ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล: ทุกอย่างต้องมีครั้งแรก แต่...

 

หนึ่งในปัญหาของการตกลงร่วมจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรรคก้าวไกลที่ได้ ส.ส.  151 ที่นั่ง กับพรรคเพื่อไทยที่ได้ ส.ส. 141 คือ ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว พรรคที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลจะได้รับการสนับสนุนให้ได้ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรด้วย แต่ก็มีข้อยกเว้น เช่น สภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้ว พลังประชารัฐเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสม แต่ประธานสภาผู้แทนราษฎรมาจากพรรคประชาธิปัตย์ คือ คุณชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานสภาฯ (ระหว่าง พ.ศ. 2529-2531 ในสมัยที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี)

ตอนคุณชวนเป็นประธานสภาฯในปี พ.ศ. 2529 นั้น ท่านเป็น ส.ส. มาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 และเป็น ส.ส. ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง ดังนั้น ก่อนจะเป็นประธานสภาฯในปี พ.ศ. 2529 ท่านมีประสบการณ์ในสภาฯมาเป็นเวลา 17 ปี       

แม้ว่า โดยหลักการทั่วไป พรรคก้าวไกลควรจะได้รับการสนับสนุนให้ได้ตำแหน่งประธานสภาฯ แต่ปัญหาของพรรคคือ ส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองหน้าใหม่ มีอายุน้อย มีประสบการณ์การเป็น ส.ส. อย่างมากก็ 4 ปีเท่านั้น  ขณะเดียวกัน ก็มีเสียงสนับสนุนว่า ไม่น่าให้อายุเป็นข้อจำกัด     

หากพิจารณาผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงไว้วางใจให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษ (สภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษ เรียกว่า สภาสามัญ หรือ the House of Commons) จะพบว่า นอกจากประธานสภาสามัญคนปัจจุบันจะมาจากพรรคที่ได้จัดตั้งรัฐบาลแล้ว ยังเคยเป็น ส.ส. มาแล้วถึง 22 ปี นั่นคือ  เซอร์ลินด์เซย์ ฮอยล์   ก่อนหน้าเซอร์ลินด์เซย์ ฮอยล์ คือ จอห์น เบอร์โคว์ เป็น ส.ส. มาแล้วถึง 38 ปี  และก่อนหน้าจอห์น เบอร์โคว์ คือ ไมเคิล มาร์ติน เป็น ส.ส. มาแล้วถึง 21 ปี

จริงๆแล้ว ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ประธานสภาฯจะต้องมีอายุหรือสูงวัย แต่อยู่ที่ว่าควรมีอายุประสบการณ์ทางการเมืองหรือการมีประสบการณ์ในสภาพอสมควรมากกว่า

เช่นเดียวกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่ที่ผ่านมา มีกระแสต้องการให้คนหนุ่มสาวขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำทางการเมืองตามที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ  แต่ถ้าพิจารณาให้ดี จะพบว่า คนหนุ่มสาวที่ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือประธานาธิบดีในวัยที่ยังน้อยเมื่อเทียบผู้นำก่อนหน้า ล้วนแต่สั่งสมประสบการณ์ทางการเมืองมามากพอสมควร อย่างเช่น

นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ จาซินดาร์ อาร์เดิร์น แม้ว่าเธอจะรับตำแหน่งด้วยอายุเพียง 37 ปี แต่เธอลงเลือกตั้งเป็น ส.ส. ตั้งแต่อายุ 28 ปี  และใช้เวลา 9 ปีกว่าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี     

นายกรัฐมนตรีฟินแลนด์ ซานนา มารีน เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะที่อายุเพียง 34 ปี แต่เธอเป็น ส.ส. มาตลอด 13 ปี             

หรือในกรณีประธานาธิบดีมาครง รับตำแหน่งประธานาธิบดี ตอนอายุ 40 ปี แต่เขาได้เข้าเป็นทีมงานของประธานาธิบดีออลลองด์ ตอนอายุ 33 ปี และใช้เวลา 7 ปีในการไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศส

หรือในกรณีของเอล ซาวาดอร์ นายิบ บูเคเล รับตำแหน่งประธานาธิบดีตอนอายุ 38 ปี แต่เขาได้เป็นนายกเทศมนตรีตอนอายุ 31 ปี และใช้เวลา 7 ปีในการไต่เต้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี     

หรือในกรณีของสหราชอาณาจักร ริชี ซูแน็กเป็นนายกรัฐมนตรีตอนอายุ 42 ปีและได้เป็น ส.ส.มาแล้ว 7 ปี

ส่วนของไทยเรา  คุณทักษิณ ชินวัตร เข้าสู่การเมืองปี พ.ศ.  2537 ใช้เวลา 7 ปี เป็นนายกรัฐมนตรีตอนอายุ 52 ปี คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีตอนอายุ 44 ปี เข้าสู่การเมือง อายุ 27 ปี ในปี 2535 ใช้เวลาอยู่ในการเมือง 17 ปี

ส่วนกรณีที่ใช้เวลาน้อยมาก และไม่เคยเป็นข้าราชการระดับสูงมาก่อนด้วย คือ คุณยิ่งลักษณ์ เข้าสู่สนามเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554  ใช้เวลาเพียง 49 วัน เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่ออายุ 44 ปี

กลับมาที่ตำแหน่งประธานสภาฯ ถ้าจะถามว่า ก่อนหน้านี้ มีหรือไม่ ที่คนที่เป็นประธานสภาฯของไทยไม่มีประสบการณ์การเป็น ส.ส.  ?     

