ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตอนที่ ๑๙)

 

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตต่อข้อความบางตอนในปาฐกถกาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงแสดงที่สามัคยาจารย์สมาคม เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2470 และได้ทรงกล่าวถึง หลักการการปกครอบแบบพ่อปกครองลูกโดยอ้างถึงศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแห่ง และทรงเทียบเคียงกับภาษาอังกฤษว่า Paternal Government 

เท่าที่ผู้เขียนอ่านข้อความทั้งหมดในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ไม่พบข้อความใดตรงๆที่กล่าวถึงหลักการการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ผู้เขียนจึงสันนิษฐานว่า กรมพระยาดำรงฯน่าจะทรงตีความมากกว่า และผู้เขียนได้ตั้งสมมุติฐานอีกว่า การที่กรมพระยาดำรงฯทรงเทียบเคียงการปกครองแบบพ่อปกครองลูกในสมัยสุโขทัยกับคำว่า Paternal Government เพราะพระองค์น่าจะทรงอ่านเอกสารภาษาอังกฤษที่มีการกล่าวถึง Paternal Government  ซึ่งแปลความได้ว่า การปกครองในแบบพ่อปกครองลูก

และเท่าที่ผู้เขียนสำรวจเอกสารที่เป็นข้อเขียนทางความคิดทางการเมืองตะวันตก จะพบการใช้คำว่า Paternal Government ในงานของเซอร์โรเบิร์ต ฟิลเมอร์ (Sir Robert Filmer) ในหนังสือชื่อ  Patriarcha or the Natural Power of Kings (ปิตาธิปไตย หรือ พระราชอำนาจตามธรรมชาติของกษัตริย์) ซึ่งเขียนขึ้นในศตวรรษที่สิบเจ็ด ผู้เขียนจึงสันนิษฐานว่า การอธิบายหลักการการปกครองแบบพ่อปกครองลูกในสมัยพ่อขุนรามคำแหงของกรมพระยาดำรงฯน่าจะมาจากการตีความศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงโดยมีแนวคิดเรื่องปิตาธิปไตยของเซอร์โรเบิร์ต ฟิลเมอร์เป็นแนวทางในการอธิบายลักษณะการปกครองของไทยโบราณ

ข้อสันนิษฐานนี้จะได้รับการยืนยัน หากเราพบหลักฐานว่า กรมพระยาดำรงฯน่าจะทรงเคยอ่านข้อเขียนของเซอร์โรเบิร์ต ฟิลเมอร์โดยตรง หรืออ่านงานที่เขียนถึงข้อเขียนของเซอร์โรเบิร์ต ฟิลเมอร์

ผู้เขียนเริ่มถามไถ่ถึงข้อมูลในหอสมุดวชิรญาณที่ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2448   โดยมีกรมพระยาดำรงฯทรงเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารจัดการหอสมุด และเท่าที่ผู้เขียนได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลบางส่วนจาก ผศ. ดร. กานต์ บุญยะกาญจน ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่เคยเข้าไปค้นคว้ารายการหนังสือในหอสมุดวชิรญาณสมัยที่เขาทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังไม่พบรายการหนังสือเรื่อง Patriarcha or the Natural Power of Kings ของ Sir Robert Filmer เพราะยังไม่ได้ค้นรายการหนังสือได้ครบถ้วน

แต่พบหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “The Hist. of Political Literature from the earliest Times. Vol. I-II. London, 1855, 8 vo.” ของผู้เขียนชื่อ  “Blakey, R:-“ ซึ่งภายในหมวด “XII. Polite Literature I.- LITERARY HISTORY, CRITICISM ect.”  

ในหน้า 166  Blakey ได้กล่าวถึงหนังสือเรื่อง “The Treatise of Government” ของจอห์น ล็อค ที่แบ่งออกเป็นสองภาค ภาคแรก จอห์น ล็อกได้เขียนปฏิเสธหลักการการปกครองแบบพ่อปกครองลูกของเซอร์โรเบิร์ต ฟิลเมอร์ โดยล็อกปฏิเสธเรื่องสิทธิตามธรรมชาติ (natural right) ที่มาจากอำนาจของผู้เป็นบิดา (paternal authority)  และถ้ากรมพระยาดำรงฯได้ทรงอ่านในส่วนนี้  ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับหลักการการปกครองแบบพ่อปกครองลูกของเซอร์โรเบิร์ต ฟิลเมอร์ไม่มากนักและไม่มากพอที่ กรมพระยาดำรงฯจะทรงตีความเชื่อมโยงกับข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงถึงลักษณะการปกครองในสมัยนั้นว่าเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกตามหลักการการปกครองของเซอร์โรเบิร์ต ฟิลเมอร์   ดังนั้น ผู้เขียนจึงยังไม่สามารถสรุปลงไปได้ว่า การที่กรมพระยาดำรงฯทรงอธิบายลักษณะการปกครองของไทยโบราณในสมัยพ่อขุนรามคำแหงว่ามีลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูกโดยได้แนวทางจากหลักการของเซอร์โรเบิร์ต ฟิลเมอร์ แต่ก็แปลกที่ไม่ปรากฎหลักฐานอื่นที่กล่าวถึงการปกครองแบบพ่อปกครองลูกในสมัยพ่อขุนรามคำแหงเลย ผู้เขียนคงจะต้องเข้าไปค้นรายการหนังสือตะวันตกในหอสมุดวชิรญาณให้ละเอียดกว่าที่ได้มา

ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงบทสัมภาษณ์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานสัมภาษณ์นายแฮโรลด์ เอน. เดนนี (Harold N. Denny) และเขาได้นำไปเขียนบทความเรื่อง “พระมหากษัตริย์ได้ทรงวางโครงการที่จะให้มีการออกเสียงลงคะแนนเพื่อทดลองประชาธิปไตย”  (https://www.nytimes.com/1931/04/28/archives/suffrage-for-siam-is-planned-by-king-to-test-democracy-fatherly.html) ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ฉบับวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2474 

นายแฮโรลด์ เอน. เดนนีได้กราบบังคมทูลถามว่า หลักการในการปกครองของพระองค์เป็นอย่างไร ? นอกจากพระองค์จะทรงมีพระราชดำรัสตอบว่า การปกครองของไทยแต่โบราณเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกแล้ว พระองค์ยังทรงขยายความว่า “พระมหากษัตริย์ไทยมีหน้าที่ช่วยเหลือประชาชน ปกครองพวกเขาในแบบที่ทำให้พวกเขามีความสุข พระมหากษัตริย์ทรงประดุจบิดาในครอบครัวที่บิดาเป็นใหญ่ ประชาชนจะต้องเชื่อฟังพระมหากษัตริย์  อย่างที่บิดาแนะนำสิ่งที่ถูกต้องแก่บุตร และคาดหวังว่าบุตรจะเชื่อฟังตน  ความเชื่อฟังที่พระมหากษัตริย์ทรงได้รับเป็นความเชื่อฟังจากความรัก ไม่ใช่จากความกลัว มันไม่ค่อยจะมีระเบียบวินัย และข้าพเจ้าขอยืนยันกับท่านว่า มันเป็นเช่นนี้ในสยาม แม้กระทั่งในยุคสมัยใหม่ก็ตาม”

การที่พระองค์กล่าวว่า ผู้คนไม่ค่อยจะมีระเบียบวินัย ก็เพราะพระมหากษัตริย์ไทยไม่ได้ปกครองประชาชนด้วยความกลัว ดังนั้น เมื่อไม่ได้ใช้ความกลัวเป็นหลักสำคัญในการปกครอง ผู้คนจึงไม่มีระเบียบวินัยมาแต่โบร่ำโบราณ และพระองค์ก็ทรงยืนยันว่า แม้ในปี พ.ศ. 2474  คนไทยก็ไม่ค่อยจะมีระเบียบวินัย

ผู้เขียนเห็นว่า สิ่งที่พระองค์กล่าวนั้น ดูจะเป็นความจริงจนถึงปัจจุบัน ไม่เพียงพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตไม่ได้ปกครองโดยใช้ความกลัวเป็นที่ตั้ง  รัฐบาลไทยโดยส่วนใหญ่ก็ดูจะไม่ได้ปกครองให้ประชาชนกลัวอย่างจริงจัง  ผู้คนก็ดำเนินชีวิตไปอย่างไร้ระเบียบวินัย ตำรวจก็ดูจะไม่ได้จริงจังในการเข้มงวดกวดขันบังคับใช้กฎหมาย  ออกแนวอะลุ้มอล่วยอยู่เสียมาก

นายแฮโรลด์ เอน. เดนนีได้กราบบังคมทูลถามต่อว่า อะไรคือเป้าหมายสูงสุดในการปกครองของพระองค์

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงมีพระราชดำรัสตอบว่า เป้าหมายสูงสุดในการปกครองคือส่งเสริมความสุขของประชาชนส่วนใหญ่ เราไม่สามารถทำให้ประชาชนทุกคนมีความสุข ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่เราสามารถมุ่งสู่ความสุขของผู้คนจำนวนมากที่สุด

ผู้เขียนมีข้อสังเกตต่อพระราชดำรัสที่ว่า “ส่งเสริมความสุขของประชาชนส่วนใหญ่…..มุ่งสู่ความสุขของผู้คนจำนวนมากที่สุด”  โดยในพระราชดำรัสต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อพระองค์ทรงใช้คำว่า “the happiness of the greatest number of the people”  ซึ่งผู้ที่รู้จักหลักการของปรัชญาอรรถประโยชน์นิยมของเจอเรมี เบนเธม (Jeremy Bentham) นักปรัชญาชาวอังกฤษผู้เป็นนักปฏิรูปทางการเมืองด้วยย่อมจะนึกถึงวลีสำคัญของปรัชญาอรรถประโยชน์นิยมของเขาได้ทันที นั่นคือ “greatest happiness of the greatest number” และแน่นอนว่า นักหนังสือพิมพ์อย่างนายแฮโรลด์ เอน. เดนนีควรจะรู้จักวลีที่ว่านี้ด้วย

นายแฮโรลด์ เอน. เดนนีได้กราบบังคมทูลถามต่ออีกว่า ข้อสงสัยที่น่ากังวลก็คือ ภายใต้การปกครองแบบราชาธิปไตยที่มีผู้ปกครองเพียงคนเดียว  ประชาชนอาจจะไม่สามารถมีเสรีภาพได้เท่าการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีผู้ปกครองจำนวนมาก  และนายแฮโรลด์ เอน. เดนนีได้เขียนไว้ว่า ในฐานะที่พระองค์เป็นอาคันตุกะของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย พระองค์อาจจะรู้สึกไม่สมควรที่จะกล่าวในประเด็นนี้

แต่หลังจากที่พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสตอบในประเด็นนี้  นายแฮโรลด์ เอน. เดนนีได้เขียนไว้ว่า พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสตอบอย่างชาญฉลาด   

พระราชดำรัสตอบที่ว่านั้นคือ  “รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดคือ รูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับผู้คนที่จะอยู่ภายใต้การปกครองนั้น (The best form of government is the one which suits the people who live under it.)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 51: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกา วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 40): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 39): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 38): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร