ประวัติศาสตร์ของปัจจุบัน: เรื่องพรรคประชาธิปัตย์ กับ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 (ตอนที่ 6: พรรคประชาธิปัตย์ในสายตา อัลจาซีรา ในปี พ.ศ. 2554 )

 

ตามข้อมูลในวิกิพีเดีย กล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์ว่า  “พรรคประชาธิปัตย์ (ย่อ: ปชป.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่เก่าแก่ที่สุด ก่อตั้งขึ้นในฐานะพรรคฝ่ายกษัตริย์นิยม และปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายอนุรักษนิยม” โดยมีเชิงอรรถอ้างอิง 4 รายการ หนึ่งในนั้นคือ “Democrat Party (DP) / Phak Prachathipat". GlobalSecurity.org. (เมษายน พ.ศ. 2555) (https://www.globalsecurity.org/military/world/thailand/political-party-dp.htm)  และในบทความของ GlobalSecurity.org ได้กล่าวว่า “พรรคประชาธิปัตย์ในตอนเริ่มต้นจะอยู่ในฐานะที่เป็นพรรคอนุรักษ์นิยม ที่เป็น monarchist party”  แต่สิ่งที่วิกิพีเดียไม่ได้นำความเห็นของ GlobalSecurity.org ที่กล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมด เพราะมีตอนหนึ่งที่ GlobalSecurity.org กล่าวว่า “จุดยืนของพรรคประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2530 ถ้าพิจารณาพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสี่พรรค พรรคประชาธิปัตย์ถือว่าค่อนข้างเป็นเสรีนิยม”

Globalsecuity.org เป็นองค์กรเกี่ยวกับอะไร ?

คำตอบดูจะไม่ต่างจาก  Council on Foreign Relations ที่คุณโจชัว เคอร์แลนต์ซิค สังกัด  (คุณโจชัว เคอร์แลนต์ซิค เป็นผู้เขียนบทความที่เป็นหนึ่งในสี่ของรายการอ้างอิง และมีความเห็นว่า ในเหตุการณ์ปี พ.ศ. 2556 พรรคประชาธิปัตย์มีความเป็นอนุรักษ์นิยม ไม่ฟังเสียงประชาชนนและเป็นปฏิปักษ์กับประชาธิปไตย

ที่ว่า GlobalSecurity.org ไม่ต่างจาก Council on Foreign Relations เพราะเป็นองค์กรที่ประกาศตัวว่า เป็นองค์กรอิสระ ไม่ขึ้นกับรัฐบาล ไม่ฝักใฝ่ใด เป็นองค์กรที่รับทำหน้าที่เป็นคลังสมอง โดย GlobalSecurity.org จะเน้นไปที่ความมั่นคงแห่งชาติและระดับนานาชาติ ถนัดในการวิเคราะห์ด้านการทหาร จัดระบบและการยุทธศาสตร์ ข่าวกรองและนโยบายด้านอวกาศ

ทั้งสององค์กรมีสัญชาติอเมริกันทั้งคู่ แต่ต่างกันตรงที่ GlobalSecurity.org เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2000  ในขณะที่ Council on Foreign Relations ก่อตั้งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1918 หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง

ต่อมา รายการอ้างอิงที่ 3 คือ "Thailand's main political parties". Al Jazeera. 3 July 2011.. Prime Minister Abhisit Vejjajiva's ruling Democrat Party was founded in 1946. It is conservative, pro-monarchy and establishment, backed by the military and most of the Bangkok-based elite.

ข้อเขียนเรื่อง “พรรคการเมืองหลักของไทย” (Thailand’s main political parties) เป็นข้อเขียนในเชิงวิเคราะห์รายงานข่าวของสำนักข่าว อัลจาซีรา ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554  ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่มีการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทย  ซึ่งในขณะที่เผยแพร่ ยังไม่รู้ผลว่าพรรคใดได้ ส.ส. เท่าไร

ในการเลือกตั้งครั้งนั้น อัลจาซีราเห็นว่า ในบรรดาพรรคการเมืองที่ส่งคนลงแข่งขันเลือกตั้งทั้งสิ้น 42 พรรค มีพรรคการเมืองที่น่าจับตาอยู่ 8 พรรค อันได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นรัฐบาลรักษาการอยู่ขณะนั้น และพรรคเพื่อไทยที่ทำหน้าที่ฝ่ายค้าน  โดยอัลจาซีราเห็นว่า ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 จะมีแต่สองพรรคนี้ที่จะแข่งกันเป็นแกนจัดตั้งรัฐบาล ส่วนพรรคอื่นๆที่เหลืออีก 8 พรรคก็จะพยายามที่จะเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลผสม 

อัลจาซีรา กล่าวถึงประชาธิปัตย์ว่า ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2489 เป็นพรรคแนวอนุรักษ์นิยม  โปร-สถาบันกษัตริย์และกลุ่มอำนาจที่ดำรงอยู่ (pro-monarchy and establishment) และเป็นพรรคที่ได้รับการหนุนหลังโดยกองทัพและชนชั้นนำส่วนใหญ่ในกรุงเทพ ได้รับความนิยมในหมู่ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนที่เป็นชนชั้นกลางและมีฐานเสียงเข้มแข็งในภาคใต้และกรุงเทพ และพยายามต่อสู้เสนอนโยบายประชานิยมต่างๆเพื่อหวังจะได้เสียงจากคนจนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ  ขณะเดียวกัน ประชาธิปัตย์ถูกมองว่าเป็นพรรคการเมืองที่มีความสามารถมากที่สุดในการจัดการกับปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ                 

ส่วนพรรคเพื่อไทย อัลจาซีราอธิบายว่าเป็นพรรคที่ตั้งขึ้นเป็นครั้งที่สามของกลุ่มการเมืองเดิม นั่นคือ ไทยรักไทย พลังประชาชน เป็นพรรคที่ชนะการเลือกตั้งได้ ส.ส. เป็นจำนวนมากที่สุดถึงสองครั้ง (อัลจาซีราใช้คำว่า landslides) จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548

อัลจาซีรากล่าวไว้ชัดเจนว่า พรรคเพื่อไทยอยู่ภายใต้การควบคุมของทักษิณ ชินวัตรที่ลี้ภัยอยู่ในดูไบ ซึ่งการลี้ภัยของเขาเกิดจากการที่เขาตัดสินใจจะไปเอง ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทยรณรงค์หาเสียงโดยอาศัยภาพลักษณ์และนโยบายประชานิยมของทักษิณ  โดยมียิ่งลักษณ์ ชินวัตร นักธุรกิจอายุ 44 ปีน้องสาวของทักษิณเป็นแคนดิเดทนายกรัฐมนตรี และหากเธอได้รับเลือก เธอจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย 

ทักษิณกล่าวถึงยิ่งลักษณ์ว่าเป็น “โคลนนิ่ง” ของเขา  เป็นตัวแทนทางการเมืองของเขา และมีนโยบายประชานิยมแบบเดียวกับเขา อีกทั้งเธอจะพยายามให้มีการนิรโทษกรรมนักการเมือง รวมทั้งทักษิณ พี่ชายของเธอด้วย

อัลจาซีรากล่าวว่า ฐานเสียงที่หนาแน่นของเพื่อไทยคือ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือและได้รับการสนับสนุนโดย “คนเสื้อแดง” ที่เป็นกลุ่มประท้วงที่ทรงพลังของคนชนบทและคนจน ซึ่งอาจจะทำให้เพื่อไทยคะแนนเสียงมหาศาล และอาจจะทำให้การนิรโทษกรรมช่วยทักษิณเป็นไปได้ ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความวุ่นวายจลาจลในอนาคตได้ 

โพลสำรวจความเห็นก่อนวันเลือกตั้งชี้ว่า เพื่อไทยมีคะแนนนำอย่างสบายๆเหนือประชาธิปัตย์ แต่ศัตรูของพรรคเพื่อไทยคือ ผู้นำกองทัพและกลุ่มอำนาจเดิม ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคในการจัดตั้งรัฐบาลผสม

ต่อจากพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย พรรคการเมืองที่สามในที่เหลือ 5 พรรคที่อัลจาซีรากล่าวถึงคือ พรรคภูมิใจไทย

