การพิจารณานโยบายหาเสียง

 

มีคนเคยนิยามการเมืองไว้ว่า การเมืองเป็นเรื่องของการรักษาสิ่งที่ดีไว้หรือทำสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้นและเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ไม่ดีให้ดี หรือขจัดสิ่งที่ไม่ดีให้หมดไป                     

ดังนั้น การเมืองจึงมีทั้งส่วนที่ต้องรักษาและส่วนที่ต้องเปลี่ยนแปลง ส่วนคำว่าดี-ไม่ดีนั้นก็คงแล้วแต่มุมมองของคนแต่ละคน แต่ละกลุ่ม และแน่นอนว่าแล้วแต่ๆละพรรคการเมือง     

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีมุมองเกี่ยวกับอะไรดี-ไม่ดีแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือความยุติธรรม ซึ่งดีก็ควรจะต้องไปด้วยกับกับความยุติธรรม  นโยบายหาเสียงต่างๆของแต่ละพรรคการเมืองย่อมต้องมุ่งทำให้เกิดความยุติธรรมในสังคม

ในทางวิชาการ  ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มีวิชาหนึ่งที่เป็นวิชาบังคับสำหรับนิสิตทุกคนในระดับชั้นปีที่สอง วิชานี้ชื่อความรู้เบื้องต้นทฤษฎีการเมืองและสังคม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎีความยุติธรรมที่เป็นกรอบในการกำหนดกติกาและนโยบายสาธารณะ  และผมเป็นผู้รับผิดชอบสอนวิชานี้มาได้หลายปี และสอนตามประมวลรายวิชาที่มีผู้ออกแบบไว้ และผมก็สอนตามที่เขาออกแบบ         

ตำราพื้นฐานเล่มหนึ่งที่ชื่อ “ปรัชญาการเมือง: ความรู้เบื้องต้นสำหรับนักศึกษาและนักการเมือง(Political Philosophy: A Beginners’ Guide for Students and Politicians ตีพิมพ์ ค.ศ. 2006) คนเขียนชื่อ อดัม สวิฟท์ (Adam Swift) สาเหตุที่เขาเขียนหนังสือเล่มนี้ นอกจากจะหวังจะให้นักศึกษาที่เริ่มต้นศึกษาปรัชญาการเมืองได้ใช้อ่านเป็นเบื้องต้นแล้ว เขายังคาดหวังให้นักการเมืองอ่านด้วย เพราะเขาเห็นว่า นักการเมืองอังกฤษเองก็ไม่ค่อยจะเข้าใจในเรื่องความยุติธรรมเท่าไรนัก และในการกำหนดนโยบายหาเสียงของพรรคของตน ก็ไม่ค่อยจะมีรากฐานที่แข็งแรงเท่าไร และในหนังสือเล่มนี้ ได้นิยามความยุติธรรมไว้อย่างง่ายๆ นั่นคือ ความยุติธรรม คือ การให้ในสิ่งที่ประชาชนควรได้ และไม่ให้สิ่งที่ประชาชนไม่ควรได้

ถ้าว่าตามนิยามนี้ หากนโยบายของพรรคการเมืองไม่ให้ในสิ่งที่ประชาชนควรได้ และดันไปให้ในสิ่งที่ไม่ควรได้ ก็ถือว่าเป็นนโยบายที่ไม่ยุติธรรม ที่นี้อะไรคือสิ่งที่ประชาชนควรหรือไม่ควรได้ ก็แล้วแต่ทฤษฎีต่างๆ  แต่ไม่น่ามีทฤษฎีใดปฏิเสธว่า ความยุติธรรมคือ การให้ในสิ่งที่ประชาชนควรได้ และไม่ให้สิ่งที่ประชาชนไม่ควรได้

ปฏิเสธไม่ได้ว่า นโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองจะต้องเกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรหรืองบประมาณอยู่เสมอ   คำถามคือ จะจัดสรรหรือแบ่งทรัพยากร-งบประมาณอย่างไรถึงจะยุติธรรม ?

ถ้าเริ่มต้นอย่างง่ายๆก็คือ แบ่งให้ทุกคนเท่าๆกัน  ซึ่งฟังดูดี แต่ถ้าคิดให้ดี การแบ่งให้เท่าๆกันอาจจะเป็นการให้ในสิ่งที่ประชาชนไม่ควรได้ และไม่ให้ในสิ่งที่ควรได้  เพราะบางกรณี การให้ทุกคนเท่าๆกัน ไม่ยุติธรรม เพราะบางคนไม่ควรต้องให้ และบางคนควรต้องได้มากกว่า ไม่ใช่ได้เพียงเท่าๆคนอื่น เพราะบางคนมีความต้องการจำเป็นมากกว่าคนอื่น หรือบางคนมีอยู่แล้ว จะให้ไปทำไม

