ในเค้าโครงเศรษฐกิจ หลวงประดิษฐ์มนูธรรมใช้คำว่า parasite หรือพวกหนักโลก โดยเขากล่าวว่า “ในประเทศไทยนี้มีบุคคลที่เกิดมาหนักโลกอาศัยบุคคลอื่นกินมีจำนวนไม่น้อย กล่าวคือ ตนไม่เป็นผู้ประกอบการเศรษฐกิจ หรือกิจการใดให้เหมาะสมกับแรงงานของคน อาศัยอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และสถานที่ของผู้อื่น หรือบางทีก็ทำงานเล็กๆน้อยๆ เช่น ในกรุงเทพฯ หรือในหัวเมือง เมื่อสังเกตตามบ้านช่องของชนชั้นกลาง หรือตามบ้านของคนมั่งมีแล้วก็จะเห็นว่า ผู้ที่อาศัยกินอยู่เป็นจำนวนมาก…” [1]
parasite ตามความหมายดังที่หลวงประดิษฐ์ฯกล่าวไป ย่อมรวมไปถึงบรรดาพระมหากษัตริย์และพวกเจ้าทั้งหลายก็อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในตอนหนึ่งของพระบรมราชวินิจฉัยตอบประเด็นแรงงานสูญเปล่าและพวกหนักโลกของหลวงประดิษฐ์ฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวว่า
“คนหนักโลกดังผู้เขียน (หลวงประดิษฐ์ฯ) กล่าวนี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าจะหมดไปได้ นอกจากนั้น ใครจะยอมว่าใครหนักโลก ตัวก็พูดว่าคนอื่นหนักโลก เรามักเห็นตัวเราไม่ถนัด เขาหนักเสมอ ต่างคนต่างก็นึกเช่นนั้นเสมอเป็นธรรมดา เราเห็นว่าเราทำความดีให้ชาติ คนอื่นเขาก็คงมีเหตุผลอย่างเดียวกันที่จะนึก ดังนั้น คนเราย่อมมีใจคิดด้วยกัน ใครจะมาเป็นผู้ตัดสินว่า ใครผิดใครถูกโดยไม่มีข้อพิสูจน์อย่างใดชัดย่อมไม่ได้ เช่น พวกปรปักษ์ของรัฐบาลบางจำพวกที่กล่าวมาข้างต้น เขาอาจเห็นว่าตัวเขาไม่หนักโลก แต่เห็นคนอื่นหนักก็ได้ (เน้นโดยผู้เขียน)” [2]
ประเด็นที่ผู้เขียนจะนำมาตีความก็คือ ข้อความที่ว่า “คนหนักโลกดังผู้เขียน (หลวงประดิษฐ์ฯ) กล่าวนี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าจะหมดไปได้”
ผู้เขียนเห็นว่า แม้ว่าคนในสังคมจะมีความพยายามที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจให้ลดความเอาเปรียบกดขี่ขูดรีด โดยการตัดเจ้าที่ดินที่หากินกับค่าเช่า นายทุน นักปล่อยกู้ พ่อค้าคนกลาง ตัวแทนจำหน่ายสินค้า (เซลล์แมน) นักเร่ขายของต้มตุ๋น นักลวงมืออาชีพ ฯลฯ แต่อย่างไรเสีย ทุกสังคมก็ยังต้องมีการปกครอง แม้แต่ในสังคมนิยม ก็ย่อมต้องมีรัฐบาลและรัฐสภา บุคคลในรัฐบาลและรัฐสภาจะไม่ได้เป็นคนที่มีหน้าที่โดยตรงในการใช้แรงงานในภาคการผลิต การค้าหรืออุตสาหกรรมใดๆ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ใช้แรงงานสมองในการกำหนดนโยบายสาธารณะหรือประชุมหารือในการตรากฎหมายต่างๆ และฝ่ายบริหารก็มีหน้าที่ที่จะต้องนำนโยบายไปบังคับใช้
คนเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการเศรษฐกิจ ดังนั้น คนเหล่านี้ย่อมต้องเป็นคนหนักโลกอยู่ดี และในทุกระบอบการปกครองในโลกจนถึงทุกวันนี้ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีคนหนักโลกในภาคการเมืองอยู่เสมอ
