ตามข้อมูลในวิกิพีเดีย กล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์ว่า “พรรคประชาธิปัตย์ (ย่อ: ปชป.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่เก่าแก่ที่สุด ก่อตั้งขึ้นในฐานะพรรคฝ่ายกษัตริย์นิยม และปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายอนุรักษนิยม” โดยมีเชิงอรรถอ้างอิง 4 รายการ คือ
ก. "Demise of the Democrat Party in Thailand". ของ Joshua Kurlantzick (โจชัว เคอร์แลนต์ซิค) สังกัดองค์กรอิสระที่ชื่อ Council on Foreign Relations
ข. "Democrat Party (DP) / Phak Prachathipat".. สืบค้นเมื่อ 16 May 2020. Of the four ruling coalition parties in 1987, the Democrat Party was considered to be somewhat liberal, despite its beginning in 1946 as a conservative, monarchist party. ขององคกรอิสระที่ชื่อ GlobalSecurity.org
ค. "Thailand's main political parties". Al Jazeera. 3 July 2011. สืบค้นเมื่อ 16 May 2020. Prime Minister Abhisit Vejjajiva's ruling Democrat Party was founded in 1946. It is conservative, pro-monarchy and establishment, backed by the military and most of the Bangkok-based elite.
ง. Bunbongkarn, Suchit (1999), "Thailand: Democracy Under Siege", Driven by Growth: Political Change in the Asia-Pacific Region, M.E. Sharpe, p. 173, ISBN 9780765633446
ผู้เขียนได้เข้าไปค้นดูบทความของ 3 รายการแรกไปแล้ว รวมทั้งสืบค้นประวัติของ 2 องค์กร อันได้แก่ Council on Foreign Relations และ GlobalSecurity.org
ข้อเขียนของคุณ โจชัว เคอร์แลนต์ซิค น่าเชื่อถือด้วยเหตุผลที่ว่า มีตัวตนจริง และมีข้อเขียนเกี่ยวกับการเมืองไทยมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรเป็นอย่างน้อย และมีการประเมินวิเคราะห์ที่กล่าวได้ว่ามีความเป็นกลาง คือไม่ได้ไม่เห็นข้อเสียในการบริหารประเทศของทักษิณ
ส่วนข้อเขียนเรื่อง "Democrat Party (DP) / Phak Prachathipat" ของ GlobalSecurity.org จะมีข้อควรตระหนักคือ ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน เพียงแต่บอกว่าเป็นขององค์กร และไม่ปรากฎว่าเคยศึกษาหรือเคยเขียนเกี่ยวกับการเมืองไทยมามากน้อยแค่ไหน อีกทั้งเป็นองค์กรที่เพิ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543
ในบทความของ GlobalSecurity.org มีการกล่าวว่า “พรรคประชาธิปัตย์ในตอนเริ่มต้นจะอยู่ในฐานะที่เป็นพรรคอนุรักษ์นิยม ที่เป็น monarchist party” แต่สิ่งที่วิกิพีเดียไม่ได้นำความเห็นของ GlobalSecurity.org ที่กล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์ที่มีจุดยืนแบบเสรีนิยม เพราะมีตอนหนึ่งที่ GlobalSecurity.org กล่าวว่า “จุดยืนของพรรคประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2530 ถ้าพิจารณาพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสี่พรรค พรรคประชาธิปัตย์ถือว่าค่อนข้างเป็นเสรีนิยม”
ส่วนบทความที่สามเรื่อง "Thailand's main political parties" ที่กล่าวว่า “พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคอนุรักษ์นิยม โปร-สถาบันกษัตริย์และกลุ่มอำนาจที่ดำรงอยู่ และได้รับการหนุนหลังโดยกองทัพและชนชั้นนำในกรุงเทพฯ” บทความที่ว่านี้เป็นของสำนักข่าว อัลจาซีรา (Al Jazeera)
ซึ่งผู้เขียนมีข้อพึงสังเกตในลักษณะเดียวกันกับ GlobalSecurity.org คือไม่ปรากฎชื่อผู้เขียนที่คนอ่านพอจะตรวจสอบได้ว่า เคยเขียนเกี่ยวกับการเมืองไทยหรือการเมืองประเทศอื่นไว้อย่างไร
ขณะเดียวกัน ในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสำนักข่าวนี้ ผู้เขียนได้รับข้อมูลจากคุณ Nick Poolsaad เพื่อนในเฟสบุ๊คที่ส่งมาให้ จะเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพียงไร ขอให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาเอง
“อัลจาซีรา เชื่อถือได้แค่ไหน ? โพสต์โดย Phillip Meylan 15 กันยายน 2022
อัลจาซีราโดดเด่นในเวทีระหว่างประเทศในฐานะหนึ่งในองค์กรข่าวที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษแบบตะวันตกไม่กี่แห่งที่ได้รับความนิยม นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 1996 (พ.ศ. 2539) ได้รองรับผู้ชมชาวอาหรับและผู้ชมจากต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การรายงานดังกล่าวไม่ได้ไม่มีข้อถกเถียงโต้แย้ง เนื่องจากอัลจาซีรามีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลกาตาร์ สิ่งนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า การรายงานข่าวหรือบทวิเคราะห์ของอัลจาซีรามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีความครอบคลุมแค่ไหน และมีความลำเอียงมากน้อยเพียงใด ?
จากแหล่งที่ทำการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงของข่าวมากกว่า 10,000 เรื่องทุกวัน เพื่อช่วยให้ผู้อ่านค้นหาบทความที่มีข้อมูลมากที่สุดและมีอคติน้อยที่สุด อัลกอริทึมการให้คะแนนข่าวจะให้คะแนนบทความแต่ละบทความตามสี่ตัววัด ได้แก่: (1) แหล่งที่มาและคำพูดที่อ้างถึง (2) ประวัติการตีพิมพ์ (3) โทนการเขียน และ (4) ความเชี่ยวชาญของผู้เขียน
คะแนนเหล่านี้จะถูกนำมารวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยที่เรียกว่า Factual Grade ซึ่งมีตั้งแต่ 0–100%
ในการสำรวจตรวจสอบนี้ ได้วิเคราะห์บทความประมาณ 1,000 บทความจากแหล่งข่าว 240 แหล่ง เกรดโดยเฉลี่ยสำหรับชุดข้อมูลทั้งหมดคือ 62.5% จากค่าเฉลี่ยเหล่านี้ ทำให้สามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพของไซต์ข่าวในระบบการนำเสนอข่าวของสื่อต่างๆได้
อัลจาซีราเชื่อถือได้แค่ไหน?
Al Jazeera ทำคะแนน เกรดข้อเท็จจริง Factual Grade เฉลี่ยที่ 59.3% ซึ่งอยู่ในเปอร์เซ็นไทล์ที่ 23 ในชุดข้อมูลที่ทำการสำรวจ
ในกรณีของ Al Jazeera คะแนนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเหล่านี้อาจมาจากบทความที่ไม่มีผู้เขียนที่สามารถระบุตัวตนได้ ดังนั้นจึงได้รับคะแนนต่ำสำหรับความเชี่ยวชาญของผู้เขียน บทความจำนวนมากยังขาดไฮเปอร์ลิงก์ไปยังเรื่องราวอื่นๆ ในหัวข้อเดียวกัน ทำให้คะแนนโดยรวมสำหรับคุณภาพของแหล่งข้อมูลลดลง อย่างไรก็ตาม บทความจากอัลจาซีราส่วนใหญ่ใช้ภาษาที่เป็นกลาง
เช่นเดียวกับแหล่งข่าวอื่น ๆ คะแนนสำหรับบทความจาก อัลจาซีรา นั้นแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ความเชี่ยวชาญของผู้เขียนและหลักฐานที่อ้างอิง ตัวอย่างเช่น บางคนทำคะแนนได้สูงกว่า 80% ในขณะที่บางคนทำคะแนนได้ต่ำกว่า 50%
ใครเป็นผู้บริหารอัลจาซีรา ? ประธานคือชีค ชีคฮามัด บิน ทาเมอร์ อัล ธานี ภายใต้ “โมสเตฟา ซูอัก” ซึ่งเป็นองค์กร "มูลนิธิส่วนตัวเพื่อสาธารณประโยชน์" ภายใต้กฎหมายกาตาร์ ประเภทของกิจกรรมคือ การเผยแพร่ข่าว การอภิปราย และเป็นสื่อของรัฐ นั่นคือ ประเทศกาตาร์
ในเรื่องรายได้ อัลจาซีราต่างจากรายการข่าวทางเคเบิลอื่นๆ เพราะอัลจาซีรามีจำนวนเงินเกือบไม่จำกัด ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลที่มั่งคั่งด้านน้ำมันและก๊าซของกาตาร์ ซึ่งหมายความว่าผู้บริหารของ Al Jazeera America จะไม่ต้องลำบากยากแค้นในการขายโฆษณาต่างๆ แถมยังลดจำนวนโฆษณาต่อชั่วโมงลงครึ่งหนึ่งอีกด้วย
ใครเป็นผู้ควบคุมอัลจาซีรา ? ผู้มีอำนาจควบคุมเด็ดขาด คือ ชีคฮามัด บินทาเมอร์ อัลธานี
ผลที่เกิดขึ้นจากการมีสำนักข่าวอัลจาซีรา คือ ทำให้คนในตะวันออกกลางได้เรียนรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการเมืองของตะวันตกมากกว่าจากแหล่งอื่นๆ และแน่นอนว่า อัลจาซีราจะได้เปรียบสำนักข่าวตะวันตกในการรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบางพื้นที่ในตะวันออกกลางที่ผู้สื่อข่าวสำนักอื่นไม่สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย
ในตอนต่อไป จะได้กล่าวถึงรายการอ้างอิงสุดท้ายที่กล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์ว่าเป็น “พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองไทยที่เก่าแก่ที่สุด ก่อตั้งขึ้นในฐานะพรรคฝ่ายกษัตริย์นิยม และปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายอนุรักษนิยม” อันเป็นรายการอ้างอิงที่น่าสนใจที่สุด เพราะเป็นรายการอ้างอิงเดียวที่เป็นคนไทย และที่สำคัญคือ ท่านเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณทางรัฐศาสตร์ และอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 42)
ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นถึงการปกครองภายใต้คณาธิปไตยสืบทอดอำนาจของคณะราษฎรตลอดระยะเวลา 13 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2476-2489
'จุรินทร์' ยึดหลัก 4 ข้อ โหวตแก้รธน. เชื่อ สว. ลงมติมีเหตุผลอยู่แล้ว
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส. บัญชีรายชื่อ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงอุปสรรคในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประธานรัฐสภา จะบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมร่วมรัฐสภา
'ชวน' อวยพรคนไทยให้เข้มแข็งด้วยตัวเองอย่ารอแค่เงินแจก
'ชวน' อวยพรคนไทยประสบความสำเร็จ ย้ำต้องเข้มแข็งช่วยเหลือตัวเอง ไม่รอเงินแจก
'ชวน' นำคนตรังทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่
อดีตนายกฯ ชวน ร่วมทำบุญตักบาตร เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2568 ร่วมด้วยประชาชน พร้อมอวยพรให้คนตรังอยู่ดีมีสุข ร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม
'เทพไท' เตือน 'ทักษิณ' ฟังคำแนะนำ 'นายหัวชวน' ก่อนซ้ำรอยไม่มีแผ่นดินอยู่
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์คลิปพร้อมเนื้อหาบนเฟซบุ๊ก
‘จุรินทร์' ชี้รัฐบาลอยู่นานหรือไม่ขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัย
”จุรินทร์“ ชี้รัฐบาลยังมีเสถียรภาพเพราะเสียงมาก แต่อยู่ได้นานแค่ไหนขึ้นกับ 4 ปัจจัย