เวลาเอ่ยถึงเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาฯ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ แต่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย จะมีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองที่เกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคมเช่นกัน อีก นั่นคือ เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ หรือที่รู้จักกันในนาม “กบฎบวรเดช”
ข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖
หนึ่ง “กบฏบวรเดช” เป็นชื่อที่ฝ่ายรัฐบาลที่ชนะเรียก แต่คณะผู้ก่อการเรียกตัวเองว่า “คณะกู้บ้านกู้เมือง”1
สอง คณะกู้บ้านกู้เมือง เกิดขึ้นจากการที่นายทหารชั้นผู้น้อยได้คบคิดกันขึ้นก่อนแล้วจึงไปชวนนายทหารชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วม ต่อมาได้ทูลเชิญ พลเอก พระองค์เจ้าบวรเดชเข้าร่วมทำการและยกให้เป็นหัวหน้าคณะกู้บ้านกู้เมือง2 เมื่อตัวแทนคณะนายทหารมาทูลเชิญ พระองค์เจ้าบวรเดชทรงตรัสว่า “ฉันยอมเธอ เพราะต้องกู้ชาติบ้านเมืองเอาไว้”3
สาม ตัวอย่างทัศนะของประชาชนที่มีต่อการเมืองหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ จนถึงหลังเหตุการณ์กบฏบวรเดช คือ
“....เมื่อมิถุนายน ๒๔๗๕ ผมเป็นนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ ๘ อยู่โรงเรียนอัสสัมชัญ ไม่เคยเรียนเรื่องการเมือง การปกครอง ไม่เคยคิดสิทธิเสรีภาพของราษฎร โลกของคนหนุ่มอย่างผมในสมัยนั้นเป็นโลกที่ตัดปัญหาการเมืองไปเสีย มีแต่ปัญหาให้ศึกษาเร็วๆ เสร็จสิ้นไปด้วยดี จะได้ออกไปประกอบอาชีพช่วย
________________________________________
1 หนังสือคำขาดฉบับแรกที่พันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม หนึ่งในคณะผู้ก่อการได้เสนอไปยังฝ่ายรัฐบาล โดยในหนังสือนั้น ได้ใช้คำว่าคณะกู้บ้านกู้เมืองเรียกคณะผู้ก่อการ จาก กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ ๓๙/๑๖๓, เรื่องคำขอหรือคำขาดและคำแถลงการณ์หรือใบปลิวของพวกกบฏ อ้างใน นิคม จารุมณี, กบฏบวรเดช พ.ศ. ๒๔๗๖ วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, พ.ศ. ๒๕๑๙, หน้า ๑๗๗-๑๗๘.
2 “ร้อยเอกหลวงโหมรอนราญ (ตุ๊ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา) ได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือชื่อ ‘เมื่อข้าพเจ้าก่อการกบฎ’ และจากจดหมายของร้อยเอกขุนเริงรณชัย (ต่วน โกมารฑัต) ต่างก็เล่าว่า การกบฏในครั้งนั้น นายทหารชั้นผู้น้อยได้คิบคิดกันขึ้นก่อนฯ” นิคม จารุมณี, กบฏบวรเดช พ.ศ. ๒๔๗๖ วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, พ.ศ. ๒๕๑๙, หน้า ๑๕๖, ๑๕๔, ๑๕๗.
3 นิคม จารุมณี, กบฏบวรเดช พ.ศ. ๒๔๗๖ วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, พ.ศ. ๒๕๑๙, หน้า ๑๕๗.
_________________________________________
ครอบครัวทางเศรษฐกิจ.....เมื่อเรียนสำเร็จออกไปเป็นครูสอนแล้ว ก็ยังมีความรู้สึกว่าตนเองในฐานะประชาชนคนธรรมดานั้นก็มิได้มีบทบาทอะไรต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น....งานสอนที่โรงเรียนอัสสัมชัญเป็นภาระหนักพอดูสำหรับครูใหม่รุ่นหนุ่มวัย ๑๘-๒๐ ปี ฉะนั้นในเรื่องการบ้าน การเมืองของไทย ผมสังกัดไทยมุง คือคอยติดตามอ่านและฟังข่าวอยู่บ้างโดยมิได้คำนึงว่าตนเองมีบทบาทอย่างไรในเรื่องของบ้านเมือง....” และ “การเลือกตั้ง การจัดคณะรัฐมนตรี การอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ความแตกแยกกันในคณะรัฐบาล เจ้าคุณมโนปกรณ์นิติธาดา สมุดปกเหลืองของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม รัฐประหารครั้งที่สอง กบฏบวรเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๗ และราชสมบัติ คณะราษฎรฝ่ายทหารพลเรือนแตกแยกกัน เจ้าคุณพหลพลพยุหเสนาลาออก แล้วกลับเข้ามาใหม่ เข้าแล้วออกอีก หลวงพิบูลสงครามถูกลอบยิง การประหารชีวิตศัตรูทางการเมือง การปิดปากมิให้ติเตียนรัฐบาล ฯลฯ เหล่านี้ผมเป็นคนหนึ่งที่มุงดูเขา ส่วนใหญ่มุงดูเพื่อความสนุกเหมือนมุงดูลิเก”4
สาม ในวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ คณะกู้บ้านกู้เมืองได้ยื่นข้อเรียกร้อง ๖ ข้อต่อรัฐบาลที่มี พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
๑. ต้องจัดการทุกอย่างที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปวสาน
๒. ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญโดยแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งคือ การตั้งและถอดถอนคณะรัฐบาล ต้องเป็นไปตามเสียงหมู่มาก ไม่ใช่ทำด้วยการจับอาวุธดังที่แล้วมา โดยเหตุนี้ ต้องยอมให้มีคณะการเมืองที่ชอบด้วยกฎหมาย (คณะการเมือง หมายถึง พรรคการเมือง/ผู้เขียน)
๓. ข้าราชการซึ่งอยู่ในตำแหน่งประจำการทั้งทหารและพลเรือนต้องอยู่นอกการเมือง เว้นแต่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่ในการเมืองโดยตรง แต่ความข้างต้นนั้นไม่ได้ตัดสิทธิในการที่ข้าราชการประจำการจะนิยมยึดถือลัทธิการเมืองใดๆที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ห้ามมิให้ใช้อำนาจหรือโอกาสในตำแหน่งหน้าที่เพื่อสนับสนุนเผยแผ่ลัทธิที่ตนนิยม หรือเพื่อบังคับขู่เข็ญโดยทางตรงหรือทางอ้อมให้คนอื่นถือตามลัทธิที่ตนนิยมเป็นอันขาด
ตำแหน่งฝ่ายทหาร ตั้งแต่ผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารเรือลงไปต้องไม่มีหน้าที่ในการเมือง
๔. การตั้งแต่งบุคคลในตำแหน่งราชการจักต้องถือคุณวุฒิความสามารถเป็นหลัก ไม่ถือเอาความเกี่ยวข้องในทางการเมืองเป็นความชอบ หรือเป็นข้อรังเกียจในการบรรจุหรือเลื่อนตำแหน่ง
_________________________________________
4 ป๋วย อึ๊งภากรณ์, “แตกเนื้อหนุ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕,” วารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์, ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๖ (มิถุนายน, ๒๕๑๕), หน้า ๑๓ อ้างใน นิคม จารุมณี, กบฏบวรเดช พ.ศ. ๒๔๗๖ วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, พ.ศ. ๒๕๑๙, หน้า ๑๑๑-๑๑๒.
_________________________________________
๕. การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ ต้องถวายให้พระมหากษัตริย์ทรงเลือก
๖. การปกครองกองทัพบก จักต้องให้มีหน่วยผสมตามหลักยุทธวิธีเฉลี่ยอาวุธสำคัญแยกกันไปประจำตามท้องถิ่น มิให้มีกำลังเป็นส่วนใหญ่เฉพาะในแห่งใดแห่งหนึ่ง
คณะกู้บ้านกู้เมืองได้ลงท้ายไว้ว่า
“เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่ารัฐบาลมีความปรารถนาอย่างเดียวกันที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยและปกครองบ้านเมืองตามแบบประชาธิปไตยโดยแท้ ยอมรับปฏิบัติตามหลักความมุ่งหมาย ๖ประการ ดังกล่าวมาแล้ว กองทหารฝ่ายหัวเมืองก็ยินดีจะเลิกถอนการกระทำครั้งนี้และไม่มุ่งหมายเอาตำแหน่งราชการเป็นเครื่องตอบแทนอย่างใดเลย ยิ่งตัวข้าพเจ้าเอง (พระองค์เจ้าบวรเดช/ผู้เขียน) จะไม่ต้องการลาภยศหรืออำนาจอย่างหนึ่งอย่างใดดังได้เคยบอกให้ท่านทราบมาก่อนแล้ว ถ้ารัฐบาลตกลงตามหลักความมุ่งหมาย ๖ ประการนี้ ขอให้ตอบให้ทราบและรัฐบาลจะต้องประกาศหลักความมุ่งหมาย ๖ ประการนี้ให้ประชาราษฎรทราบทางหนังสือพิมพ์และทางวิทยุ แล้วเจรจากันถึงวิธีที่จะปฏิบัติตามหลักความมุ่งหมาย ๖ ประการนั้นต่อไป กับต้องจัดการประกาศพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมสำหรับผู้ที่ทำการครั้งนี้ด้วย (ลงพระนาม บวรเดช)”5
๗. ในวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ฝ่ายรัฐบาลได้แถลงตอบปฏิเสธ จึงมีการใช้กำลังและอาวุธเข้าประหัตประหารกันขึ้น จึงถือว่าเหตุการณ์ความขัดแย้งรัฐบาลกับคณะกู้บ้านกู้เมือง (กบฏบวรเดช) มีหมุดหมายวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ 6
จากข้อเรียกร้อง ๖ ประการของคณะกู้บ้านกู้เมือง ทำให้เกิดคำถามสำคัญ ๓ ข้อดังนี้
ข้อเรียกร้องข้อที่หนึ่ง: เป็นที่ทราบดีว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยคณะราษฎรนั้นคือการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศเป็นการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ทำไมคณะกู้บ้านกู้เมืองถึงต้องเรียกร้องให้รัฐบาล “ต้องจัดการทุกอย่างที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปวสาน” ด้วย ?
ข้อเรียกร้องข้อที่สอง: เพราะอะไร หรือเกิดอะไรขึ้นก่อนหน้านี้ที่ทำให้คณะกู้บ้านกู้เมืองต้องเรียกร้องให้รัฐบาล “ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญโดยแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งคือ การตั้งและถอดถอนคณะรัฐบาล ต้องเป็นไปตามเสียงหมู่มาก ไม่ใช่ทำด้วยการจับอาวุธดังที่แล้วมา โดยเหตุนี้ ต้องยอมให้มีคณะการเมืองที่ชอบด้วยกฎหมาย” ?
_________________________________________
5 กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ ๓๙/๑๖๓, เรื่องคำขอหรือคำขาดและคำแถลงการณ์หรือใบปลิวของพวกกบฏ อ้างใน นิคม จารุมณี, กบฏบวรเดช พ.ศ. ๒๔๗๖ วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, พ.ศ. ๒๕๑๙, หน้า ๑๗๗-๑๗๘.
6 ชัยอนันต์ สมุทวณิช, 14 ตุลา คณะราษฎร์กับกบฏบวรเดช, กรุงเทพฯ : ชมรมประวัติศาสตร์ : ชุมนุมวิชาการอักษรศาสตร์ จุฬาฯ, 2517.
_________________________________________
ข้อเรียกร้องข้อที่ห้า: ก่อนที่คณะกู้บ้านกู้เมืองเรียกร้องให้ “การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ ต้องถวายให้พระมหากษัตริย์ทรงเลือก” ? ใครหรือคณะบุคคลใดเป็นผู้เลือกตั้งผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ ? แล้วการที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงเลือกตั้งผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ มีปัญหาอย่างไรต่อความเป็นประชาธิปไตยของไทยขณะนั้น ?
เราจะมาหาคำตอบกันในตอนต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 39): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 38): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 36): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490