ในระบอบราชาธิปไตย พระมหากษัตริย์และเจ้านายจำนวนมากก็เข้าข่ายเป็นพวกหนักโลกตามที่หลวงประดิษฐ์ฯว่าไว้ แต่พระมหากษัตริย์และเจ้านายจำนวนหนึ่งทำหน้าที่การงานไม่ต่างจากนักการเมืองและข้าราชการประจำ/เจ้าหน้าที่รัฐในระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญหรือในระบอบที่ไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 พระมหากษัตริย์จะลดพระราชภารกิจลงไปมาก แต่ก็ไม่ใช่ไม่มีเสียเลย เพราะยังต้องทำหน้าที่ประมุขของรัฐอยู่ ไม่ต่างจากตำแหน่งประธานาธิบดีของบางระบอบการปกครอง และก็มีนักการเมืองมาทำหน้าที่ที่พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์เคยทำในสมัยราชาธิปไตย นักการเมืองจึงไม่ต่างจากพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ เพราะเป็นคนที่ไม่ได้ประกอบการเศรษฐกิจ อาศัยกินอยู่จากการลงแรงงานของคนอื่น อันได้แก่ การมีชีวิตอยู่บนเงินภาษีของประชาชน
ต่อให้มีนโยบายเศรษฐกิจที่แตกต่างกันแค่ไหน หรืออ้างว่ายุติธรรมมากแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นเค้าโครงเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมของหลวงประดิษฐ์ฯหรือเสรีทุนนิยมของหลายประเทศในโลกตะวันตก ก็จำเป็นต้องมีผู้บริหารงานภาครัฐที่ไม่ได้มาลงแรงทำนาทำไร่ หรือเป็นกรรมกรในโรงงาน คนเหล่านี้ได้รับการยกเว้น และดำรงชีวิตอยู่ได้จากเงินเดือนที่มาจากภาษีประชาชนอยู่เสมอ จึงยากที่จะให้พวกหนักโลกหมดไปจากโลกนี้ดังที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงกล่าวไว้
แม้แต่สตาลินผู้นำของโซเวียตรัสเซียเอง ในปี พ.ศ. 2476 ก็มีบ้านพักอาศัยอย่างดีที่มีชื่อว่า Kuntsevo Dacha
ประตูทางเข้า Kuntsevo Dacha
แม้ว่าเขาจะไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย แต่เขาและสมาชิกอาวุโสในรัฐบาลจะมีที่พักตากอากาศหลายแห่ง ที่พวกเขาสามารถเปลี่ยนบรรยากาศได้ตามฤดูกาล และที่แน่ๆก็คือ ในฐานะผู้บริหารประเทศ พวกเขาไม่จำเป็นต้องลงแรงงานในภาคการผลิตใดๆ เพราะพวกเขาเป็นพวกที่ใช้มันสมองบริหารประเทศให้บรรลุเป้าหมายตามอุดมการณ์ทางการเมืองของพวกเขา เพื่อให้เกิดความยุติธรรมต่อผู้คนตามความเชื่อของพวกเขา และที่ปฏิเสธไม่ได้คือ เขาสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมได้สำเร็จที่มีผลผลิตเหนือประเทศอื่นๆยกเว้นก็แต่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น [3] แต่ก็ต้องแลกกับเสรีภาพและชีวิตของผู้คนไปเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น จึงเป็นการยากมากหรือเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่ให้มีพวกหนักโลก ตราบเท่าที่ยังมีรัฐบาลสภาและระบบบริหารงานภาครัฐอยู่
ด้วยเหตุนี้นี่เองที่ มาร์กซและเอ็งเงิลส์ เจ้าลัทธิคอมมิวนิสต์ จึงยืนยันว่า หลังจากที่ชนชั้นกรรมกรรวมตัวกันโค่นล้มระบบทุนนิยมและนายทุนซึ่งเป็นพวกหนักโลกแล้ว ชนชั้นกรรมกรก็จะสถาปนารัฐเผด็จการสังคมนิยมของกรรมกรขึ้น เพื่อบริหารจัดการทรัพย์สินและทุนที่ยึดมาเป็นของรัฐกรรมกร ซึ่งก็จะมีแกนนำกรรมกรจำนวนหนึ่งไม่ต้องเป็นกรรมกรอีกต่อไป และจะผันตัวไปเป็นรัฐบาล สมาชิกสภาและเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินที่ยึดมานั้นให้เกิดความเป็นธรรม ซึ่งคนในตำแหน่งเหล่านี้ก็ยังเป็นพวกหนักโลกอยู่ดี
