ตามข้อมูลในวิกิพีเดีย กล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์ว่า “พรรคประชาธิปัตย์ (ย่อ: ปชป.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่เก่าแก่ที่สุด ก่อตั้งขึ้นในฐานะพรรคฝ่ายกษัตริย์นิยม และปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายอนุรักษนิยม” โดยมีเชิงอรรถอ้างอิง 4 รายการ คือ
ก. "Demise of the Democrat Party in Thailand". ของ Joshua Kurlantzick (โจชัว เคอร์แลนต์ซิค) สังกัดองค์กรอิสระที่ชื่อ Council on Foreign Relations
ข. "Democrat Party (DP) / Phak Prachathipat".. สืบค้นเมื่อ 16 May 2020. Of the four ruling coalition parties in 1987, the Democrat Party was considered to be somewhat liberal, despite its beginning in 1946 as a conservative, monarchist party. ขององคกรอิสระที่ชื่อ GlobalSecurity.org
ค. "Thailand's main political parties". Al Jazeera. 3 July 2011. สืบค้นเมื่อ 16 May 2020. Prime Minister Abhisit Vejjajiva's ruling Democrat Party was founded in 1946. It is conservative, pro-monarchy and establishment, backed by the military and most of the Bangkok-based elite.
ง. Bunbongkarn, Suchit (1999), "Thailand: Democracy Under Siege", Driven by Growth: Political Change in the Asia-Pacific Region, M.E. Sharpe, p. 173, ISBN 9780765633446
รายการแรกคือ บทความของคุณโจชัว เคอร์แลนต์ซิคที่เขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2556 ไม่ได้กล่าวถึงการก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่ใช่แหล่งอ้างอิงที่สนับสนุนว่าประชาธิปัตย์ “…ก่อตั้งขึ้นในฐานะพรรคฝ่ายกษัตริย์นิยม” แต่ในบทความของเขาได้กล่าวว่า
“…แต่ตั้งแต่ชนชั้นกลางและคนชนชั้นแรงงานในชนบทมีพลังมากขึ้น (the Thai rural working and middle class has become empowered) คนประชาธิปัตย์ (the Democrats) ก็เป็นอนุรักษ์นิยมมากขึ้น” และจากความขัดแย้งทางการเมืองในปี พ.ศ. 2556 จากการที่ สส. ประชาธิปัตย์พากันยกทีมลาออกจากการ ส.ส. และไปลงถนนร่วมการประท้วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคอร์แลนต์ซิคเห็นว่า เป็นการประท้วงที่นักการเมืองประชาธิปัตย์ได้เข้าร่วมกวางแผนเพื่อนำการเมืองไปสู่สภาวะอนาธิปไตย (anarchy) และล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์
การกระทำดังกล่าวทำให้เคอร์แลนต์ซิคเห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้มาถึงจุดตกต่ำอีกครั้ง และพรรคประชาธิปัตย์ดูจะดำรงอยู่เพื่อต่อต้านสถาบันประชาธิปไตยและทำลายวัฒนธรรมประชาธิปไตย นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าเศร้าในสิบห้าปี เพราะสิบห้าปีก่อน เคอร์แลนซิคเห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์สามารถนำพาประเทศให้พ้นวิกฤตเศรษฐกิจการเงินได้จากความสามารถของทีมเศรษฐกิจของพรรค
ส่วนรายการที่สองคือ GlobalSecurity.org ที่เขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2554 กล่าวว่า แม้ว่าประชาธิปัตย์ในตอนก่อตั้งในปี พ.ศ. 2489 จะอยู่ในฐานะที่เป็นพรรคอนุรักษ์นิยมและเป็น monarchist party แต่ในปี พ.ศ. 2530 ถ้าพิจารณาพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสี่พรรคแล้ว พบว่า พรรคประชาธิปัตย์ถือว่าค่อนข้างเป็นเสรีนิยม
ผู้เขียนเห็นว่า ควรตั้งข้อสังเกตว่า ทำไม GlobalSecurity.org จึงกล่าวว่า ในช่วงก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ นั่นคือ ในปี พ.ศ. 2489 พรรคประชาธิปัตย์จึงมีจุดยืนเป็น monarchist party ? ถ้าพรรคประชาธิปัตย์เป็น monarchist party ในปี พ.ศ. 2489 ก็แปลว่า ในสายตาของ GlobalSecurity.org พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองอื่นๆในขณะนั้น ไม่ได้เป็น monarchist party ! และการไม่เป็น monarchist party หมายความว่าอย่างไรภายใต้การมีระบอบการปกครองที่เรียกว่า ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ???