ดังนั้น การแบ่งเท่าๆกันจึงไม่จำเป็นต้องนโยบายที่เที่ยงธรรมเสมอไป

ถ้าจะแบ่งตามความจำเป็น เช่น คนจนควรได้และได้มาก ส่วนคนรวยๆแล้วไม่ควรต้องให้  ปัญหาที่ตามมาคือ จะต้องให้คนจนไปนานเท่าไร เพราะคนรวยคงไม่พอใจที่ทำมาหากินเสียภาษีเพื่อไปช่วยคนจน แต่ตัวเองไม่ได้อะไร

ถ้าจะให้คนรวย-คนจน ต่างคนต่างเลือกนโยบายที่มุ่งแต่ผลประโยชน์ของตน อาจจะลงเอยเป็นความขัดแย้งทางชนชั้นได้ในที่สุด

ในการหาทางออกจากปัญหาการเลือกนโยบายจากฐานะความเป็นอยู่ที่ของเรา มีนักคิดเขาแนะนำว่า ให้ “สมมุติว่า คุณไม่รู้ว่า คุณจะเกิดมาในครอบครัวร่ำรวยหรือยากจน ฉลาดหรือไม่ฉลาด เก่งไม่เก่งเรื่องอะไร เพศอะไร  ฯลฯ  นโยบายแบบไหนที่คุณคิดว่าจะให้ความยุติธรรมแก่คุณ ?”

ทำไมต้องสมมุติแบบนั้น ? คำตอบคือ ถ้าเราไม่สมมุติ เราก็มักจะเลือกนโยบายที่เป็นคุณต่อเรา คนรวยก็ไม่อยากให้เก็บภาษีมาก ในขณะที่คนจนก็อยากให้รัฐบาลนำภาษีมาอุดหนุนเจือจุนแก้ไขความยากลำบากในชีวิต

ดังนั้น การสมมุติดังกล่าว จึงคาดหวังว่า เมื่อแต่ละคนยังไม่รู้ว่าตัวเองจะเป็นยังไง แต่ละคนก็น่าจะหากติกาที่ไม่สุดโต่งและปลอดภัยสำหรับตัวเอง

ที่ว่าไม่สุดโต่งก็คือ ไม่เทไปในทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อสถานะของตนในยามที่ตัวเองรู้แล้วว่า ตัวเองรวยหรือจน เก่งหรือไม่เก่ง  คือเผื่อไว้ทั้งในกรณีที่ตัวเองจะมีความสามารถ มีความร่ำรวย และเผื่อในกรณีที่ตัวเองเกิดมาจน 

ที่ว่าปลอดภัยก็คือ คนรวยหรือไม่จนอาจอยู่ดีๆเกิดตกอับขึ้นมาก็ได้ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม

กติกาหรือหลักการในการกำหนดนโยบายที่เป็นผลจากการทดลองสมมุติว่าตัวเองยังไม่รู้ว่าตัวเองจะเป็นอะไรนี้ จะนำมาซึ่งหลักการกติกาที่คนทุกคนในสถานการณ์สมมุติจะเห็นพ้องต้องกัน ได้แก่

เห็นด้วยกับนโยบายที่ให้พลเมืองทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคในทางการเมือง เพื่อจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายต่างๆได้

เห็นด้วยกับนโยบายที่ให้ความเสมอภาคต่อเพศทุกเพศ เพราะหากเราไม่รู้ว่าจะเกิดเป็นเพศอะไร เพื่อความปลอดภัย เราต้องการให้ความเสมอภาคไว้ก่อน และเช่นเดียวกับเรื่องศาสนา หากเราอยู่ในสถานะของศาสนาที่เป็นคนส่วนน้อยของสังคม เราก็คงต้องการให้ได้รับการยอมรับเท่าๆกับศาสนาอื่นๆ

เห็นด้วยที่จะจ่ายภาษี เพื่อจะเอาไว้ช่วย “คนจน” ในกรณีที่เกิดมาจน รัฐบาลก็ต้องนำงบประมาณมาช่วยให้ตัวเองได้ลืมตาอ้าปาก หรือถ้ารวยแล้วตกอับยากจน ก็คาดหวังให้รัฐบาลนำงบประมาณมาช่วยให้ลืมตาอ้าปาก               

เห็นด้วยที่จะไม่จะเอาภาษีไปช่วยคนที่ไม่จน

เห็นด้วยที่จะมีนโยบายที่ไม่ปิดกั้นศักยภาพความสามารถของตัวเอง หากสามารถจะรวย ก็ต้องเปิดให้รวยได้       

เห็นด้วยว่า มีความไม่เสมอภาคหรือความเหลื่อมล้ำได้ แต่ต้องภายใต้เงื่อนไขที่มีการช่วยเหลือคนจนให้สามารถลืมตา อ้าปากเพื่อเข้าแข่งขันในการทำมาหากินได้