คำตอบคือ ต้องมีแน่นอน เพราะในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ไม่มีใครเคยมีประสบการณ์การเป็น ส.ส. มาก่อนอย่างแน่นอน ดังนั้น ประธานสภาฯรุ่นแรกๆย่อมไม่ต่างจากนักการเมืองพรรคก้าวไกล หรืออาจจะมีประสบการณ์น้อยกว่า เพราะอย่างน้อยนักการเมืองพรรคก้าวไกลจำนวนหนึ่งเคยผ่านการเป็น ส.ส. มาแล้ว 4 ปี

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)  ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของไทยย่อมไม่เคยมีประสบการณ์การเป็น ส.ส.  ท่านเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะที่มีอายุได้ 56 ปี ท่านได้ทุนนักเรียนทุนหลวง กระทรวงธรรมการไปศึกษาวิชาครูต่อที่ประเทศอังกฤษ ณ วิทยาลัยฝึกหัดครูเบอโรโรด (Borough Road College) ณ เมืองไอส์ลเวิซท์ (Isleworth) ทางใต้ของกรุงลอนดอน ภายใต้การดูแลของเซอร์ โรเบิร์ต มอแรน จบแล้วได้เดินทางไปดูงานด้านการศึกษาที่ประเทศอินเดียและพม่าเป็นเวลา 3 เดือน ท่านมีประสบการณ์การทำงานก่อนที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของไทย โดยเคยเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ และได้รับพระบรมราชโองการทำจดหมายถึงมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ ให้มาช่วยปรับปรุงการศึกษาแพทย์ โดยมูลนิธิฯ ส่งนายแพทย์ ริชาร์ด เอม เพียร์ส ประธานกรรมการฝ่ายแพทยศาสตร์ศึกษาเข้ามาดูกิจการของการศึกษาแพทย์ในประเทศสยามและได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงรับเป็นผู้แทนฝ่ายไทย           

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า แม้ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของไทยจะไม่เคยมีประสบการณ์การเป็น ส.ส. มาก่อน แต่ก็มีประสบการณ์การทำงานราชการในระดับสูงและมีประสบการณ์ที่สำคัญ

ท่านทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 1 กันยายน พ.ศ. 2475 แล้วได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา จนในปี พ.ศ. 2476  รัฐสภามีมติเลือกท่านกลับไปเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2476 หลังจากมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนั้น

ในปี พ.ศ. 2477 ท่านได้ขอลาออกจากการเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 6 เดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากเห็นว่าเหตุการณ์ในระยะนั้นไม่อาจรักษาความเป็นประชาธิปไตยตามครรลองที่ท่านคิดว่าควรเป็นไว้ได้ ซึ่งต่อมาในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ส่วนประธานสภาผู้แทนราษฎรท่านต่อมา คือ  เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) ดำรงตำแหน่งเมื่ออายุ 57 ปี และแน่นอนว่า ไม่เคยมีประสบการณ์การเป็น ส.ส. ในสภาฯ  ประวัติการศึกษาของท่าน คือ ท่านศึกษาวิชากฎหมาย สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตชั้นที่หนึ่ง ในปี พ.ศ. 2441  และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้พิพากษาศาลแพ่ง ต่อมาได้ดำรงอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง กรรมการศาลฎีกา อธิบดีศาลฎีกา นายกกรรมการเนติบัณฑิตสภา เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ และอุปนายกสภากาชาดไทยหลายสมัย

จากกรณีของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) และเจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค)  จะเห็นได้ว่า การดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกๆของไทย ผู้ทำหน้าที่ดังกล่าวต่างไม่เคยมีประสบการณ์การเป็น ส.ส.  แน่นอนว่าทุกอย่างต้องมีครั้งแรก แต่ท่านทั้งสองล้วนมีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งราชการระดับสูงมาพอสมควร

ขณะเดียวกัน ผู้ที่เป็น ส.ส. ในสภาผู้แทนราษฎรสมัยนั้นก็ไม่เคยเป็น ส.ส. มาก่อน ต่างเป็นครั้งแรกของทั้งประธานสภาฯและตัวผู้แทนราษฎรเอง

แต่ปัจจุบัน เรามี ส.ส. ที่มีประสบการณ์ในสภาฯเป็นจำนวนมาก !

อย่างไรก็ตาม ถ้าจะลองอะไรใหม่ๆ ก็ไม่ต้องวิตกอะไรมาก ถ้าทำไม่ได้ ก็แค่ลาออก แล้วเลือกใหม่ก็เท่านั้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!

นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง

ปากไว! นายกฯ อบรม 'พ่อนายกฯ' รอที่ประชุมเคาะก่อนไปพูดบนเวทีแจกเงินหมื่น

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขึ้นเวทีปราศัยหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น มอง

พิราบขาว ตามจิกทักษิณ ยกปราศรัยหาเสียงที่อุดร หลักฐานมัดครอบงำเพื่อไทย

ที่สำนักคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล แกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006 ยื่นเอกสารเพิ่มเติมต่อกกต.กรณีคำร้องยุบ 6 พรรคการเมือง