หลังจากที่รัฐบาลได้รับพระราชทาน “พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศสละราชสมบัติ” รัฐบาลได้ออก “คำแถลงการณ์ของรัฐบาลเกี่ยวกับการสละราชสมบัติ” ให้ประชาชนได้รับทราบ และคณะรัฐมนตรีได้เสนอเรื่องต่อสภาผู้แทนราษฎร
ก่อนหน้าที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสละราชสมบัติ พระองค์ได้เสด็จยังต่างประเทศ และได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2477 และเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ทรงยืนยันว่าพระองค์ได้ทรงพ้นตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปพร้อมกับการสละราชสมบัติ และการตั้งผู้ครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระองค์นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงได้มีกระแสรับสั่งว่า พระองค์ทรงสละสิทธิ์ที่จะตั้งผู้ครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระองค์
ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรต่อกรณีการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เขียนได้นำเสนอคำแนะนำที่หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรฯทรงประทานให้แก่ที่ประชุมสภาฯ นั่นคือ สภาผู้แทนราษฎรไม่มีอำนาจในการรับหรือไม่รับการสละราชสมบัติ เพราะพระบาทสมเด็จพระปกเล้าฯทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์มีสิทธิ์ที่จะสละราชสมบัติโดยไม่จำเป็นต้องขอการอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น สิ่งที่สภาผู้แทนราษฎรจะทำได้คือรับทราบการสละราชสมบัติเท่านั้น ส่วนในกรณีพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อไป หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรทรงให้ความเห็นว่า “ส่วนพระองค์ต่อไปซึ่งจะขึ้นครองราชสมบัติ ก็ด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร”
หลังจากมีการอภิปรายไปพอสมควร เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ รัฐมนตรีกระทรวงวัง กล่าวว่า “ผู้ที่จะสืบราชสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ตามกฎมณเฑียรบาลตามที่สมเด็จกรมพระนริศฯ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสละราชสมบัติ/ผู้เขียน) ได้ทรงสืบสวนแล้ว ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงสงขลาฯ ซึ่งได้สิ้นพระชนม์แล้ว กับมีพระราชโอรส คือ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล นั้นเป็นผู้สืบราชสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ตามกฎมณเฑียรบาล ตามที่ได้แจกไปให้ท่านแล้ว”
เอกสารที่แจกให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ เอกสารบัญชีลำดับสืบราชสันตติวงศ์ ตามกฎมณเฑียรบาล
ลำดับสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลำดับที่ |
พระนาม |
ประสูติ พ.ศ. |
หมายเหตุ |
|
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ |
๒๔๓๔
|
หาพระองค์ไม่แล้ว |
๑ |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล |
๒๔๖๘ |
|
๒ |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช |
๒๔๗๐ |
|
๓ |
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต |
๒๔๒๔ |
|
๔ |
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมพฏพงศ์บริพัตร |
๒๔๔๗ |
|
|
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ |
๒๔๒๕ |
หาพระองค์ไม่แล้ว |
๕ |
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล |
๒๔๕๓ |
|
๖ |
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร |
๒๔๕๖ |
|
๗ |
พระเจ้าวงวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุศรมงคลการ |
๒๔๕๘ |
|
|
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนารถ (กิติยากร) |
๒๔๑๗ |
หาพระองค์ไม่แล้ว |
๘ |
หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ |
๒๔๔๐ |
|
๙ |
หม่อมเจ้านักขัตรมงคล |
๒๔๔๑ |
|
๑๐ |
หม่อมเจ้าขจรจบกิตีคุณ |
๒๔๔๓ |
|
|
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี (ประวิตร) |
|
หาพระองค์ไม่แล้ว |
๑๑ |
หม่อมเจ้ากัลยาณวงศ์ประวิตร |
๒๔๔๙ |
|
๑๒ |
หม่อมเจ้าจิตรปรีดี |
๒๔๕๐ |
|
๑๓ |
หม่อมเจ้าวิกรมสุรสีห์ |
๒๔๕๔ |
|
|
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงไชยศรีสุรเดช (จิรประวัติ) |
|
หาพระองค์ไม่แล้ว |
๑๔ |
หม่อมเจ้าประสบศรีจิรประวัติ |
๒๔๔๔ |
|
๑๕ |
หม่อมเจ้านิทัศนาธร |
๒๔๔๘ |
|
๑๖ |
หม่อมเจ้าขจรจิรพันธ์ |
๒๔๕๕ |
|
|
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์ (อาภากร) |
|
หาพระองค์ไม่แล้ว |
๑๗ |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา |
๒๔๔๗ |
|
๑๘ |
หม่อมเจ้ารังษิยากร |
๒๔๔๙ |
|
๑๙ |
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชร์อัครโยธิน (ฉัตรชัย) |
๒๔๒๔ |
|
๒๐ |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร |
๒๔๕๖ |
|
๒๑ |
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร (วุฒิไชย) |
๒๔๒๖ |
|
๒๒ |
หม่อมเจ้าทรงวุฒิไชย |
๒๔๕๓ |
|
๒๓ |
หม่อมเจ้าอุไทยเฉลิมลาภ |
๒๔๕๖ |
|
(ที่ขีดเส้นสัญประกาศไว้ใต้พระนามพระองค์ใด หมายความว่า พระมารดาของท่านพระองค์นั้นเป็นเจ้า คือ เป็น อุภโตสุชาติ อันแปลว่า พระชาติกาเนิดที่ประเสริฐทั้งสองฝ่าย)
จากบัญชีลำดับสืบราชสันตติวงศ์นี้ สมาชิกในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายจนเกิดข้อถกเถียงว่า สภาผู้แทนราษฎรไม่จำเป็นต้องเลือกกษัตริย์ตามกฎมณเฑียรบาล เพราะสภาผู้แทนราษฎรทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงกว่ากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ สภาผู้แทนราษฎรจะเลือกเจ้านายพระองค์ใดก็ได้ และสมาชิกในที่ประชุมได้อภิปรายโต้เถียงกันถึงความไม่เหมาะสมที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ของพระองค์เจ้าอานันทมหิดลด้วยเหตุผลที่ยังทรงพระเยาว์ มีพระชันษาเพียง 10 ชันษาเท่านั้น อย่างเช่น ขุนเสนาสัสดี ผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า “….นี่เพิ่ง ๑๐ ชันษา จะเป็นพระมหากษัตริย์อย่างไร ข้าพเจ้าสงสัยว่า ราษฎรทั้งชาติเขาจะนับถือด้วยประการทั้งปวงแล้วหรือ ข้าพเจ้าข้องใจเป็นอันมาก”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 42)
ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นถึงการปกครองภายใต้คณาธิปไตยสืบทอดอำนาจของคณะราษฎรตลอดระยะเวลา 13 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2476-2489
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 51: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกา วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 40): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 39): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 38): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น