แต่เท่าที่เห็นในประวัติศาสตร์ มักจะไม่ใช่กรรมกรที่ผันตัวไปเป็นรัฐบาล แต่จะเป็นปัญญาชนนักคิดที่ทำตัวเป็นนักปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมและโลก โดยอ้างว่าทำเพื่อกรรมกร และเมื่อปฏิวัติสำเร็จแล้ว ก็ผันตัวไปเป็นรัฐบาลหรือผู้ปกครองเสียเอง ซึ่งก็เป็นพวกหนักโลกอยู่ดี หลังจากที่ได้ชวนประชาชนให้ออกมาต่อสู้โค่นล้มพวกหนักโลกรุ่นก่อนไปแล้ว
มาร์กซและเอ็งเงิลส์ยังชวนให้เชื่อต่ไปว่า รัฐเผด็จการสังคมนิยมของกรรมกรจะพัฒนาก้าวหน้าต่อไปจนถึงขั้นตอนที่ไม่มีรัฐ เพราะรัฐจะหมดความหมายไปเอง หรือที่ทั้งสองใช้คำว่า รัฐจะเหือดหายไปเอง โดยไม่ต้องมีใครมาปฏิวัติโค่นล้มอีก และจะเข้าสู่สังคมคอมมิวนิสต์ ที่ไม่จำเป็นต้องมีรัฐบาลหรือผู้ปกครองอีกต่อไป เมื่อไม่มีรัฐบาล ก็จะไม่มีพวกหนักโลกอีกต่อไป
แต่ก่อนจะถึงขั้นนั้น ต้องยอมให้มีพวกหนักโลกอยู่ อันได้แก่นักคิดปัญญาชนนักปฏิวัติที่กลายเป็นรัฐบาล เหตุผลที่ยอมให้มีพวกหนักโลกนี้ดำรงอยู่ต่อไป เพราะพวกหนักโลกรุ่นใหม่นี้มีความชอบธรรมกว่าพวกหนักโลกรุ่นก่อนๆ
ด้วยเหตุนี้ นักคิดปัญญาชนนักปฏิวัติในปัจจุบันจึงรื้อฟื้นวาทกรรม parasite หรือพวกหนักโลกของหลวงประดิษฐ์ฯขึ้นมาปลุกระดมในโซเชียลมีเดีย [4] ให้คนรุ่นใหม่เข้าโจมตีกลุ่มเป้าหมายสำคัญของพวกเขา นั่นคือ สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งจริงๆแล้ว พวกเขาควรจะต้องโจมตีระบบทุนนิยมและนายทุนต่างๆไปพร้อมๆกันถึงจะมีความสอดคล้องในทางตรรกะเหตุผล
นักคิดปัญญาชนนักปฏิวัติเหล่านี้จะเห็น “คนอื่น” เท่านั้นที่หนักโลก แต่ลืมดูตัวเอง เพราะคิดว่าตัวเองเท่านั้นที่ทำดีเพื่อชาติประชาชน
เมื่อถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจแล้วกระมังว่า ทำไมพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯจึงทรงกล่าวต่อไปว่า “ใครจะยอมว่าใครหนักโลก ตัวก็พูดว่าคนอื่นหนักโลก เรามักเห็นตัวเราไม่ถนัด เขาหนักเสมอ ต่างคนต่างก็นึกเช่นนั้นเสมอเป็นธรรมดา เราเห็นว่าเราทำความดีให้ชาติ คนอื่นเขาก็คงมีเหตุผลอย่างเดียวกันที่จะนึก ดังนั้น คนเราย่อมมีใจคิดด้วยกัน ใครจะมาเป็นผู้ตัดสินว่า ใครผิดใครถูกโดยไม่มีข้อพิสูจน์อย่างใดชัดย่อมไม่ได้ เช่น พวกปรปักษ์ของรัฐบาลบางจำพวกที่กล่าวมาข้างต้น เขาอาจเห็นว่าตัวเขาไม่หนักโลก แต่เห็นคนอื่นหนักก็ได้”
________________________________________
[1] ชัยอนันต์ สมุทวนิชและขัตติยา กรรณสูตร, เอกสารการเมือง-การปกครองไทย พ.ศ. 2517-2477, โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2518), หน้า 247-248.
[2] ชัยอนันต์ สมุทวนิชและขัตติยา กรรณสูตร, เอกสารการเมือง-การปกครองไทย พ.ศ. 2517-2477, โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2518), หน้า 292.
[3] https://www.britannica.com/biography/Joseph-Stalin/Legacy
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 39): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 38): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 36): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490