ในหนังสือ “เอกสารการเมือง-การปกครองไทย” ที่ตีพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๑๘ ชัยอนันต์ สมุทวนิช และ ขัตติยา กรรณสูตรได้รวบรวมเอกสารสำคัญในการเมืองการปกครองไทยระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๗๗ เอกสารเหล่านี้เป็นเอกสารชั้นต้นที่ถูกใช้อ้างอิงในการเขียนงานวิจัย หนังสือ ตำราต่างๆที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทยในช่วงเวลาดังกล่าว
เรื่องสุดท้ายในหนังสือ คือ เรื่องที่ ๑๒ ว่าด้วยการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งอาจารย์ชัยอนันต์และอาจารย์ขัตติยาได้ค้นคว้าและนำเอกสารสำคัญมาตีพิมพ์ไว้ นั่นคือ เอกสารพระราชบันทึกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนการสละราชสมบัติและคำสนองพระราชบันทึกของคณะรัฐบาล
ในตอนก่อนๆ ผู้เขียนได้นำบางส่วนของพระราชบันทึกในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสนองพระราชบันทึกจากฝ่ายรัฐบาล (บทโต้ตอบระหว่างรัชกาลที่เจ็ดกับรัฐบาลภายใต้พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี ในตอนนี้ จะได้นำส่วนต่อไปมานำเสนอแด่ท่านผู้อ่าน
พระราชบันทึกข้อ ๖
“ข้าราชการที่ถูกปลดออกจากราชการ โดยฐานถูกสงสัยว่าจะมีความผิดทางการเมืองก็ดี หรือถูกหาว่า ‘กล่าวร้ายรัฐบาล’ ถูกลงโทษและพ้นโทษไปแล้วก็ดี แต่ถูกตัดสิทธิในการที่จะรับเบี้ยบำเหน็จบำนาญ ขอให้เขาได้กลับได้รับบำเหน็จบำนาญตามที่เขามีเกณฑ์จะได้ในวันที่ถูกปลดนั้น พวกข้าราชการที่ถูกปลดโดยเหตุข้างต้นนี้ อาจมีใจแค้นเคืองรัฐบาลมาก และถ้าต้องอดอยากเพิ่มขึ้นอีกด้วย ก็อาจมีความคิดในทางไม่ดีได้มาก ควรตัดทางไม่สงบโดยเหตุนี้เสีย โดยให้เขามีอะไรกินบ้าง
ครอบครัวของข้าราชการที่ต้องถูกลงโทษทางการเมือง เห็นจะมีหลายร้อยหลายพันในระหว่าง ๒ ปีที่แล้วมานี้ ควรจะมีใจกรุณาบ้าง เพราะคนเราก็มีท้องด้วยกันทั้งนั้น”
---------
สนองพระราชบันทึก
“๖. ในเรื่องเบี้ยบำนาญข้าราชการที่ถูกปลดจากราชการ โดยฐานถูกสงสัยว่าจะมีความผิดทางการเมืองนั้น เมื่อมีสิทธิตามเกณฑ์ในพระราชบัญญัติเบี้ยบำนาญแล้ว ก็ให้เบี้ยบำนาญทุกคน ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงเกณฑ์เรื่องอายุและเวลารับราชการ ฯลฯ ส่วนผู้ที่เป็นข้าราชการทหารนั้น มีการได้เบี้ยหวัด เมื่อยังไม่เข้าเกณฑ์ได้เบี้ยบำนาญ ก็ได้ให้เบี้ยหวัดไปหมดทุกคน”
---------------
พระราชกระแสที่ทรงไขความแก้คำสนองของรัฐบาลในข้อ ๖
“ถ้าหากได้จัดการไปดังนี้แล้ว ก็ไม่มีอะไรจะกล่าวอีกต่อไป แต่เท่าที่ข้าพเจ้าเข้าใจ ข้าพเจ้าได้ยินข่าวมาว่า มีข้าราชการบางคนได้ถูกไล่ออก หรือถูกปลดจากตำแหน่งหน้าที่ในฐานถูกสงสัย โดยมิได้มีการไต่สวนประการใดเลย ถ้าหากยังมีเรื่องดังที่ได้กล่าวข้างบนนี้อยู่ รัฐบาลจงแจ้งความตั้งใจอันที่จะให้บำนาญหรือบำเหน็จ และอนุญาตให้เขายื่นขอบำเหน็จบำนาญนี้ทางกระทรวงทบวงการต่างๆ”
----------------
สนองพระราชกระแสที่ทรงไขความข้อ ๖
“การที่รัฐบาลจะแจ้งความตั้งใจในอันที่จะให้บำนาญ หรือบำเหน็จตามสิทธิที่เขามีได้ตามกฎหมายนั้น รัฐบาลรับทำได้”
--------------------
พระราชบันทึกข้อ ๗