อัลจาซีรา กล่าวถึงภูมิใจไทยว่า เป็นพรรคที่มี ส.ส. เป็นอันดับที่สองในบรรดาพรรคการเมืองที่ร่วมตั้งรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์  คนที่คุมพรรคภูมิใจไทยคือ เนวิน ชิดชอบ มือประสานทางการเมืองที่ทรงอิทธิพล เขาเคยเป็นมือขวาของทักษิณ ก่อนที่ทักษิณจะแตกหักกับเขา

ภูมิใจไทยเข้าเป็นพันธมิตรกับพรรคชาติไทยพัฒนาเพื่อเป็นพลังในการต่อรองทางการเมืองในการจัดตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้ง แต่อัลจาซีราเห็นว่า การประกาศข้อตกลงดังกล่าวเป็นโวหารมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง

ในการเป็นรัฐบาลร่วมกับประชาธิปัตย์  ภูมิใจไทยถูกกล่าวหาพัวพันกับการคอร์รัปชั่นมากมาย และเป็นความฉาวโฉ่ที่ติดไปกับรัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ                 

สมาชิกภูมิใจไทยจำนวนมากเคยเป็นพันธมิตรของทักษิณมาก่อน ส่งผลให้ภูมิใจไทยแข่งกับเพื่อไทยอย่างดุเดือด และเพื่อไทยก็ประกาศไม่จับมือกับภูมิใจไทยในการจัดตั้งรัฐบาล 

ผลโผลสำรวจความเห็นของประชาชนชี้ว่า ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 ภูมิใจไทยจะไม่ได้ ส.ส. มากขึ้น

นโยบายหาเสียงของภูมิใจไทยครั้งนั้นคือ ลดภาษีแวท (VAT) ลงร้อยละสอง ตั้งกองทุนประกันราคาพืชผลให้แก่เกษตรกรและมีเงินเดือนให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขและคนชรา

---------- 

ข้อความอัลจาซีราที่เคยกล่าวถึงประชาธิปัตย์ในปี พ.ศ. 2554ว่าเป็น “พรรคแนวอนุรักษ์นิยม  โปร-สถาบันกษัตริย์และกลุ่มอำนาจที่ดำรงอยู่ (pro-monarchy and establishment) แล้ว ข้อความที่ว่า “ประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ได้รับการหนุนหลังโดยกองทัพและชนชั้นนำส่วนใหญ่ในกรุงเทพ ได้รับความนิยมในหมู่ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนที่เป็นชนชั้นกลางและมีฐานเสียงเข้มแข็งในภาคใต้และกรุงเทพ และพยายามต่อสู้เสนอนโยบายประชานิยมต่างๆเพื่อหวังจะได้เสียงจากคนจนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ  ขณะเดียวกัน ประชาธิปัตย์ถูกมองว่าเป็นพรรคการเมืองที่มีความสามารถมากที่สุดในการจัดการกับปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ”  ดูจะไม่เป็นความจริงอีกต่อไปในการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 !     

เพราะมีพรรคการเมืองเป็นอนุรักษ์นิยมและโปร-สถาบันกษัตริย์และกลุ่มอำนาจที่ดำรงอยู่ (pro-monarchy and establishment) ชัดเจนมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์เสียแล้ว และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ประกาศชัดเจนว่าจะไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี

ส่วนข้อความที่กล่าวถึง เพื่อไทย และ ภูมิใจไทย ดูจะไม่เปลี่ยนแปลงไป ยกเว้นข้อความที่ว่า ภูมิใจไทยจะไม่ได้ ส.ส. เพิ่ม !!

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘อภิสิทธิ์’ ปัดข่าวลือซุ่มตั้งพรรคใหม่ ย้ำหาก ‘ปชป.’ ยังเป็นแบบนี้ ไม่มีทางคัมแบ็ก

ขณะนี้ ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด  ที่ก็ไม่แปลกเพราะขณะนี้หาพรรคการเมืองที่เราคิดว่าเราสนิทใจในการที่จะเป็นสมาชิกพรรคไม่ได้อยู่แล้ว

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 39): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 38): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร