั้น ข้าพเจ้าได้พะวงถึงอยู่แล้ว ปัญหามีว่า ถ้าเราปรึกษากันตั้งแล้ว ในรัฐธรรมนูญก็ดี ในกฎมณเฑียรบาลก็ดี หาได้มีข้อความที่จะให้อำนาจแก่สภาฯนี้เป็นผู้มีอำนาจที่จะถอดถอนตำแหน่งผู้สำเร็จราชการได้ไม่.....”
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 36): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 47: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ปรับคณะรัฐมนตรีและชะลอการใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราชั่วคราว
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 46: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ปรับคณะรัฐมนตรีและชะลอการใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราชั่วคราว
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 34): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490