รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น พลเอก เผ่า ศรียานนท์ พันเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พันเอก สวัสดิ์ สวัสดิเกียรติ และพันโท ถนอม กิตติขจร และพวกร่วมอยู่ด้วย ได้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจสำเร็จแล้ว ได้ประกาศยุบสภาและยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 คณะรัฐประหารได้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่สี่นี้ ขึ้นเสนอผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อลงนามประกาศใช้ ซึ่งในสมัยนั้นสภาได้มีมติไว้ว่า การลงนามในหนังสือราชการ ผู้สำเร็จราชการจะต้องลงนามทั้ง 2 ท่าน แต่กรณีของรัฐธรรมนูญใต้ตุ่มนี้มีผู้ลงนามประกาศใช้เพียงผู้เดียวคือ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะที่พระยามานวราชเสวี ไม่ได้ลงนามร่วมด้วย ส่วนผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในครั้งนั้น คือ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย (https://parliamentmuseum.go.th/ar63-Constitution2490.html) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร
ก่อนหน้าที่กรมขุนชัยนาทฯจะได้รับมติแต่งตั้งโดยรัฐสภาให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พร้อมกับพระยามานวราชเสวี หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเสวยราชย์หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2489 ย้อนเวลากลับไปในปี พ.ศ. 2481 กรมขุนชัยนาทฯทรงถูกจับเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาคดีกบฏโดยรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม
ในตอนท้ายของบทความที่แล้ว ผู้เขียนได้ตั้งประเด็นไว้ว่า “ถ้าเอกสาร No. 76 BRITISH LEGATION (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th , 1939 เป็นฉบับเดียวกับ FO 371/23586, Sir Josiah Crosby to FO, 7 February 1939 ที่อาจารย์กอบเกื้อใช้อ้างอิง อาจารย์กอบเกื้อน่าจะต้องตอบข้อสงสัยที่เกิดขึ้นว่า ท่านเขียนข้อความที่ว่า ‘พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้ทรงตรัสกับเอกอัครราชทูตอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ พระปิตุลาที่รักของรัชกาลที่แปด มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการสมรู้ร่วมคิด’ นี้ขึ้นมาได้อย่างไร ? แต่ถ้าเอกสาร No. 76 BRITISH LEGATION (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939 เป็นคนละฉบับกับ FO 371/23586, Sir Josiah Crosby to FO, 7 February 1939 ที่ท่านอาจารย์กอบเกื้อใช้ แต่ผู้ค้นเอกสารที่หอจดหมายเหตุอังกฤษยืนยันว่า เอกสารของเซอร์โจซาย ครอสบี้ที่รายงานกลับไปกระทรวงต่างประเทศลงวันที่ 7 February 1939 มีเพียงฉบับเดียวคือ No. 76 BRITISH LEGATION (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939 ผู้เขียนคงต้องขอความกรุณาท่านอาจารย์กอบเกื้อช่วยชี้แนะโดยการเปิดเผยสำเนาเอกสารอ้างอิงที่ท่านอาจารย์ใช้ในการเขียนข้อความที่ว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้ทรงตรัสกับเอกอัครราชทูตอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ พระปิตุลาที่รักของรัชกาลที่แปด มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการสมรู้ร่วมคิด’ ด้วย จักเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ”
------------
ล่าสุด ผู้เขียนยังไม่ได้รับการตอบใดๆจากท่านอาจารย์กอบเกื้อ ดังนั้น นิสิตนักศึกษาและนักวิชาการควรจะชะลอการอ้างอิงข้อความที่ยังเป็นประเด็นนี้ไว้ก่อน ส่วนที่เคยอ้างอิงไปแล้ว ก็น่าจะมาช่วยกันค้นหาว่า ตกลงแล้ว มีเอกสาร FO ใดที่กล่าวว่า “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้ทรงตรัสกับเอกอัครราชทูตอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ พระปิตุลาที่รักของรัชกาลที่แปด มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการสมรู้ร่วมคิด (การก่อกบฏ/ผู้เขียน)”
ในตอนนี้ จะขอนำข้อความที่น่าสนใจจากรายงานของเซอร์โจซาย ครอสบี้ (No. 76 BRITISH LEGATION (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939) มาให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาต่อจากตอนที่แล้ว
-----------------
“No. 76 BRITISH LEGATION (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939
4. มองเผินๆ จะเห็นว่า มีการรื้อฟื้นขบวนการล้มล้างเพื่อสนับสนุนระบอบเก่าซึ่งริเริ่มโดยพระองค์เจ้าบวรเดชในปี พ.ศ. 2476 แต่ครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง และเป็นพระยาทรงสุรเดชที่น่าจะตั้งใจจะทำหน้าที่ผู้นำในการปฏิบัติการทางทหารแทนพระองค์เจ้าบวรเดช นอกจากนี้ ในกรณีปัจจุบัน ยังมีข้อกล่าวหาว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแนวเสรีนิยมบางคนสมรู้ร่วมคิด ตามความเห็นของข้าพเจ้าในรายงานฉบับก่อนหน้านี้ที่ว่า มีการใส่สีว่า ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่มีอยู่ทั่วสยามประกอบด้วยการรวมตัวกันที่แสนประหลาด ระหว่างพวกของปีกขวาและซ้ายในการเมือง และแน่นอนว่า จุดเริ่มต้นของปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ ความพยายามที่จะเอาชีวิตหลวงพิบูลสงครามสองครั้งล่าสุด ตั้งแต่เกิพดการพยายามลอบสังหาร เป็นที่รู้กันว่าเจ้าหน้าที่ได้มีส่วนร่วมในการค้นหาต้นตอผู้ที่ต้องรับผิดชอบ และคาดว่า ในที่สุด ความพยายามของพวกเขาจะเกิดผล และเปิดเผยให้เห็นว่า มีแผนการการสมรู้ร่วมคิดที่มากกว่าการพยายามเอาชีวิตหลวงพิบูลฯดังที่ปรากฏให้เห็นในเบื้องแรก กล่าวอีกนัยหนึ่ง การปฏิบัติกวาดล้างที่เริ่มต้นมากำลังจะรุนแรงมากขึ้น และนั่นเป็นการตีความเหตุการณ์อย่างหนึ่ง ยกเว้นแต่จะมีคนเห็นอะไรที่เลวร้ายกว่านั้น นั่นคือ พวกที่มีอำนาจในปัจจุบันกำลังจงใจสร้างเรื่องขึ้นมาเพื่อการกำจัดฝ่ายตรงข้ามของพวกเขาให้สิ้นซากไป
5. นอกเหนือไปจากการจับกุมและการตรวจค้นบ้านที่รัฐบาลใช้เป็นมาตรการในการปราบปรามการสมรู้ร่วมคิด ที่ถือว่ารุนแรงมากแล้ว ยังมีการยุบโรงเรียนรบของพระยาทรงสุรเดช แต่นั่นยังเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการจัดตั้งศาลพิเศษตามแนวทางที่จัดตั้งขึ้นหลังการต่อต้านการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2476 เพื่อใช้ในการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาว่าสมรู้ร่วมคิดในแผนการล่าสุดนี้ ผลที่เกิดขึ้นตามมาคือ การผ่านร่างกฎหมายในสภาผู้แทนราษฎร โดยบทบัญญัติในร่างกฎหมายดังหมายส่งผลให้เกิดการไม่เห็นด้วยในที่ประชุมสภา เนื่องจากศาลใหม่นี้ไม่ต่างอะไรจาก Star Chamber (ศาลอังกฤษในศตวรรษที่สิบหก/ผู้เขียน) ที่จะยึดตามแบบอย่างของศาลทหาร โดยการเตรียมการต่างๆในศาลให้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงกลาโหม และศาลนี้จะรับเอาวิธีพิจารณาคดีทางทหารมาใช้ ผู้ถูกกล่าวหาจะแก้ต่างต่อหน้าศาลได้เพียงนั้นเท่านั้น ทนายความสามารถเข้าถึงศาลทหารได้แล้ว
และที่สำคัญที่สุด ไม่มีการอุทธรณ์คำตัดสินของศาล จากสถานการณ์เหล่านี้ คงจินตนาการได้ว่า ผู้ต้องหาจะมีโอกาสพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนได้สักเพียงไร หากผู้พิพากษาของศาลมีแนวโน้มที่จะตัดสินลงโทษเขา และข้าพเจ้าแน่ใจว่า จะยังไม่หมดเพียงเท่านี้ นอกจากมาตรการที่กล่าวมานี้แล้ว รัฐบาลยังพิจารณาที่จะจัดให้มีการตราร่างพระราชบัญญัติให้ริบทรัพย์สินส่วนบุคคลเป็นโทษอย่างหนึ่งที่กำหนดไว้สำหรับผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานวางแผนต่อต้านรัฐฉันเกรงว่าในทางปฏิบัติสิ่งนี้อาจหมายความถึงการยึดทรัพย์สินส่วนบุคคลในสยามของบรรดาเจ้านายที่ทรงอำนาจ รวมถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและกรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะถูกกล่าวหา