“ข้าราชการที่ถูกสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับ ‘การกบฏ’ ครั้งใดๆก็ตาม และที่กำลังจะฟ้อง หรือดำริจะฟ้องร้องต่อไป ขอให้งดการฟ้องร้องจับกุมเสียในคราวที่จะให้อภัยโทษแก่ผู้มีโทษผิดทางการเมืองในคราวนี้ เพื่อล้างกันเสียที ทั้งนี้เพื่อทำให้ข้าราชการหมดความร้อนใจร้อนตัว เรื่องราวที่เจ้าหน้าที่รวบรวมเพื่อจะฟ้องร้อง ควรทำลายกันเสียในครั้งนี้ ตั้งต้นกันใหม่ให้ขาว”
-------------
สนองพระราชบันทึก
“๗. ข้าราชการที่ยังถูกสงสัยเกี่ยวข้องกับการกบฏนั้น เวลานี้ได้สั่งให้งดการฟ้องร้องนานแล้ว ส่วนผู้ที่อยู่ระหว่างคดี ก็ต้องว่ากล่าวไปให้คดีถึงที่สุดเสียก่อน และในไม่ช้า ศาลพิเศษก็คงจะตัดสินให้เสร็จสิ้นไป ส่วนการที่จะให้ทำลายเรื่องราวที่เจ้าหน้าที่รวบรวมเพื่อจะฟ้องร้องนั้น เห็นว่าจะทำลายเสียมิได้ เพราะเรื่องราวเหล่านั้นย่อมจะเกี่ยวข้องกับคดีอื่นๆ”
------------
พระราชกระแสที่ทรงไขความแก้คำสนองของรัฐบาลในข้อ ๗
“ขอให้ดูโทรเลขลงวันที่ ๗ ของข้าพเจ้า ถ้าหากจะมีการยกโทษให้กันโดยทั่วๆไปแล้วก็ดูเป็นการเสียเวลาเปล่าๆ ในอันที่จะดำเนินคดี ซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาต่อไป ข้าพเจ้าไม่บังคับในข้อนี้ ถ้าจะไม่มีการฟ้องร้องกล่าวโทษกันอีกต่อไป”
----------------
สนองพระราชกระแสที่ทรงไขความข้อ ๗
“เรื่องที่จะให้งดการฟ้องร้องว่ากล่าวคดีที่ยังอยู่ในระหว่างพิจารณานั้น ก็ต้องว่ากล่าวกันต่อไปให้เสร็จสำนวนเสียก่อน จึงจะพิจารณาว่าจะกรุณาแก่จำเลยอย่างใด รวมกันไปกับคดีที่ได้ตัดสินแล้ว”
-------------
พระราชบันทึกข้อ ๘
“ขอให้รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร ให้คำมั่นเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ข้าพเจ้าว่าจะไม่ตัดกำลังและตัดงบประมาณของทหารรักษาวังให้น้อยกว่าเท่าที่มีอยู่เวลานี้ เว้นแต่ข้าพเจ้าจะขอร้องเอง และจะคงให้ทหารรักษาวังอยู่ในฐานะที่เป็นอยู่ ณ บัดนี้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ขอให้รัฐบาลจ่ายอาวุธและลูกกระสุนให้แก่กองร้อย กองพัน ในกรมทหารรักษาวังให้มีเท่ากับกองร้อยกองพันทหารราบอื่นๆ
ในการที่ข้าพเจ้าร้องขอให้มีทหารรักษาวังไว้ตามเดิมนี้ ก็เพราะว่าบ้านเมืองยังอยู่ในเขตเปลี่ยนแปลง ยังไม่มีอะไรแน่นอน ความคิดความเห็นของคนและคณะต่างๆยังพลุกพล่านเต็มที จึงอยากให้มีกรมทหารที่พอจะควบคุมมิให้ยุ่งเหยิงในการเมืองได้ เอาไว้รักษาพระราชวังและรักษาพระองค์โดยใกล้ชิดเท่านั้น เพื่อเป็นการอุ่นใจสำหรับข้าพเจ้าเองและเจ้านายพอสมควร
ถ้าหากเหตุการณ์ในบ้านเมืองสงบเรียบร้อย และการปกครองแบบรัฐธรรมนูญเข้าสู่ฐานะปกติ และประชาชนเคยชิน และเข้าใจในวิธีการปกครองแบบใหม่นี้ดีแล้ว ก็อาจเปลี่ยนแปลงฐานะของกรมทหารนี้ไปได้บ้าง ตามแต่จะเห็นสมควรในเวลานั้น”
---------------
โปรดติดตาม สนองพระราชบันทึก (คำตอบของรัฐบาล) ในตอนต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 51: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกา วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 40): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 39): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 38): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร