ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตอนที่ ๑๓)

 

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริที่จะจัดตั้งองค์กรที่เป็นทำหน้าที่คล้ายสภาของอังกฤษ นั่นคือ

หนึ่ง เป็นที่ประชุมหารือเกี่ยวกับการตรากฎหมาย และฝึกทดลองการประชุมโต้เถียงอย่างที่กระทำกันในสภา ดังที่พระองค์ทรงกล่าวไว้ใน Democracy in Siam ว่า “…experimenting and learning in methods of parliamentary debate” 

การทำหน้าที่ในการพิจารณาหารือตรากฎหมายของคณะองคมนตรี ปรากฏในให้เห็นในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ โดยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้เป็นหนึ่งในคณะองคมนตรีที่ได้รับพระราชทานพระราชบันทึก “Democracy in Siam”  “ได้ทรงเสนอ ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๗..  แก่ที่ประชุม โดยทรงกล่าวถึงความสำคัญว่าเป็นการบำรุงอย่างหนึ่ง คือการบำรุงความสุขและอนามัยของประชาชนเป็นใหญ่ พระราชบัญญัติเทศบาลจึงเป็นเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องใหม่อีกด้วย และทรงได้เน้นย้ำความสำคัญของการมอบ ‘สิทธิ์’ แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรริเริ่มด้วยการตัดสินใจของรัฐบาลในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เองที่จะมอง ‘สิทธิ์’ เหล่านั้นให้ประชาชนเองโดยที่ไม่ต้องให้เกิดการร้องขอ” (อ้างจาก จีรวุฒิ บุญรัศมี, สาแหรกของแนวความคิดนโยบายการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลของไทย (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๗๘), สารนิพนธ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ, ปีการศึกษา ๒๕๖๓,   หน้า ๙๙.)

สอง มีอิทธิพลในการควบคุมไม่ให้พระมหากษัตริย์ใช้พระราชอำนาจในทางที่ผิด  ดังที่พระองค์ทรงกล่าวว่า “…restraining influence against misuse of power.”

และองค์กรที่ว่านี้คือ คณะองคมนตรี (the Privy Council)  ซึ่งมีกรรมการในองค์คณะทั้งสิ้น ๔๐ พระองค์/คน (จำนวนนี้ปรากฏในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐)  และกำหนดว่า หากมีกรรมการเข้าชื่อกันจำนวน 15 พระองค์/คน ทำหนังสือถึงประธานคณะองคมนตรีให้กราบบังคมทูลฯพระมหากษัตริย์ถึงเรื่องที่กรรมการทั้ง 15 พระองค์/คนเห็นว่ามีความสำคัญ และขอให้พระองค์ทรงเปิดการประชุมคณะองคมนตรีเพื่อพิจารณาหารือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว     ขณะเดียวกัน ก็กำหนดไว้ว่าให้ขึ้นกับพระราชวินิจฉัยว่าจะมีพระบรมราชานุญาตให้เปิดประชุมหรือไม่ก็ได้  โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงอธิบายความตรงส่วนนี้ว่า  เป็นการให้พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ที่จะคัดค้านการขอเปิดประชุมสภา และให้พระราชอำนาจในการปิดประชุมสภา เหมือนกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย (It is the right of veto recognized by all democracies. The King can also dissolve parliament.)

ซึ่งพระองค์ทรงเห็นว่า การกำหนดเงื่อนไขในลักษณะนี้น่าจะเป็นที่ยอมรับและดีกว่าที่จะให้อำนาจแก่องค์คณะที่ไม่ยังไม่ได้มาจาการเลือกตั้งที่จะมีสิทธิ์เรียกประชุมเมื่อไรก็ได้

ขณะเดียวกัน พระองค์ทรงเชื่อว่า การมีคณะองคมนตรีน่าจะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องปรามไม่ให้ผู้มีอำนาจใช้อำนาจไปตามอำเภอใจและขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศ 

แม้ว่าจะกำหนดให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจที่จะคัดค้านคำขอให้เปิดประชุมคณะองคมนตรีของกรรมการจำนวน 15 พระองค์/คนนั้น แต่พระองค์ทรงเชื่อว่า ใครก็ตามที่อยู่ในอำนาจน่าจะยากที่จะปฏิเสธคำขอดังกล่าว นอกเสียจากว่า จะมีเหตุผลที่ดีจริงๆที่จะคัดค้านการขอเปิดประชุม

กระนั้น พระองค์ก็ยังตระหนักว่า คนที่ไร้ซึ่งความละอายและปราศจากความเป็นธรรมก็ย่อมจะปฏิเสธคำขอได้ แต่สำหรับคนแบบนั้น คงไม่มีองค์กรสถาบันใดจะสามารถทัดทานคนแบบนั้นไม่ให้ทำชั่วได้ ต่อให้มีรัฐสภาแบบอังกฤษก็ตาม ดังจะเห็นได้ในกรณีของพระเจ้าชาร์ลสที่หนึ่งของอังกฤษ ที่ในที่สุดแล้ว วิธีเดียวที่จะหยุดกษัตริย์แบบนั้นได้ก็คือ “ตัดหัว” 

(I believe that it will be able to fulfil its purpose of being a deterrent to those in power from acting arbitrarily or against the interests of the State.  Anybody in power would hesitate to refuse such requests, unless he has very reasons.  Of course, a perfectly unscrupulous man may possible refuse the request. But then with such a man, no institution  could prevent him from doing bad actions, not even a parliament (cf. Charles I), and the only thing to do then is to chop off his head !)

ผู้เขียนจำได้ว่า เคยเห็นภาพของบรรดาพระโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเล่นละครแต่งแฟนซี  และมีพระองค์หนึ่งที่แต่งพระองค์เป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่หนึ่งด้วย ทำให้อาจตีความได้ว่า พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในขณะนั้นต่างตระหนักดีว่า หากพระมหากษัตริย์ใช้พระราชอำนาจตามอำเภอใจและไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ก็อาจจะต้องลงเอยแบบพระเจ้าชาร์ลสที่หนึ่งของอังกฤษได้

ในตอนท้ายเอกสาร Democracy in Siam พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงมีหมายเหตุว่า การแปลคำว่า องคมนตรี ว่า  the Privy Council นั้นอาจจะไม่ถูกต้อง เพราะ the Privy Council ที่พระองค์จะทรงตั้งขึ้นนี้ แม้จะมีชื่อเหมือน the Privy Council ของอังกฤษ แต่ไม่ได้จะให้มีอำนาจหน้าที่เหมือน the Privy Council ของอังกฤษ   แต่ คณะองคมนตรี ที่พระองค์ต้องการจัดตั้งขึ้นนี้เกิดจากความพยายามที่จะพัฒนาและทดลองสร้างและใช้สถาบันทางการเมืองที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของประเทศของเรา โดยไม่ต้องลอกเลียนตามแบบของประเทศอื่น

อันที่จริง จากการศึกษาระบอบการปกครองของประเทศที่เป็นตัวแบบหลักๆในโลก อันได้แก่ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ผู้เขียนพบว่า ความสำเร็จในการเมืองการปกครองของประเทศดังกล่าวเกิดจากการสร้างสถาบันทางการเมืองที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของประเทศ และมีการทดลองและพัฒนาอยู่เป็นระยะๆ  จะมีความคล้ายคลึงกันก็ในหลักการใหญ่ๆอันได้แก่ การแบ่งแยกการใช้อำนาจทางการเมือง (แบ่งแยกมากน้อยแล้วแต่แต่ละประเทศ) การตรวจสอบถ่วงดุล  การกำหนดให้แต่ละภาคส่วน เช่น ประมุขของรัฐ ประมุขฝ่ายบริหาร รัฐสภา ศาล ประชาชนแชร์อำนาจกัน (มากน้อยแล้วแต่แต่ละประเทศ)

ดังนั้น การพยายามคิด หาและสร้างสถาบันทางการเมืองที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของประเทศตัวเองน่าจะเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้การเมืองการปกครองของประเทศนั้นประสบความสำเร็จใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 39): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 38): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 36): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490