ทั้งที่พระองค์ไม่ได้ประทับอยู่ในประเทศ สิ่งเหล่านี้เป็นมาตรการที่เข้มแข็ง หนักแน่นจนใครๆ ก็ต้องตั้งคำถามว่า รัฐบาลมีเจตนาที่บริสุทธิ์จริงๆหรือ รัฐบาลในที่นี้หมายถึง คณะผู้ก่อการรัฐประหารเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2475 (คณะราษฎร/ผู้เขียน (ทั้งนี้ไม่รวมกลุ่มของพระยาทรงสุรเดช) ซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้ายในการบริหารราชการของประเทศในปัจจุบัน ที่เคยกดความเห็นต่างของแต่ละฝ่ายไว้ด้วยความเกลียดชังที่มีต่อศัตรูร่วมกัน และเป็นเรื่องยากที่ข้าพเจ้าจะตอบคำถามดังกล่าว (คำถามที่ว่า รัฐบาลมีเจตนาที่บริสุทธิ์จริงๆหรือ/ผู้เขียน)
ในด้านหนึ่ง ความพยายามขี้ขลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่าต่อชีวิตของหลวงพิบูลได้เกิดขึ้นจริงๆ พวกมันถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยเครื่องมือที่ค่อนข้างต่ำต้อย และมีคนที่ซุ่มซ่อนอยู่เบื้องหลังจะต้องรับผิดชอบอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ พระยาทรงสุรเดชและพลพรรคในกองทัพยังต่อต้านฝ่ายหลวงพิบูลอย่างเปิดเผยมาโดยตลอด และความรู้สึกเป็นมิตรกับอดีตพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่เป็นความลับ ในการเชื่อมโยงนี้ พึงถามว่าพระยาทรงสุรเดชทรงนึกถึงอะไรเมื่อเสด็จเยือนอำเภอราชบุรีเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้เมืองหลวงและเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของกองทัพที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง คำสั่งในจังหวัด.
สุดท้ายนี้ก็ต้องคำนึงถึงทัศนคติของอดีตพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย ระหว่างสนทนากับเจ้าฟ้าจุฬาจักรพงษ์เมื่อหนึ่งหรือสองวันก่อน ข้าพเจ้าแสดงความคิดเห็นว่าอดีตกษัตริย์ไม่มีทางเป็นองคมนตรีในความพยายามที่จะสังหารหลวงพิบูล
หม่อมจุฬาฯ ทรงตรัสตอบว่าไม่แน่ใจนัก เขากล่าวว่าอดีตกษัตริย์กลายเป็น "สิ้นหวัง" และเป็นธรรมชาติของเขาที่จะหลับตากับสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเขา
ข้าพเจ้ายอมรับว่าจุฬามิใช่คนรักของอดีตกษัตริย์และคำให้การของเขาจึงอาจแปดเปื้อนไปด้วยอคติ แต่สิ่งที่เขาพูด กลับเป็นการยืนยันความสงสัยซึ่งเท่ากับความเชื่อมั่นต่อคณะรัฐบาลว่าอดีตกษัตริย์ ทรงรักษาความสนใจในการเมืองสยามอย่างลับๆ มาโดยตลอด และพระองค์ไม่เคยหยุดทำงานใต้ดินเพื่อต่อต้านระบอบการปกครองใหม่
(โปรดติดตาม รายงานของเซอร์โจซาย ครอสบี้ ตอนต่อไป)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อนุทิน' เมิน 'หมอเชิดชัย' เสนอยุบสภา
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์กรณีน.พ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์
ดร.เสรี ถามพรรคการเมืองฝ่าย ‘อนุรักษ์นิยม’ จะรวมกันกี่โมง?
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสารโพสต์เฟซบุ๊กว่า ส้มเลือ
'นิพิฏฐ์' อบรม รองโฆษกปชน. ยังเข้มแข็งในการแสวงหาศัตรู ไม่แสวงหามิตร
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่าไปหัดแสดงหนังตะลุงเถอะ....
เสื้อแดงตาสว่างหรือยัง 'ใบอนุญาต' ประจานทักษิณ-เพื่อไทย!
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้โพสต์เรื่องใบอนุญาต2ใบในการจัดตั้งรัฐบาล โดยตั้งคำถามว่า ทำไมพรรคการเมืองกลับเลือกใช้วิธี “หมอบ สยบยอม เอาใจ” ผู้ออกใบอนุญาตที่ 2
‘ธีระชัย’ ชี้ชะตา 'อุ๊งอิ๊ง' อยู่ได้..ไม่เกินปี!! | อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
'จตุพร' ยกข้อมูล 'ไพศาล' ปูดซ้ำ 'ไอ้โม่ง' กำลังเปลี่ยนผลสอบชั้น 14
ลุ้นปมชั้น 14 เข้า ปปช.ชุดใหญ่สัปดาห์หน้า ระบุ กก.ไต่สวนเอกฉันท์ชี้มูลผิด เสนอฟ้องศาล รมต.-ขรก.ใหญ่โดนคดีเพียบ อื้ออึงไอ้โม่ง ปปช.บางคนเป็นบ่าวรับใช้นายแลกประโยชน์ ดิ้นกดดันยุติ