อย่างไรก็ตาม คำว่า monarchist สามารถแปลเป็นไทยว่า กษัตริย์นิยม ก็ได้ แต่ก็แปลว่าสนับสนุนการมีสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับบริบททางการเมืองขณะนั้น
พรรคประชาธิปัตย์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 หลังจากที่ปรีดี พนมยงค์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งแรกเพียง 13 วัน
ส่วนรายการที่สาม เป็นบทความของสำนักข่าว อัลจาซีรา ที่เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2554 เช่นกัน กล่าวถึงประชาธิปัตย์ว่า ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2489 เป็นพรรคแนวอนุรักษ์นิยม โปร-สถาบันกษัตริย์และกลุ่มอำนาจที่ดำรงอยู่ (pro-monarchy and establishment) และเป็นพรรคที่ได้รับการหนุนหลังโดยกองทัพและชนชั้นนำส่วนใหญ่ในกรุงเทพ ได้รับความนิยมในหมู่ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนที่เป็นชนชั้นกลางและมีฐานเสียงเข้มแข็งในภาคใต้และกรุงเทพ และพยายามต่อสู้เสนอนโยบายประชานิยมต่างๆเพื่อหวังจะได้เสียงจากคนจนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ขณะเดียวกัน ประชาธิปัตย์ถูกมองว่าเป็นพรรคการเมืองที่มีความสามารถมากที่สุดในการจัดการกับปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
มีข้อน่าสังเกตระหว่างรายการอ้างอิงที่หนึ่ง กับ รายการอ้างอิงที่สองและที่สาม นั่นคือ รายการอ้างอิงที่หนึ่งเป็นข้อเขียนที่มีชื่อคนเขียน และเมื่อตรวจสอบประวัติภูมิหลังการทำงานแล้ว เป็นนักวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือมีประสบการณ์และมีผลงานวิเคราะห์การเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง และสังกัดองค์กรที่ชื่อ Council on Foreign Relations ที่เป็นองค์กรอิสระที่เก่าแก่ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องยาวนาน
ส่วนรายการที่สองและที่สามนั้น ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน จึงไม่สามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้ และตามหลักการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อเขียนหรือบทความที่เผยแพร่ในโลกโซเชียลมีเดีย การเผยแพร่ข้อเขียนที่ปรากฎชื่อผู้เขียน ไม่ถือว่าเป็นบทความที่น่าเชื่อถือเท่าไรนัก
ผู้เขียนได้กล่าวถึงสามรายการแรกไปแล้ว ซึ่งถือว่าเป็น “คนนอก” ในตอนนี้ จะกล่าวถึงข้อเขียนของ “คนใน” นั่นคือ นักวิชาการชั้นนำทางรัฐศาสตร์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. สุจิต บุญบงการ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
อาจารย์สุจิตได้เขียนบทความเรื่อง “ประเทศไทย: ประชาธิปไตยติดหล่ม” (Thailand Under Siege) ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือชื่อ “ขับเคลื่อนโดยการเติบโต (ทางเศรษฐกิจ): การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก” ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2542
ในบทความดังกล่าว ข้อความที่อาจารย์สุจิตกล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์ที่พอจะนำมาเชื่อมโยงกับคำอธิบายพรรคประชาธิปัตย์ในวิกิพีเดียที่ว่า “พรรคประชาธิปัตย์ (ย่อ: ปชป.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่เก่าแก่ที่สุด ก่อตั้งขึ้นในฐานะพรรคฝ่ายกษัตริย์นิยม และปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายอนุรักษนิยม” อยู่ในหน้า 173 โดยอาจารย์สุจิตเขียนไว้ว่า
“The Democrat Party is perhaps the only major party that is more stable and cohesive. Established in 1946, it is the oldest party and adheres to liberalism and a market economy. It has a strong base in Bangkok from the 1950s to the 1970s, but lost to the Palangdharm and Prachakorn Thai Parties in the 1980s. In November 1996 election, however, it surged back, capturing twenty-nine out of thirty-seven seats in Bangkok constituencies.”
“พรรคประชาธิปัตย์อาจจะเป็นพรรคใหญ่เพียงพรรคเดียวที่มีเสถียรภาพและเป็นปึกแผ่น ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2489 เป็นพรรคที่เก่าแก่ที่สุดและยึดในหลักเสรีนิยมและระบบเศรษฐกิจแบบตลาด พรรคประชาธิปัตย์มีฐานที่มั่นในกรุงเทพฯตั้งแต่ทศวรรษ 2493 ถึงทศวรรษ 2513 แต่แพ้พรรคพลังธรรมและพรรคประชากรไทยในช่วงทศวรรษ 2523 แต่ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 พรรคประชาธิปัตย์สามารถกลับมาได้ โดยได้ สส. กรุงเทพ 29 ที่นั่งจากทั้งหมด 37 ที่นั่ง”
จากที่กล่าวมา น่าสนใจว่า สิ่งที่อาจารย์สุจิต นักวิชาการชั้นนำทางรัฐศาสตร์ของไทย เขียนในบทความที่พอจะเกี่ยวข้องกับคำอธิบายพรรคประชาธิปัตย์ที่ขึ้นต้นในวิกิพีเดีย มีแค่พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่เก่าแก่ที่สุดเท่านั้น ขณะเดียวกัน ก็ไม่มีคำว่าอนุรักษ์นิยมหรือโปร-เจ้า หรือ monarchist แต่อาจารย์สุจิตเห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นเสรีนิยม ซึ่งก็ตรงกับ
แต่กระนั้น บทความของอาจารย์สุจิตเป็นบทความที่เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2542 จึงน่าไปถามท่านว่า ท่านจะเห็นด้วยหรือไม่กับบทความของคุณโจชัว เคอร์แลนต์ซิคที่ว่า ต่อมา พรรคประชาธิปัตย์มีความเป็นอนุรักษ์นิยมมากขึ้น และบทบาททางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ในปี พ.ศ. 2556 ถือเป็นการต่อต้านสถาบันประชาธิปไตยและทำลายวัฒนธรรมประชาธิปไตย ?
น่าสนใจว่า พรรคการเมืองในต่างประเทศมีการเคลื่อนตัวจากการเป็นเสรีนิยมไปสู่อนุรักษ์นิยมอย่างที่เกิดขึ้นกับพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ ?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 36): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 47: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ปรับคณะรัฐมนตรีและชะลอการใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราชั่วคราว
เด็ก ปชป.ซัดขาประจำวิจารณ์พรรคหัดคิดบวกอย่าทำตัวเป็นมลพิษไปวันๆ
'ศักดิ์สิทธิ์' เตือนขาประจำวิจารณ์ ปชป. เปิดใจ คิดบวกมองเรื่องสร้างสรรค์ อย่าเป็นตัวมลพิษทำลายสุขภาวะบ้านเมือง
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 46: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ปรับคณะรัฐมนตรีและชะลอการใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราชั่วคราว
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 34): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490