เห็นด้วยกับความไม่เสมอภาคได้ หากความไม่เสมอภาคนั้นเป็นไปเพื่อช่วยเหลือคนยากจน นั่นคือ การเก็บภาษีที่ไม่เสมอภาคกัน เช่น เก็บคนรวยมากกว่า หรือยกเว้นการเก็บภาษีกับคนที่มีรายได้น้อยมาก หรือ การยกเว้นค่าไฟค่าน้ำ และค่าอะไรต่างๆเพื่อช่วยเหลือคนจน

เห็นด้วยกับนโยบายช่วยเหลือคนจนที่มีการพัฒนาให้คนจนสามารถยกระดับขึ้นมาจากความยากจน

เห็นด้วยที่รัฐบาลจะให้งบประมาณส่งเสริมกิจการของคนรวย หรือยกเว้นภาษีให้กับกิจการของคนรวย หากกิจการของคนรวยนั้นนำมาซึ่งการจ้างงานคนจนอย่างประจำและมีจำนวนมากขึ้น ในกรณีนี้ เราสามารถทำความเข้าใจได้จากตัวอย่างดังต่อไปนี้ คือ แทนที่รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณเป็นตัวเงินช่วยเหลือให้แก่คนจนทุกคน เช่น มีงบประมาณ 100 บาท แจกคนจน 100 คน คนจนแต่ละคนจะได้ 1 บาท ซึ่งใช้แล้วก็หมดไป  แต่ถ้านำ 100 บาทไปส่งเสริมกิจการคนรวย ภายใต้เงื่อนไขที่คนรวยจะขยายกิจการและมีการจ้างงานเกิดขึ้น ทำให้คนจนมีงานประจำทำ เดือนหนึ่งอาจจะได้เงินเดือน  1 บาท แต่คนจนที่มีมีงานประจำทำนั้น จะมีเงิน 1 บาทใช้ประจำทุกเดือนตราบที่ตนทำงานให้กับกิจการนั้น

ท่านผู้อ่านน่าจะลองสมมุติตัวเองว่ายังไม่รู้ว่าเกิดมาแล้วจะเป็นอย่างไร  แล้วลองมาเทียบกันดูว่าตรงกับที่กล่าวไปข้างต้นไหม ?              

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มาแล้ว! หนึ่งอำเภอหนึ่งติ๊กต๊อกเกอร์

‘ทักษิณ’ ปราศรัยเวทีสุดท้าย กร้าว สิ้นปีนี้ต้องจัดการยาเสพติดให้เกลี้ยง ผุด ไอเดียหนึ่งอำเภอหนึ่งติ๊กต๊อกเกอร์-ส่งสินค้าไทยไปทั่วโลก โวปี 70 เงินเต็มกระเป๋า ซัดพวกด่ารัฐบาล ผัว-เมียไม่รัก เลยมาลงกับนายกฯ

ตัวตึง ปชน.ฟิตจัดนำทีมหาเสียงนายก อบจ.ตราดวันหยุดปีใหม่

วันแรกของปี 68 วิโรจน์นำทีมหาเสียง นายก อบจ.ตราด ควง สส.ตราด อดีตรองผู้ว่าฯ ตราด ขึ้นรถอวยพรปีใหม่ บอกพรรคปรับยุทธศาสตร์หาเสียง หลังแพ้ทุกจังหวัด

ไม่เอาไว้ทำพ่อ! 'ทักษิณ' ขู่ฟ่อ ต่อไปนี้ใครเล่นงาน จะเล่นกลับหมด บางคนให้ตังค์ใช้ พอไม่เลี้ยงโดนมันกัด

ช่วงเย็นวานนี้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้เดินทางมาปราศรัยหาเสียงช่วยนายพิชัย เลิศพงษ์อดิศร ผู้สมัครนายกองค์การบริหาร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น

'หัวหน้าปชน.' โต้ กกต. ฟัน สส.ชลบุรี ข้อหาเล็กน้อย สั่งทีม กม. สู้คดี

'ณัฐพงษ์' แจง กกต. สั่งดำเนินคดี 'สส.ชลบุรี' ยื่นบัญชีรายจ่ายเลือกตั้งเท็จ ชี้ ปชน. เตรียมทีมกฎหมายไว้แล้ว เชื่อ สังคมมองออก ข้อหาเล็กน้อย กลั่นแกล้งการเมืองหรือไม่

พรรคส้มดาวกระจาย สู้ศึกอบจ. ‘พิธา’ ชน ‘ทักษิณ’ ตรง ‘ประตูท่าแพ-ตลาดวโรรส’ จันทร์นี้

พรรคประชาชน(ปชน.)เตรียมตัวส่งผู้สมัครนายก อบจ.ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ในวันที่ 23 ธ.ค. โดยส่งระดับแกนนำและผู้ช่วยหาเสียงที่เป็นผู้นำจิตวิญญาณลงประกบตามพื้นที่ต่างๆ